แผนที่เดินดิน นวัตกรรมสุขภาวะผู้สูงอายุแม่ปูคา

แผนที่เดินดิน นวัตกรรมสุขภาวะผู้สูงอายุแม่ปูคา

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือมีปริมาณผู้สูงอายุมากกว่า 20ของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายความว่าหากไม่มีการเตรียมรับมือที่ดีพอ ย่อมเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รายได้เพียงพอ การเข้าไม่ถึงสวัสดิการ และมีความพิการ เป็นต้นดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ย้ำว่าจากระบบข้อมูลตำบลเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคเหนือ พบว่าปัจจุบันภาคเหนือมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ นั่นคือ 23.97หรือคิดเป็นจำนวน 818,544 คน แต่เมื่อเจาะไปถึงการดูแล ก็จะเห็นว่าหลายพื้นที่ทำอย่างครบวงจร เช่น ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ที่ ทต.ขัวมุง อ.สารภี, ทต.สองแคว อ.ดอยหล่อ และ ทต.แม่ปูคา อ.สันกำแพง มีการใช้ทุนทางสังคมจัดการในพื้นที่ด้วยตนเอง จึงไม่น่ากังวลเท่าไหร่นัก  ตัวอย่างในพื้นที่ ต.แม่ปูคา มีข้อมูลตำบลระดับบุคคลและครอบครัว (TCNAP) ประกอบด้วยกลุ่มเปราะบาง 2,237 คน ในจำนวนนี้มีทั้งผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี คนยากจน คนพิการ  ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยจิตเวชเอนกภณ  จินา  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ 7 ต.แม่ปูคา เล่าถึงการดำเนินงานในพื้นที่ว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานดูแลกลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วยกองสาธารณสุขของ ทต.แม่ปูคา ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม.  คณะกรรมการเหล่านี้จะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทั้งด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ เพื่อนำมาทำแผนที่เดินดิน ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล เช่น มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในหลังคาเรือนไหน จัดโซน จัดสีแยกแยะอย่างชัดเจน ซึ่งสีแดง หมายถึงผู้สูงอายุติดเตียง สีเหลือง เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน และสีเขียว คือผู้สูงอายุติดสังคม เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องช่วยเหลือ อาทิ เกิดภัยพิบัติ ก็จะได้จัดการอย่างรวดเร็ว และเหมาะสม ต่อกลุ่มเปราะบางเหล่านี้นอกจากนี้ ยังแจกเบี้ยผู้สูงอายุถึงบันไดบ้าน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ออกกำลังกาย มีโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่ปูคา หรือโครงการศูนย์รวมภูมิปัญญา ต.แม่ปูคา และโครงการด้วยรักและห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ มี Care Giver หรือ อสม.ที่ผ่านการอบรม 70 ชั่วโมง คอยดูแล  เยี่ยมบ้าน รวมถึงมีการจัดทำแผนการดูแลผู้ป่วยระยะยาว (Long Term Care) โดยเปิดศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ต.แม่ปูคา ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์เป็นต้นขณะที่ สุพจน์ วรรณก้อน นายกเทศมนตรีตำบลแม่ปูคา บอกว่า แผนที่เดินดิน ทำให้มีข้อมูลชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางชัดเจนขึ้น เช่น กรณีแม่สุนา สมบูรณ์ วัย 66 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ 6 ป่วยด้วยเส้นเลือดในสมองตีบ และล้ม กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ในแผนที่เดินดินก็จะติดสีแดงไว้ ทำให้ อสม. และ Care Giver รู้ว่าอยู่โซนไหนของหมู่บ้าน ต้องเข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อตรวจเช็คสุขภาพเบื้องต้นทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เดือนละ 5 ครั้ง พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมสำหรับสถานการณ์ในภาพรวมของผู้สูงอายุ ต.แม่ปูคา 9 หมู่บ้าน มีสัดส่วนเฉลี่ย 21-22% ของประชากร หรือราว 1,200 คนเศษ เมื่อสำรวจข้อมูลและทำแผนที่เดินดินแล้ว ก็ทำให้ทราบว่ามีผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 1,128 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 89 คน และติดเตียง 18 คน ส่วนผู้ป่วยจิตเวช มี 19 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 14 คน ผู้พิการ 174 คน และคนยากจน 857 คนทางด้าน รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายว่า ฐานสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ก็คือผู้นำ หรือสุดยอดผู้นำ ที่ต่างมีวิธีทำงานขับเคลื่อนที่ตอบสนองต่อ 10 สัตยาบัน ได้แก่ 1) คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 2) ตั้งใจ เอาใจใส่ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3) ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4) รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม มีจริยธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม 5) ประพฤติตนให้เป็นที่ยอมรับนับถือจากสังคม 6) เรียนรู้และพัฒนางานด้วยข้อมูลที่เป็นความจริง และใช้ข้อมูลในการพัฒนางาน 7) คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ หาทางออกให้กับชุมชนท้องถิ่นโดยไม่หยุดนิ่ง 8) ร่วมสร้างผู้นำชุมชนท้องถิ่นรุ่นใหม่ 9) สร้างและสานเครือข่ายในหลากหลายมิติ 10) ทำงานร่วมกับทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนถ้าทั้ง 10 สัตยาบัน เกิดขึ้นจริง ก็จะนำไปขับเคลื่อนการทำงาน และ 5 อ. 5 ก. ได้ ซึ่ง 5 อ.ประกอบด้วย อาชีพ อาหาร ออกกำลังกาย ออม อาสาสร้างเมือง ขณะที่ 5 ก.หมายถึง การป้องกันและลดอุบัติเหตุ การตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ การดูแลต่อเนื่อง และการบริการกายอุปกรณ์  โดยกลุ่มองค์กรในพื้นที่ อาทิ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใกล้ชิดผู้สูงอายุ อสม. รพ.สต. ฯลฯ ถือเป็นกลไกที่จะขับเคลื่อนให้แรงบันดาลใจทั้งหมดเป็นไปได้ เพราะผู้นำย่อมทำคนเดียวไม่ได้.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้