เชียงใหม่ดัน“สวนมารวย”พื้นที่ต้นแบบ เพิ่มทักษะ นร.เป็นเกษตรกรตัวน้อย

เชียงใหม่ดัน“สวนมารวย”พื้นที่ต้นแบบ เพิ่มทักษะ นร.เป็นเกษตรกรตัวน้อย

เชียงใหม่ / ภาคเอกชน จับมือ ม.แม่โจ้-สสส.-โรงเรียน-หมู่บ้าน พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ “ศูนย์เรียนรู้สร้างเกษตรกรตัวน้อยเกษตรอาหารโภชนาการชุมชน” เน้นเป็นห้องเรียนมีชีวิต ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่เตรียมขยายผล ยกระดับเป็นยุทธศาสตร์จังหวัด สร้างความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มคุณภาพชีวิตนางเรวิษา เขมะรังสรรค์ ประธานบริษัทสวนมารวย จำกัด อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยถึงแนวคิดการทำศูนย์เรียนรู้สร้างเกษตรตัวน้อยเกษตรอาหารโภชนาการชุมชน ว่าเกิดจากการเข้ามาเป็นศูนย์กลางด้านเกษตรให้กับชาวบ้าน หลังซื้อพื้นที่ 28 ไร่ใน ต.สะลวง อ.แม่ริม โดยชาวบ้านจะปลูกหรือเลี้ยงอะไร โดยตนจะให้ความร่วมมือและช่วยเรื่องการตลาดให้ เช่น ส่งผลผลิตให้โรงแรม โรงพยาบาล เมื่อถึงวันเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมีลูกหลานเกษตรกรมาวิ่งเล่นในสวนมารวย จึงเริ่มเปิดสอนหนังสือเด็ก เช่น ภาษาอังกฤษ วาดรูป เล่านิทาน เปิดโอกาสให้อาสาสมัครที่มีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเข้ามาสอน จนกระทั่งได้ขยายแนวคิดว่าน่าจะเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ สอนหนังสือให้เป็นเรื่องราว“ร่วมกับน้องๆ ที่มีอุดมการณ์ และแนวคิดเดียวกัน คือ คุณอชิรา เข็มทอง และคุณดนัย อินทศักดิ์ ทำโครงการขึ้นมา โดยเชื่อว่าถ้าสอนเกษตรให้เป็นเรื่องราว จัดเป็นหลักสูตร และเสริมวิชาที่อาสาสมัครอยากสอนเข้าไป ก็จะมีประโยชน์มาก จึงเข้าไปคุยกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมทั้งหารือกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงเรียนต้นแบบ และโรงเรียนเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ในพื้นที่ 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านสะลวงนอก โรงเรียนบ้านกาดฮาว โรงเรียนริมใต้ และโรงเรียนบ้านหนองปลามัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ฯลฯ และทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะจัดทำหลักสูตรพร้อมคู่มือให้” ประธานบริษัทสวนมารวย จำกัด อธิบายโดยขณะนี้ทั้ง 4 โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับสวนมารวย ได้ทำ MOU กันเรียบร้อย ซึ่งทางโรงเรียนได้คัดเลือกนักเรียนแกนนำ ป.4-6 มาเรียนที่ศูนย์ฯ ในวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะวันปกติเด็กเรียนในโรงเรียนตามปกติอยู่แล้ว และถ้าเป็นช่วงปิดเทอมก็อาจยืดเวลาเปิดมากขึ้น

“เราคงต้องจัดตารางกันอีกครั้ง ว่าจะหมุนเวียนกันมาเรียนอย่างไร เรียกได้ว่าศูนย์ฯ สอนภาคทฤษฎีให้เด็ก ตั้งแต่เรื่องดิน แมลง การปลูกผัก สัตว์ปีก ประมง ฯลฯ แล้วมีพื้นที่ 28 ไร่ของสวนมารวยให้ลงมือปฏิบัติ” นางเรวิษา กล่าวนายภาณุพงศ์ ประพันธ์ ผอ.โรงเรียนบ้านกาดฮาว กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยเชื่อว่าโปรแกรม Thai School Lunch จะช่วยแก้ปัญหาด้านโภชนาการของเด็กนักเรียนได้ เพราะใช้ยาก ครูจึงขาดความเข้าใจ กระทั่งโครงการเด็กไทยแก้มใสเข้ามาเต็มเติมในจุดนี้ ทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหาร ตลอดจนรู้วิธีดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เด็กแต่ละช่วงวัยควรรับประานอาหารปริมาณเท่าใด เด็กอนุบาลตักข้าวแค่ทัพพีเดียว เด็กประถมตักข้าว 1 ทัพพีครึ่ง และเด็ก ป.4-6 ตักข่้าว 2 ทัพพี เป็นต้นก่อนร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ทางโรงเรียนไม่มีข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก หากเมื่อเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ประมาณปี 2558-2559 จึงรู้ว่ามีเด็กอ้วน 5-7% และเด็กผอม 5-6% จากนักเรียนทั้งหมด 165 คน ส่งผลให้โรงเรียนต้องใช้ระบบ Thai School Lunch อย่างจริงจัง และหากอ้วนไปก็ใช้กิจกรรมออกกำลังกาย แรลลี่ 9 ด่านพิชิตพุง เด็กผอมก็ต้องเพิ่มอาหารให้ พร้อมกับเสริมนม ให้ความรู้เด็กเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย มีฐานผักปลอดภัยที่โรงเรียน นอกจากนี้ ยังมีการทำ MOU ร่วมกับผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วนก็ให้ผู้ปกครองช่วยควบคุมน้ำหนัก เวลาอยู่บ้านห้ามกินขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือหากยังห้ามเด็ดขาดไม่ได้ ก็ให้หลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งผู้ปกครองก็เข้าใจและให้ความร่วมมือด้วยดี ส่งผลให้จำนวนเด็กอ้วนและผอมจึงลดลง เหลือกลุ่มละไม่ถึง 5%ขณะที่ นายกำธร จันทร์สุวรรณ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะลวงนอก ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ร่วมมือกับทางสวนมารวย กล่าวว่า การเป็นโรงเรียนขยายโอกาส และมีเด็กจากที่อื่นมาเรียนด้วย ทำให้ควบคุมตัวแปรด้านโภชนาการไม่ได้ และเด็ก 5 คน จากทั้งหมด 174 คน มีภาวะโภชนาการเกิน หรืออ้วน ทางโรงเรียนจึงมีกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย และมีฐานเรียนรู้ทางด้านเกษตรและโภชนาการ เช่น ฐานปลูกผัก เด็กทานผัก ฐานเพาะถั่วงอก ฐานเพาะเห็ดนางฟ้า มีพื้นที่ทำการเกษตรค่อนข้างชัดเจน ประมาณ 2-3 ไร่ เน้นผลิตเพื่อเป็นอาหารกลางวัน และอาหารของนักเรียนในหอพัก ที่มีเด็กประมาณ 60 คนอาศัยกินนอน หากเมื่อเด็กทำแล้ว บริโภคเหลือ ก็มีภาคเอกชนมาซื้อผักในโรงเรียนไปจำหน่ายต่อ เป็นผักบุ้งปลอดสารพิษ ครั้งละ 65 กิโลกรัมผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะลวงนอก กล่าวด้วยว่า ศูนย์เรียนรู้สร้างเกษตรกรตัวน้อยอาหารโภชนาการชุมชน จะเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับเครือข่าย ที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจในระบบการเกษตร ตลอดจนการสร้างภาวะโภชนาการที่ดีให้กับตนเอง และชุมชนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันในโรงเรียนก็มีนวัตกรรมหลายอย่าง เพื่อช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผ่อนแรงคน ที่เห็นชัดคือการจัดการระบบน้ำในโรงเห็ดระบบสมาร์ทฟาร์ม วันหยุดครูอยู่ที่บ้านก็สามารถใช้เทคโนโลยีสั่งให้น้ำในโรงเห็ดได้ หรือในฐานเพาะถั่วงอก ก็มีระบบให้น้ำอัตโนมัติ ไม่ต้องให้ใครมาคอยรดน้ำ เป็นต้นด้าน นายศรัณยู  มีทองคำ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวในตอนหนึ่งของการเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรตัวน้อยฯ ว่า ในปี พ.ศ. 2563 นี้ ทางจังหวัดเชียงใหม่มีนโยบาย ที่จะทำข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ด้านเกษตร อาหาร โภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียน โดยนำรูปแบบที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จและมีบทเรียนที่ดี จากโรงเรียน และ หน่วยงาน ภาคีต่างๆ มาบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหาร และคุณภาพชีวิตของประชาชน-เด็ก และเยาวชนของ จ.เชียงใหม่โดยโมเดลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน ซึ่งนำร่องที่สวนมารวย อำเภอแม่ริม ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ เข้าสู่โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ส่งเสริมความรอบรู้แก่ชุมชนด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพควบคู่ไปด้วย โดยมีหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ฝ่ายโภชนาการโรงพยาบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำแนะนำ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของนักเรียนและครอบครัว สร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชน ส่งเสริมให้เด็กและครอบครัวกินผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น ลดภาวะอ้วน และทุพโภชนาการอื่นๆ เป็นการสร้างพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบห้องเรียนมีชีวิต.

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้