สสปน.ปลูกเศรษฐกิจเชียงใหม่จัดPlus Blooms Festival 2021สร้างแรงจูงใจเลือกเชียงใหม่เป็นจุดหมายจัดประชุมและแสดงนิทรรศการ

สสปน.ปลูกเศรษฐกิจเชียงใหม่จัดPlus Blooms Festival 2021สร้างแรงจูงใจเลือกเชียงใหม่เป็นจุดหมายจัดประชุมและแสดงนิทรรศการ

สสปน. เดินหน้าปลุกเศรษฐกิจ จัด +BLOOMS FESTIVAL 2021 (พลัส บลูมส์ เฟสติวัล) ตั้งแต่ 18 สิงหาคมเป็นต้นไป ขยายผลจากChiang Mai Blooms 2021 เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจให้เลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดหมายในการจัดงานประชุมและนิทรรศการ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดกิจกรรมองค์กรเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักเดินทางธุรกิจ

เมื่อวันนี้ (11 ส.ค. 64) ณ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัด Plus Blooms Festival 2021 ซึ่งเป็นโครงการขยายผลของ Chiang Mai Blooms 2021 ซึ่งจัดไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา จัดกา่รแถลงข่าวการจัดงาน Plus Blooms Festival 2021 ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยดร.จุฑา ธาราไชย ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งผู้แทนหน่วยงานความร่วมมือในจังหวัดเชียงใหม่นายมรกต ยศธำรงค์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรม ภาคเหนือ (NOHMEX) นางสาวรามาริน บุญสม ผู้แทนเครือข่ายงานคราฟท์ อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานมูลนิธิสืบสานล้านนา และนางดวงรัตน์ ญานะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน Plus Blooms Festival 2021 ณ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

ผอ.สสปน.ภาคเหนือ แถลงผ่านระบบ ZOOM ถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจในการเลือกจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายของการจัดงานประชุมและนิทรรศการ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดกิจกรรมองค์กรต่าง ๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักเดินทางธุรกิจ ซึ่งสสปน.ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดเทศกาลที่จะเป็นเทศกาลท้องถิ่น ให้เป็นเทศกาลในระดับประเทศและระดับนานาชาติ สำหรับงาน +BLOOMS FESTIVAL 2021 (พลัส บลูมส์ เฟสติวัล) จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนจากชุมชนเครือข่ายในพื้นที่  ที่จะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การประสานงานร่วมกันระหว่างชุมชน องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการท้องถิ่น ไปจนถึงระดับจังหวัด ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมไมซ์ สร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพของทุนในพื้นที่สำหรับนักเดินทางไมซ์ ทั้งทางด้านวิถีชีวิตที่เอกลักษณ์ การเชื่อมโยง ช่างฝีมือและศิลปินพื้นบ้านเข้ากับผู้ประกอบการโรงแรมร้านอาหาร สร้างจุดขายใหม่ ๆ ให้กับไมซ์

สำหรับ Chiang Mai Blooms : Plus Blooms Festival 2021 ประกอบไปด้วยกิจกรรม 4 โครงการ ได้แก่
1. เทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 (Crafts Blooms Festival 2021) ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2564
2. โครงการวิถีราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคมเป็นต้นไป
3. โครงการการเดินทางของดอกไม้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคมเป็นต้นไป
4. การประชุมวิชาการงานหัตถกรรมของเครือข่ายช่างฝีมือจากเมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative City of Craft and Folk Art Network) ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564


“เทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021” (Crafts Blooms Festival 2021) เทศกาลที่จะรวบรวมคนทำงานคราฟท์ทุกประเภทและเครือข่าย มาร่วมรังสรรค์บรรยากาศงานคราฟท์ให้มีสีสันมากกว่าที่เคย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 22 สิงหาคม 2564 เวลา 12.00 – 18.00 น. ด้วยกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมเสวนา 5 หัวข้อ ได้แก่ The Taste of Craft, The Taste of the City, City of Craft and Folk Art, Go wide, Go online, Creative District และ Craft Local to Global โดยวิทยากรจากหลากหลายวิชาชีพ กิจกรรมเวิร์คช็อป 15 งานคราฟท์ เช่น การทำผ้าอุ๊ก เพ้นท์เซรามิก การทำผ้ามัดย้อม ถักทอผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้ง, นิทรรศการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมสร้างสรรค์, กิจกรรมแนะนำร้านค้า สินค้างานคราฟท์จากผู้ผลิต อีกทั้งกิจกรรมย่อยอื่นๆ เช่น นิทรรศการเชิดชูผลงานศิลปินเอก (Lanna Wisdom Masterpiece), เซียมซีดอกไม้, Flower Kinetic Installation, และดนตรี ในรูปแบบ ONSITE (รับจำนวนจำกัด) ณ Weave Gallery (Weave Artisan Society) หรือร่วมกิจกรรมในรูปแบบONLINE โดยรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook live ได้ที่ page : www.facebook.com/PlusBlooms รวมถึง นำเสนอร้านค้าจากเครือข่ายเทศกาลคราฟท์กว่า 80 ร้านที่ https://www.plusblooms.com


“วิถีราชดำเนิน” (Rachadamnoen Model) เป็นกิจกรรมที่หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ และผู้ประกอบการ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนราชดำเนิน ร่วมกันปรับปรุงย่านถนนราชดำเนินให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการจัดแยกขยะ ปรับทัศนียภาพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว และทำให้เป็นต้นแบบของเมืองน่าเดิน (Walkable City) โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมเชื่อมโยงชุมชนช่างศิลป์สู่งานเชิงฟังก์ชั่น From Community to Function จับคู่สถานประกอบการ 10 แห่ง และ 10 พ่อครูแม่ครูและชุมชนช่างศิลป์ สร้างงานศิลปะเพื่อให้เป็นจุดสนใจ (Landmark) สำหรับประชาชนได้เดินชื่นชมและถ่ายรูปบนถนนราชดำเนิน ส่งผลให้เกิดมิติใหม่แห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จุดที่มีการติดตั้งงานศิลปะแลนด์มาร์ค 10 แห่ง ตลอดถนนราชดำเนิน ได้แก่ แอดราชดำเนินพลาซ่า, โรงแรมอักษราเฮอริเทจ, กาดกลางเวียง, โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ, พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์จังหวัดเชียงใหม่, ร้านกาแฟอาข่าอาม่า, บุรีแกลลอรี่, ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์, คราม สปา และโรงแรมเดอ ลานนา

นอกจากนี้ ยังมีการสานต่อโครงการของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เรื่องการชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารเกษตรอินทรีย์จากแปลง สู่งานฟังก์ชั่น Farm to Function เพื่อประสานให้เกิดการจัดขายอาหารค่ำมื้อพิเศษจากเชฟโรงแรมร้านอาหาร ในเครือขายเจียงใหม่ออร์แกนิคบนถนนราชดำเนิน โดยทุกเมนูพิเศษเน้นวัตถุดิบพื้นบ้านออร์แกนิคจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในเชียงใหม่

“การเดินทางของดอกไม้”  (Flowers journey) โครงการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ กล้าดอกไม้พันธุ์พื้นเมือง จากภาคีเครือข่ายในเชียงใหม่ อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ เครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม เพื่อทำการเพาะปลูกในพื้นที่ต้นแบบ เชื่อมโยงเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของการรณรงค์การปลูกและประชาสัมพันธ์ดอกไม้พันธุ์พื้นเมือง สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยโครงการได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์กล้าดอกไม้พันธุ์พื้นเมือง 20 ชนิด จากภาคีเครือข่ายในเชียงใหม่ อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ เครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม เพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ พื้นที่ในสวนผักคนเมือง ถ.ช้างคลาน พื้นที่สวนหลวงล้านนา ร.9 (พื้นที่ริมคลองแม่ข่า)  พื้นที่ในสวนสาธารณะหนองบวกหาด และพื้นที่หน้าสำนักงานยาสูบเชียงใหม่


“การประชุมวิชาการนานาชาติของเครือข่ายช่างฝีมือจากเมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก” (UNESCO Creative City of Craft and Folk-Art Network) หัวข้อ “จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่เศรษฐกิจวัฒนธรรม” From Local Wisdom to Cultural Economy โดยมีการเชิญทั้งวิทยากรและผู้เข้าร่วมจากนานาชาติผ่านการประชุมแบบไฮบริดกับผู้เข้าร่วมที่อยู่ในประเทศไทย เป็นการเชื่อมเครือข่ายคนทำเทศกาล Craft และช่างฝีมือจากทุกมุมโลก เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ให้ช่างฝีมือในงานเทศกาลฯ ตลอดจนช่างฝีมือที่อยู่ห่างไกลได้นำไปพัฒนา ต่อยอดสินค้าได้.

 

 

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้