เร่งทำฝนเทียมเติมน้ำในเขื่อนแม่กวงฯก่อนหมดฝน

เร่งทำฝนเทียมเติมน้ำในเขื่อนแม่กวงฯก่อนหมดฝน

รองผวจ.เชียงใหม่ร่วมกับสำนักฝนหลวง สำนักงานชลประทานที่ 1 และผอ.โครงการเขื่อนแม่กวงร่วมแจงแผนการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเติมน้ำเขื่อนในช่วงปลายฤดูฝน ก่อนเข้าฤดูหนาว

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562 เวลา 10.30 น. นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดและกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมแถลงข่าวและรับฟังการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเติมน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเข้าฤดูหนาว โดยมีนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าววัตถุประสงค์และความต้องการเติมน้ำเขื่อนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นรับฟังบรรยายสรุปสภาพอากาศช่วงปลายฤดูฝน โดยนายธนาวุฒิ ปัญจพรอุดมลาภ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ผลการปฏิบัติการฝนหลวงตามแผนการเติมน้ำเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และในพื้นที่ภาคเหนือ โดยนางสาวหนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา โดยนายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ อาคารอเนกประสงค์ สันเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

สืบเนื่องจากเดือนสิงหาคม – กันยายนที่ผ่านมา เขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของการเตรียมความพร้อมสำหรับการสำรองน้ำในเขื่อนเพื่อใช้สำหรับการเกษตร การอุปโภค บริโภครวมถึงการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2563 ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ พบว่าสภาพอากาศปัจจุบันอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ และจะมีฝนลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อน้ำต้นทุนในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่งในการส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ปัจจุบันปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงฯ สะสม 76 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 29% ของเขื่อน โดยมีพื้นที่การเกษตร 148,400 ไร่ คิดเป็น 100% ของพื้นที่ หากพื้นที่ไหนมีฝนตกหรือได้รับน้ำเพียงพอจะหยุดการส่งน้ำในพื้นที่นั้นๆ เมื่อเทียบกับปี 2550 สภาพอากาศและปริมาณฝนใกล้เคียงกันที่สุด ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา คาดการณ์ว่าช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคมจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มอีกประมาณ 40 – 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการในฤดูแล้งที่จะมาถึง

อย่างไรก็ตามทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือก็จะยังคงมีการเตรียมความพร้อมในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งในเขตภาคเหนือต่อไป จากการติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ โดยตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเหนือเขื่อนแม่กวงฯแล้ว 22 วัน และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 17 วัน พบว่า 39 วันที่ผ่านมามีฝนตกทุกวันถือว่าประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนโดยได้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเช่นพื้นที่เก็บเกี่ยว และพื้นที่ประสบภัย เป็นต้น

น. นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดและกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมแถลงข่าวและรับฟังการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเติมน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเข้าฤดูหนาว โดยมีนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าววัตถุประสงค์และความต้องการเติมน้ำเขื่อนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นรับฟังบรรยายสรุปสภาพอากาศช่วงปลายฤดูฝน โดยนายธนาวุฒิ ปัญจพรอุดมลาภ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ผลการปฏิบัติการฝนหลวงตามแผนการเติมน้ำเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และในพื้นที่ภาคเหนือ โดยนางสาวหนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา โดยนายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ อาคารอเนกประสงค์ สันเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

สืบเนื่องจากเดือนสิงหาคม – กันยายนที่ผ่านมา เขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของการเตรียมความพร้อมสำหรับการสำรองน้ำในเขื่อนเพื่อใช้สำหรับการเกษตร การอุปโภค บริโภครวมถึงการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2563 ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ พบว่าสภาพอากาศปัจจุบันอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ และจะมีฝนลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อน้ำต้นทุนในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่งในการส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ปัจจุบันปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงฯ สะสม 76 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 29% ของเขื่อน โดยมีพื้นที่การเกษตร 148,400 ไร่ คิดเป็น 100% ของพื้นที่ หากพื้นที่ไหนมีฝนตกหรือได้รับน้ำเพียงพอจะหยุดการส่งน้ำในพื้นที่นั้นๆ เมื่อเทียบกับปี 2550 สภาพอากาศและปริมาณฝนใกล้เคียงกันที่สุด ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา คาดการณ์ว่าช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคมจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มอีกประมาณ 40 – 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการในฤดูแล้งที่จะมาถึง

อย่างไรก็ตามทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือก็จะยังคงมีการเตรียมความพร้อมในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งในเขตภาคเหนือต่อไป จากการติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ โดยตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเหนือเขื่อนแม่กวงฯแล้ว 22 วัน และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 17 วัน พบว่า 39 วันที่ผ่านมามีฝนตกทุกวันถือว่าประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนโดยได้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเช่นพื้นที่เก็บเกี่ยว และพื้นที่ประสบภัย .

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้