แบงก์ชาติเหนือชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้ทรงตัวเหตุค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนพุ่งร้อยละ 90

แบงก์ชาติเหนือชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้ทรงตัวเหตุค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนพุ่งร้อยละ 90

แบงก์ชาติเหนือแถลงภาวะเศรษฐกิจ การเงินไตรมาสแรกปีนี้ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงถึงร้อยละ 90 เพิ่มขึ้นจาก 2 ปีทำให้จีดีพีโตช้า คาดไตรมาส 2 แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น คาดการใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 6 พ.ค.65 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 1 ปี 2565 ว่า เศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 1 ปี 2565 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แม้การแพร่ระบาดโควิดฯ Omicron จะขยายวงกว้าง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าระลอกก่อน ทำให้มาตรการควบคุมฯ ทยอยผ่อนคลาย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวรายได้ผู้เยี่ยมเยือน/ GRP ภาคเหนือ = 15.0%  ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตน้ำตาล และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับดีขึ้น GRP สาขาการผลิต / GRP ภาคเหนือ = 23.8%

รายได้เกษตรกรขยายตัวผลผลิตอ้อยและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นขณะที่ราคาลดลงจากราคาข้าว GRP ภาคเหนือ 17.1% การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่องทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนมีการเบิกจ่ายต่อเนื่องการใช้จ่ายภาครัฐ ปี 63 / GRP ภาคเหนือ = 19.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้น ตามราคาพลังงาน และหมวดอาหารสด ภาวะแรงงาน ทรงตัว ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงจ้างงานในระดับเดิม

แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนภาคเหนือไตรมาส 2/2565 คาดว่าทรงตัว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยกดดันสำคัญ และอาจมีการระบาดอยู่บ้าง สินค้าอุปโภคบริโภค คาดว่าฟื้นตัวช้า โดยยังคงถูกกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและกำลังซื้อยังอ่อนแอเป็นสำคัญ รวมทั้งความเสี่ยง Omicron อาจระบาดอยู่บ้าง ทำให้ความเชื่อมั่นฟื้นตัวช้า หมวดบริการ คาดว่าทยอยปรับดีขึ้นตามการเดินทางและการท่องเที่ยว หมวดยานยนต์ ชะลอลงหลังจากเร่งส่งมอบไปในช่วงก่อนหน้า และปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตรถบางรุ่น ประกอบกับมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากมาตรการล็อกดาวน์ของจีน อย่างไรก็ดียังมีความต้องการซื้อในกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ เกษตรกร และขนส่ง

“แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น การระบาดของ Omicron อาจยืดเยื้อกว่าคาด หรือเกิดการกลายพันธุ์ และหนี้ครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งหนี้ครัวเรือนภาคเหนืออยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศคือ 79-80%  จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด และปัจจุบันเพิ่มเป็นร้อยละ 90 ภายใน 2 ปีขึ้นมาถึง 10% ซึ่งถือว่าเยอะมาก จีดีพีโตช้า หนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการขาดสภาพคล่องและคนหันไปใช้หนี้ส่วนบุคคล หนี้เดิมก็ไม่ลดด้วยทำให้หนี้ครัวเรือนสูง และการที่จะคลี่คลายปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงได้ต้องอาศัยการปรับโครงสร้างหนี้ให้ยืดระยะเวลาออกไปก่อนและเมื่อมีรายได้กลับคืนมาหนี้นี้จะค่อยๆ ลดลง เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติจะคงใช้นโยบายลดหนี้และการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยแบงก์ชาติมีโครงการหมอหนี้มาให้คำปรึกษาด้วย”ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

แนวโน้มไตรมาส 2/2565 คาดว่ารายได้เกษตรกรขยายตัวตามผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนก.พ.-มิ.ย.65 โดยพื้นที่ที่ปลูกข้าวนาปรังมากได้แก่พิษณุโลก พิจิตรและนครสวรรค์และมันสำปะหลังที่ เก็บเกี่ยว ม.ค.-เม.ย. 65 และปลูกมากที่กำแพงเพชร นครสวรรค์และเพชรบูรณ์แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนค่าปุ๋ยและอาหารสัตว์ที่แพงขึ้น

นายธาริฑธิ์ ยังกล่าวถึงแนวโน้มไตรมาส 2/2565 คาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ทรงตัวจากไตรมาสก่อนเนื่องจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ ประกอบกับต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นแรงกดดัน แต่จะเริ่มดีในไตรมาส 3 โดยมองว่าแนวโน้มปีนี้คาดว่าอสังหาฯ จะดีขึ้นกว่าปีก่อน แม้ราคาวัสดุที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น แต่ปี 2565 นี้ ผู้ประกอบการเริ่มกลับมาดำเนินการต่อหลังจากที่หยุดไป เพราะมองว่าสถานการณ์การใช้ชีวิตเริ่มกลับเข้าสู่ปกติ คนสามารถ live with covid และปีนี้ยังมีนโยบายช่วยอยู่ ทั้งการลดค่าโอน, การผ่อน LTV และ ธอส. ที่ช่วยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีบ้าน

“แนวโน้มระยะต่อไปคาดว่า การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ ปัจจัยบวกจากวงเงินงบประมาณปี 65(สะสม ต.ค.64-มี.ค.65) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยทั้งรายจ่ายภาพรวมและงบลงทุน มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นงบประมาณผูกพันดำเนินการก่อสร้างหลายโครงการ อาทิ  โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุดมธารา จ.เชียงใหม่  โครงการก่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน ใน จ.เชียงราย น่าน แพร่ นครสวรรค์และสุโขทัย เป็นต้น ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายค่อนข้างดี แต่ก็ยังมีปัจจัยลบจากหน่วยงานที่เคยขับเคลื่อนโครงการลงทุนในภูมิภาค เช่น กรมทางหลวง ได้รับงบประมาณลดลง และอัตราการเบิกจ่ายอยู่ในระดับต่ำ”ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.สำนักงานภาคเหนือ กล่าว.

 

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้