ม.แม่โจ้นำทีมจิตอาสาบินโดรนร่วมแก้ไขไฟป่า ฝุ่นควัน

ม.แม่โจ้นำทีมจิตอาสาบินโดรนร่วมแก้ไขไฟป่า ฝุ่นควัน

ติวเข้มนักบินโดรน ม.แม่โจ้ออกหน้าเสื่อนัดถกจิตอาสา50 นักบิน หวังสร้างให้ “โดรนระวังไฟป่า” เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยเจ้าหน้าที่ดับไฟ เชื่อว่าปีนี้ ทีมโดรนเฝ้าระวังไฟป่า จะสามารถดึงประสิทธิภาพและศักยภาพช่วยจัดการไฟป่าได้เต็มที่

วันที่ 13 ธ.ค. 63 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม PT106 อาคารพืชศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร โดรนเฝ้าระวังไฟป่า เชียงใหม่ โดยมี นายวีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รายงานความเป็นมาของโครงการ ซึ่งโครงการมี นักบินโดรน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่กว่า 50 ราย ร่วมโครงการอบรม

นายวีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า โครงการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการล้วนเป็นจิตอาสาที่จะต้องร่วมกัน เสียสละเวลา เพราะว่าไฟป่าไม่รู้ว่าจะเกิดที่ไหน เวลาไหน ที่ไหน ที่สำคัญที่สุดคือ หากจุดเกิดไฟอยู่กลางป่าจะทำอย่างไร การอบรมวันนี้จะมีการพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ระบบในการจัดการ เรื่องโดรนใครก็บินได้หากเรียนมา หากแต่ว่าโดรนที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ต้องมีการจัดการที่ดีให้เป็นระบบ มีการจัดหรือแบ่งพื้นที่ระบุพิกัดกันให้ชัดเจน รวมถึงเวลาต้องแม่นยำ เพราะการจะเข้าไปดับไฟเวลาเกิดไฟต้องแม่นยำและเป็นปัจจุบัน เชื่อว่าการอบรมในวันนี้จะสร้างการเชื่อมโยงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากมีเหตุเกิดขึ้น

ด้าน นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ก่อนอื่นจังหวัดเชียงใหม่ต้องขอขอบคุณนักบินโดรนทุกท่านที่เสียสละอย่างมากเพื่อเชียงใหม่ รวมถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เป็นแม่งานในเรื่องนี้ เพราะโดยข้อเท็จจริงทุกท่านไม่ต้องมารับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่นี่คือความเสียสละเวลาอันมีค่าของทุกท่านมาช่วยกันเพื่อเมืองเชียงใหม่

“ปัญหาไฟป่าหมอกควันในทุกปีเกิดขึ้นกับจังหวัดภาคเหนือมาโดยตลอดต่อเนื่อง ทุกปีมีการถอดบทเรียนว่าจะต้องทำอย่างไร แก้ไขอะไร ที่ไหน แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าทำอย่างไรให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อให้ปัญหาไฟป่าหมอกควันลดลงหรือหมดไป โดยข้อเท็จจริงแล้วปัญหาหมอกควันไม่มีขอบเขตไม่มีพรหมแดน ภูมิประเทศของเชียงใหม่เปรียบได้ก็เหมือนรูน้ำลงของอ่างล้างหน้า จึงเกิดการสะสมหมอกควันที่มาจากหลายๆ แหล่ง”

นายเจริญฤทธิ์ฯ กล่าวต่อว่า ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการทบทวนบทเรียนแล้วก็ตาม พอถึงเวลาที่เกิดไฟป่าหมอกควันขึ้นจริง อาจจะโดยสัญชาติญาณเราก็ไปแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ในปีที่ผ่านมามีความพยายามที่จะปรับในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ให้ได้ อย่างหนึ่งที่พยายามที่จะปรับคือ การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นทีเกษตร ซึ่งทำได้ในระดับหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่สูงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการตามสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่

“เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นประเด็นที่จะทำเพื่อให้ปัญหาหมดไป เพียงแค่ว่าทำเพื่อให้ปัญหาลดลง บรรเทาลงได้บ้าง ในช่วงต้นเหมือนจะมาถูกทาง แต่พอเข้าช่วงกลางและปลายห้วงเวลาการเกิดหมอกควันไฟป่ากลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นมากกว่าปีก่อนด้วยซ้ำไป เมื่อเหตุการณ์สงบมีการไล่เรียงถึงเหตุที่เกิดขึ้น พบว่า 90% เหตุเกิดในพื้นที่ที่ไม่น่าจะเกิดคือ พื้นที่ที่อยู่ในป่าจริงๆ ไม่ใช่ป่าที่มีการผ่อนผันให้มีการทำเกษตร มีการประเมินสาเหตุของการเกิดไฟ ข้อหนึ่งคือ ปริมาณเชื้อเพลิงที่อยู่ในป่า ใบไม้ต่างๆ มีปริมาณมาก สะสมมาหลายปี ซึ่งก็เป็นแค่ข้อสันนิฐานหนึ่งเท่านั้น ที่สำคัญคือ การดับไฟที่เกิดขึ้นในป่านั้น ดับยากมาก บางครั้งต้องใช้ไฟชนไฟ คือต้องเผาจากอีกทางเข้าไปหาจุดเกิดไฟ จึงจะดับได้ บ้างก็ว่าเกิดจากการเข้าไปเก็บหาของป่าแล้วประมาทเลินเล่อ บ้างก็ว่าเกิดจากความตั้งใจเผาเพื่อให้ได้พื้นที่ และอื่นๆ อีก” ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

“ปีที่ผ่านมาพบว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ มีส่วนเข้ามาช่วยในการดับไฟได้ โดยเฉพาะเรื่อง โดรน สามารถช่วยในการบริหารจัดการได้ ช่วยชี้เป้าในการดับไฟ การหาพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนให้กับเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปดับไฟ เพียงแค่ว่าในปีที่ผ่านมาเรื่องนี้เข้ามาเสริมในการแก้ไขปัญหาช้าไปเล็กน้อย การบริหารจัดการในเรื่องโดรนไม่มีลักษณะการร่วมประสานในการบริหารการจัดการ มีกระทบกระทั่งการบ้าง ปีนี้ต้องขอบคุณ ม.แม่โจ้ รวมถึง นักบินโดรนทุกคน ที่จะได้หารือร่วมกันในการจะเตรียมการ เพื่อให้การบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีของโดรน รวมถึงศักยภาพของนักบินโดรนทุกท่าน จะสามารถใช้ในการจัดการไฟป่าได้อย่างเต็มที่ในปีนี้” นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้