อุตุเตือน 8-10 มี.ค. ภาคเหนือฝนฟ้าคะนอง ระวังลมกระโชกแรง-ลูกเห็บตก

อุตุเตือน 8-10 มี.ค. ภาคเหนือฝนฟ้าคะนอง ระวังลมกระโชกแรง-ลูกเห็บตก

เชียงใหม่ / อุตุฯ ภาคเหนือ เตือน 8-10 มี.ค.จะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ภาคเหนือ ให้ระวังลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ขณะที่รายงานคุณภาพอากาศ ชี้ชัดย่านช้างเผือก เชียงใหม่ และ ต.จองคำ แม่ฮ่องสอน มีก๊าซโอโซนสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด-ระบบทางเดินหายใจได้รายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคเหนือ ระบุว่า ช่วงวันที่ 4-7 มี.ค.ภาคเหนือมีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 15-24 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิสูงสุด อยู่ที่ 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

และในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ขณะที่รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่ภาคเหนือ ของกรมควบคุมมลพิษ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ช่วงเช้าของวันที่ 4 มี.ค. พบว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ก๊าซโอโซน (O3) ตรวจพบค่าระหว่าง 19 – 101 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่และในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ก็มีสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ก๊าซโอโซน (O3) ตรวจพบค่าระหว่าง 3 – 102 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) เกินมาตรฐานที่บริเวณต.จองคำ อ.เมือง แม่ฮ่องสอน   ทั้งนี้ โอโซน (Ozone หรือ O3) คือ ก๊าซที่ประกอบไปด้วยออกซิเจน 3 อะตอม ซึ่งทุกๆ 10 ล้านโมเลกุลในบรรยากาศที่ความสูงระดับ 10 – 50 กิโลเมตร จะพบว่ามีโอโซนอยู่ที่ประมาณ 3 โมเลกุลเท่านั้น และโอโซนนี้เรียกว่าเป็นก๊าซออกซิเจนที่มีพลังซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงได้ดีกว่าคลอรีนมากถึง 3,125 เท่าเลยทีเดียว

โดยโอโซนนี้จะทำการแยกย่อยสลายของโมเลกุลในสารปนเปื้อนต่างๆ และแม้ว่าโอนโซนจะเป็นก๊าซที่มีโครงสร้างไม่เสถียร แต่เมื่อแปรสภาพกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจนแล้วก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ ไม่ว่าจะทั้งกับคน, สัตว์ หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีการนำโอโซนมาใช้กันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศ เป็นต้นแต่การมีปริมาณโอโซนสูงมากผิดปกติในบางพื้นที่น่าจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่จะเป็นผลดี มีการกำหนดเกณฑ์ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดที่ได้รับโดยเฉลี่ยไม่เกิน 0.1 ppm ในช่วงระยะเวลาของการทำงานนาน 8 ชั่วโมง

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม ระบุว่าอันตรายจากการได้รับโอโซนเป็นประจำอาจจะเป็นอันตรายต่อปอด โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ปอดกำลังพัฒนา อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบสืบพันธุ์และพันธุกรรม อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ทำให้เกิดโรคปอดกำเริบ เช่น กลีบปอดพองลม และโรคหลอดลมอักเสบ ทำให้ภูมิคุ้มกันในระบบหายใจลดลง อาการหอบหืดและโรคหัวใจกำเริบ ลดปริมาณลมหายใจ รวมทั้งทำให้ปริมาณของเหลวในปอดเพิ่มขึ้นทำให้หายใจขัด

ก๊าซโอโซนทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบหายใจ ทำให้ไอระคายคอหรือแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย แน่นท้อง มีอาการป่วยและอาเจียน การสัมผัสโอโซนที่อยู่ในสภาพของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่ผิวหนังหรือดวงตาอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการไหม้รุนแรง ปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้