แบกเป้ตะลอน 5 หมู่บ้าน 3 วัน 2 คืน ดูหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว

แบกเป้ตะลอน 5 หมู่บ้าน 3 วัน 2 คืน ดูหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว

แบกเป้เที่ยว 3 วัน 2 คืน 5 หมู่บ้าน ในเส้นทางท่องเที่ยวหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ความพยายามในการนำภูมิปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

โครงการอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เป็น ตามแผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 รับผิดชอบโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 15 หมู่บ้าน ครั้งนี้ได้ร่วมกับคณะซึ่งมีผู้ประกอบการนำเที่ยว ไกด์นำเที่ยว ผู้นำชุมชนและตัวแทนสื่อมวลชนใช้เวลา 3 วัน 2 คืน สำรวจเส้นทางที่ จุดแรกที่ไปคือบ้านป๊อก หมู่ 1 ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน

บ้านป๊อกเป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ น้ำ ทิวทัศน์ ชาวบ้านทำอาชีพเกษตรกรในแนวทางการอนุรักษ์มีผลอินทรีย์ทั้งชา กาแฟ ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 1,000 เมตรจึงเหมาะแก่การทำไร่ชาและกาแฟ

 

ออกบ้านป๊อกมุ่งตรงไปที่บ้านเมืองขอน หมู่ 1 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในการทำปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือน การทำแหนมหมูไร้ดินประสิวและข้าวแต๋นนมแพะ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

 

จุดหมายต่อไปคือที่บ้านท่ากาน อ.สันป่าตอง เยี่ยมชมเวียงท่ากาน โบราณสถานเก่าแก่อายุกว่า 1,000 ปีเป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ค่ำคืนนี้พักโฮมสเตย์ในหมู่บ้านที่เปิดรับคณะคนมาศึกษาดูงาน ปัจจุบันมีชาวไทยอง ไทลื้อเป็นชุมชนอาศัยอยู่ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างโคมตุงล้านนา ลูกประคบสมุนไพร กล่องข้าวใบตาน พวงกุญแจ สุ่มไก่และสบู่เหลวน้ำผึ้งมาเป็นรายได้เสริม

วันที่ 2 ของการเดินทางท่องเที่ยวหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมช่วงเช้ายังวนเวียนอยู่ที่เวียงท่ากาน ส่วนภาคบ่ายก็เดินทางไปที่บ้านแม่ขนิลเหนือ ต.บ้านปง อ.หางดง และพักค้างคืนที่โฮมสเตย์ของชาวบ้านอยู่ติดทุ่งนารายล้อมไปด้วยภูเขาสูง

บ้านแม่ขนิลเหนือ เป็นชุมชนคนเมืองล้านาที่มีประเพณีสู่ขวัญควาย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อทำขวัญและขอขมาควายซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาวนาไทย แต่จะจัดในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุุกปีทำให้เที่ยวนี้อดได้ดูของจริง ที่นี่ก็ยังมีการทำฝายไต้งนาดอ(นาปรัง) มีการปลูกผักเกษตรปลอดสารพิษ มื้อค่ำยังได้ชิมพืชผักแสนอร่อย ผัดผักซาโยเต้, น้ำพริกอโวคาโด ดูการสาธิตการทำ แชมพูและครีมนวดผมอโวคาโด, ไอศกรีมอโวคาโด ดูแปลงสาธิตและแปลงปลูกอะโวคาโดของชาวบ้าน ได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรีติดไม้ ติดมือกลับบ้าน

วันสุดท้ายของทริปนี้ เราออกจากแม่ขนิลเหนือแวะชมสวนกุหลาบหลวง ที่โครงการหลวงห้วยผักไผ่(ทุ่งเริง) ทานข้าวกลางวันและเดินทางต่อไปที่บ้านป่าเดื่อ อ.สารภี มาดูงานที่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนสมุนไพร เรียนรู้การทำลูกประคบ การทำจักสานจากเครื่องมือหาปลาก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนาของแต่ละคน

สำหรับโครงการหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรม ของจังหวัดเชียงใหม่ มีทั้งหมด 15 หมู่บ้านประกอบด้วย1.บ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไฝ่ อำเภอสันทราย 2.บ้านป่าเดื่อ หมู่ที่ 1 ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี 3.บ้านทุ่งจำเริง หมู่ที่ 3 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย 4.บ้านดงดำ หมู่ที่ 5 ตำบลฮอด อำเภอฮอด 5.บ้านหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย 6.บ้านแม่สูนน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง 7.บ้านท่ากาน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง

8.บ้านแม่ขนิลเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง 9.บ้านเชิงดอย หมู่ที่ 3 ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง 10.บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 4 ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว 11.บ้านแปลง 5 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า 12.บ้านตับเตา หมู่ที่ 13 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ 13.บ้านป๊อก หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน 14.บ้านมหาธาตุ หมู่ที่ 4 ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง และ 15.บ้านท่าล้อ หมู่ที่ 19 ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ ซึ่งได้วางแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยนำความรู้และภูมิปัญญาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้