3 องค์กร เปิดระดมทุน 10 วัน สนับสนุน 32 ชุมชนสู้ไฟ-ดูแลป่า ไร่ละ 1 บาท

3 องค์กร เปิดระดมทุน 10 วัน สนับสนุน 32 ชุมชนสู้ไฟ-ดูแลป่า ไร่ละ 1 บาท

เชียงใหม่ / 3 องค์กร จับมือตั้ง “ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า” เปิดระดมทุน 6-16 เม.ย.นี้ ให้ 32 ชุมชน ใน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ดูแลป่าไร่ละ 1 บาท รวมพื้นที่ 394,475 ไร่เศษ ย้ำปีนี้ฝนน้อย-แห้งแล้งหนัก ทำให้ไฟป่ารุนแรง ขณะที่ชาวชุมชนที่ต่อสู้ไฟป่า กำลังขาดแคลนอุปกรณ์ และเครื่องมือดับไฟที่จำเป็น เมื่อบ่ายวันที่ 9 เม.ย. 63 นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ได้เป็นตัวแทนศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า อ่านแถลงการณ์ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า ฉบับที่ 1 เรื่อง การดำเนินการสนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า 32 ชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเนื้อหาระบุว่า ตามที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.) ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และโพควา โปรดักชั่น ได้จัดตั้ง “ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า” เมื่อวันที่ 6 เม.ย.63 เพื่อดำเนินการสนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่าในเบื้องต้น 19 ชุมชน ครอบคลุมเนื้อที่ราว 253,780-0-94 ไร่ และต่อมาได้ขยายการสนับสนุนเป็น 32 ชุมชน รวมเนื้อที่ราว 394,475-2-28 ไร่ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจในการดูแลจัดการผืนป่าที่อยู่โดยรอบของชุมชน ที่ชุมชนเรียกว่า “ป่าชุมชน” หรือ “ป่าจิตวิญญาณ”สถานการณ์ในพื้นที่เหล่านี้ ณ ปัจจุบัน นอกจากกำลังเผชิญกับวิกฤติเชื้อโรคโควิดระบาด เช่นเดียวกับทุกคนทุกส่วนในสังคมเเล้ว พวกเขายังต้องเผชิญกับวิกฤติไฟป่าที่รุนแรงและลุกลามเข้ามาในพื้นที่ป่าชุมชนและป่าจิตวิญญาณ แม้ว่าที่ผ่านมาพวกเขาจะพยายามช่วยกันจัดทำแนวป้องกันไฟรอบพื้นที่และออกลาดตระเวนเฝ้าระวังกันมาตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. 63 แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากสถานการณ์ปีนี้ ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่น้อยกว่าทุก ๆ ปี ทำให้ความแห้งแล้งและไฟป่าหนักหน่วงยิ่งขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ นั่นทำให้ต้องระดมกำลังจากทุกครอบครัวเพื่อร่วมดับไฟป่า ทั้งกลางวันและกลางคืนเต็มกำลังติดต่อกันมานานหลายสัปดาห์ เพื่อให้สามารถรับมือกับไฟป่าได้ ซึ่งปรากฏชัดว่าในขณะนี้พื้นที่ป่าชุมชนและพื้นที่จิตวิญญาณที่ชุมชนดูแลอยู่สามารถรักษาพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้ได้ และถูกเผาผลาญไปเพียงประมาณ ๒๐ % เท่านั้น แต่ทว่า ชาวชุมชนที่กำลังทำหน้าที่ในการดูแลไฟเหล่านี้ กลับขาดแคลน อุปกรณ์และเครื่องมือในการดับไฟ เช่น หน้ากากผจญเพลิง วิทยุสื่อสาร เครื่องพ่นลม ร้องเท้าบูท ไฟฉายคาดหัว กระติกน้ำสนาม อาหารแห้ง และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นจำนวนมากทีมงานของทั้ง 3 องค์กร จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า” เพื่อขอรับการสนับสนุนบริจาคทุนทรัพย์และวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว โดยมีศูนย์ประสานงานอยู่ที่ “มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ” 77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เป็นผู้ประสานงานฯ โดยระดมการสนับสนุนผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี นายประยงค์ ดอกลำใย และนางสาวสุวดี ทะนุบำรุงสาสน์ หมายเลขบัญชี 787-0-37294-3 ทั้งนี้ เพื่อนำไปจัดหาและส่งความช่วยเหลือไปสนับสนุนยังชุมชนใน 32 พื้นที่ โดยเร่งด่วนต่อไป ซึ่งยอดรวมการบริจาค ณ วันที่ 9 เม.ย. 63 เวลา 11.33 น. รวมทั้งสิ้น 176,187.17 บาทเพื่อสร้างความเข้าใจและรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง “ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า” ขอแถลงรายงานความคืบหน้าและแนวทางการดำเนินการสนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า ฉบับที่ 1 ดังต่อไปนี้

1.เราขอขอบคุณผู้บริจาคเงินทุนและอุปกรณ์ดับไฟป่าทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นขวัญกำลังใจของชุมชนในการดูแลป่าชุมชนหรือป่าจิตวิญญาณ โดยเราตั้งเป้า ขอระดมทุนให้ชุมชนดูแลป่าไร่ละ 1 บาท จำนวน 394,475-2-28 ไร่ หรือประมาณ 394,475 บาท เป็นเวลา 10 วัน (ระหว่างวันที่ 6-16 เม.ย. 63)

2.เราขอยืนยันว่าเงินบริจาคและอุปกรณ์ดับไฟ จะไปถึงในทุกชุมชนอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง และจะสื่อสารการทำงานสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านเพจ “มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ” เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง3.เราหวังเป็นอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้ นี้ความร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ของคนในสังคม จะนำมาซึ่งความความเข้าใจ เห็นใจ และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันมากขึ้น ระหว่างชุมชน-ท้องถิ่นในพื้นที่ป่า หน่วยงานภาครัฐ องค์กรธุรกิจ และภาคประชาสังคม อันจะนำไปสู่ ความยั่งยืนของทรัพยากรป่าไม้ อากาศที่บริสุทธิ์ และสิ่งแวดล้อมที่ดี สำหรับทุกคนในสังคมและคนรุ่นหลังสืบไป

ทั้งนี้ในส่วนของรายชื่อ 32 ชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อจัดการไฟป่า ได้แก่ 1.พื้นที่บ้านเวียงแหง ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 5,000 ไร่ / 2.บ้านแม่คองซ้าย ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 10,908 ไร่ / 3.บ้านแม่ป่าเส้า ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 8,000 ไร่ / 4.บ้านแม่อ้อใน ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 1,011 ไร่5.บ้านห้วยหก-น้ำบ่อใหม่ ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 3,870 ไร่ / 6.บ้านห้วยน้ำริน ต.ทุ่งปี้ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 2,419 ไร่ / 7.พื้นที่ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 24,513 ไร่ / 8.บ้านแม่โต๋ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 25,000 ไร่ / 9.พื้นที่ ต.น้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 11,400 ไร่ / 10.พื้นที่ห้วยน้ำหิน ต.สถาน อ.นาน้อย จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 1,200 ไร่ / 11.บ้านกอก ต.เชียงกลาง อ.เชียงกลาง จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 10,068 ไร่ / 12.บ้านดอยช้างป่าแป๋ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน จำนวนพื้นที่ 21,034.33 ไร่ / 13.บ้านแม่กองคา ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 20,000 กว่าไร่ / 14.บ้านแม่หาด ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 13,685 กว่าไร่ / 15.บ้านนาดอย ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 7,935 ไร่ / 16.บ้านแม่อมกิ ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 17,000 กว่าไร่17.บ้านแม่ลาคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 13,000 กว่าไร่ / 18.บ้านแม่โปคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 3,480 ไร่ / 19.บ้านขุนแม่เหว่ย-แม่ปอคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 8,412 ไร่ / 20.บ้านปางทอง ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 14,437 ไร่ / 21.บ้านแม่วะหลวง ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 34,163 ไร่ / 22.บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 5,200 ไร่ / 23.บ้านห้วยลุหลวง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 4,282-0-94 ไร่ / 24.บ้านหัวฝาย ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 3,300 ไร่ / 25.บ้านห้วยส้าน ต.ห้วยชมพู อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 5,500 ไร่ / 26.บ้านหินลาด ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 27,000 ไร่ / 27.บ้านแม่ปูนน้อย ห้วยไร่ ห้วยงู ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 13,000 ไร่28.บ้านกลาง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 16,727 ไร่ / 29.บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 18,102 ไร่ / 30.บ้านขวัญคีรี ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 14,954 ไร่ / 31.บ้านแม่หมี ต.หัวเมือง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 13,875 ไร่ / 32.บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 16,000 ไร่ / รวมจำนวนพื้นที่ชุมชนจัดการไฟประมาณ 394,475-2-28 ไร่.

You may also like

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย สานโอกาส สร้างรอยยิ้ม ผ่านการมอบทุนการศึกษา ประจำปี 2566 แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาใน 4 ภูมิภาคทั่วไทย

จำนวนผู้