15 อปท.ใน ชม.จับมือเป็นเครือข่าย ขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

15 อปท.ใน ชม.จับมือเป็นเครือข่าย ขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

เชียงใหม่ /อปท. 15 แห่งจาก 7 อำเภอของเชียงใหม่ ลงนามเอ็มโอยูเป็นเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม มุ่งทำงาน 5 เรื่องสำคัญ ยาสูบและแอลกอฮอล์, โรคติดต่อ, ผู้สูงอายุ, เด็กปฐมวัย และการจัดการขยะ เน้นให้ทุกอปท.ใช้ข้อมูลชุมชนให้เป็นประโยชน์ แนะองค์กรในเครือข่ายต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน สร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ที่โรงแรมแทนเจอรีนวิลล์ ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้โครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสสส. ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้นำชุมชน เข้าร่วมกว่า 200 คนนายสมนึก เดชโพธิ์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลแม่ข่า ในฐานะอปท.แม่ข่าย กล่าวว่า การทำพิธีบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู ในครั้งนี้ คือการทำข้อตกลงร่วมกันตามแผนการดำเนินงานของโครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีอปท.เครือข่ายเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ 15 แห่ง จาก 7 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเรื่องแรกที่อปท.แต่ละแห่งต้องทำ คือระบบฐานข้อมูลตำบล (TCNAP) และกระบวนการวิจัยชุมชน (RECAP) ส่วนประเด็นที่เครือข่ายต้องดำเนินการ คือ 5 เรื่องสำคัญในท้องถิ่น คือ ยาสูบและแอลกอฮอล์, โรคติดต่อ, ผู้สูงอายุ, เด็กปฐมวัย และการจัดการขยะนายสมนึก กล่าวต่อไปว่า หลังจากลงนามเอ็มโออยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อปท.เครือข่าย 15 แห่ง จะต้องจัดเก็บข้อมูลชุมชนและทำการวิจัยชุมชนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม หลังจากนั้นจะเป็นการทำประเด็นเร่งด่วนที่ได้ทำการตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ คือเรื่องการจัดการขยะในชุมชน เพราะปัญหานี้ทุกท้องถิ่นต่างประสบปัญหาเหมือนกัน“ข้อมูลมีความสำคัญสำหรับท้องถิ่นมาก ถ้าหากเราทำงานไม่มีข้อมูล เราก็จะได้งานไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่เราได้มา สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสที่เราจะพัฒนาต่อ หรือหากพบปัญหาเราก็จะหาทางแก้ไข ซึ่งกระบวนการนี้ เทศบาลตำบลแม่ข่า เราก็ทำมาตลอด” ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า กล่าวด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวถึงเทศบาลตำบลแม่ข่าว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถ จึงต้องการให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้ เพราะถ้ามีผู้นำดี จะสามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากหรือมีอุปสรรคเพียงใด ซึ่งการทำเอ็มโอยูในครั้งนี้ ท้องถิ่นทั้ง 15 แห่งจะตกลงกันทำ 5 เรื่องให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวเนื่องไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเขตตำบลแม่ข่า มีถนนใหญ่พาดผ่าน ก็ต้องทำให้สำเร็จน.ส.ดวงพร กล่าวด้วยว่า การสานพลังผู้นำให้เกิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใกล้กันนั้นสำคัญอย่างมาก เช่น ช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาชิกในเครือข่ายควรรวมตัวกันสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการ เกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ตำบลไหนมีประสบการณ์เรื่องอะไรก็จะเข้าไปดู ถือเป็นฐานพลังองค์กรช่วยชาวบ้านได้เป็นอย่างดี“แต่ทั้งนี้ท้องถิ่นต้องทำวิจัยชุมชน ค้นหาว่าใครคือคนดี คนเด่น คนสำคัญ หรือมีกลุ่มทางสังคมในหมู่บ้านในตำบลกี่กลุ่ม กลุ่มไหนมีศักยภาพสูงที่จะถ่ายทอด กลุ่มไหนที่ทำของตนเองได้ดี ก็ยกระดับให้มาถ่ายทอด ส่วนกลุ่มไหนที่ยังทำไม่ได้ดี ทางพื้นที่ก็ต้องช่วยกันพัฒนา คนที่เข้มแข็งกว่าจะช่วยคนที่อ่อนแอกว่า” ผู้ช่วยผู้จัดการสสส.กล่าว และเชื่อมั่นว่า อปท.ทั้ง 15 แห่งที่มาร่วมลงนามเอ็มโอยูในครั้งนี้ จะร่วมมือกันทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และสร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป.

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้