“ร้อยเอกธรรมนัส”ระบุภัยธรรมชาติมันโหดร้ายเราจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา

“ร้อยเอกธรรมนัส”ระบุภัยธรรมชาติมันโหดร้ายเราจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา

รอ.ธรรมนัส”ระบุภัยธรรมชาติมันโหดร้ายเราจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา เผยเหนือและอีสานมักเจอพายุฤดูร้อนช่วงก่อนสงกรานต์ เชื่อปฏิบัติการฝนหลวงฯจะช่วยยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงและเสียหายลงได้

วันที่ 11 มี.ค.63 ที่ห้องประชุมกองบิน 41 ร้อยเอก ธรรมมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานประชุมติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ และการบรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่า ภายใต้โครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศ โดยมีนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผวจ.เชียงใหม่,นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร,ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมและรายงานสถานการณ์และการปฏิบัติงานให้ทราบ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ได้เปิดปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่ 6 พ.ย.62-2 ก.พ.63 โดยตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 81 วันและขึ้นบินทำฝนหลวงได้ 16 วันจำนวน 76 เที่ยวบินและทำให้เกิดฝนตกได้ 13 วันในพื้นที่ 15 จังหวัดเป้าหมาย และตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.63 ได้เปิดปฏิบัติการฝนหลวงใน 6 หน่วยคือ นครสวรรค์ สุราษฏร์ธานี พิษณุโลก ขอนแก่น บุรีรัมย์และระยอง และวันที่ 17 ก.พ.ได้เปิดปฏิบัติการเต็มรูปแบบ 11 หน่วยโดยเพิ่มที่เชียงใหม่ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี อุบลราชธานี

สำหรับผลปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบันทำให้เกิดฝนตก 25 วันหรือร้อยละ 93.85 จากการขึ้นบินปฏิบัติการ 253 เที่ยวบินทำให้มีฝนตกใน 37 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันใช้อากาศยานจำนวน 29 ลำ โดยเป็นของกรมการบินฝนหลวง 21 ลำ ในส่วนของแผนบรรเทาปัญหาหมอกควันได้ขึ้นปฏิบัติการ 8 วันทำให้ฝนตกได้ 4 วันหรือร้อยละ 50 ของผลสำเร็จจากการขึ้นบิน 26 เที่ยวบิน โดยทำให้ฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯ เชียงราย,ลำปาง,พะเยา,แพร่,ราชบุรีและเพชรบุรี รวมถึงพื้นที่อุทยาน 3 แห่งคือทับลาน แก่งกระจานละเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ส่วนการยับยั้งพายุลูกเห็บได้มีการติดตามตั้งแต่ 7 ก.พ.-9 มี.ค.โดยขึ้นบินจากศูนย์ฯพิษณุโลกและสามารถช่วยสลายพายุลูกเห็บได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ในส่วนของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซึ่งปีนี้มีความรุนแรงและมีแนวโน้มยาวนานนั้น ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงได้ขึ้นทำการบิน 27 วัน ตั้งแต่ 3 ก.พ.-9 มี.ค.โดยขึ้นบิน 252 เที่ยว ซึ่งเป็นการเปิดปฏิบัติการที่เร็วขึ้นสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สำหรับพื้นที่ภาคเหนือได้ดำเนินการใน 6 จังหวัดคือลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่และอุตรดิตถ์ ซึ่งสามารถบินเพื่อเติมน้ำในเขื่อนได้ 19 วัน ประสบความสำเร็จ 14 วัน โดยเพิ่มปริมาณน้ำได้ 5 ล้านลบ.ม.ใน 29 อ่างเก็บน้ำซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก

ขณะที่นายธนาวุฒิ ปัญจพรอุดมลาภ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กล่าวว่า โดยภาพรวมขณะนี้ประเทศไทยแทบจะไม่มีเมฆและอากาศค่อนข้างร้อน อย่างไรก็ตามการคาดหมายปริมาณฝนในช่วงระหว่างเดือนมี.ค.ระหว่างวันที่ 10-18 มี.ค.และ 18-26 มี.ค.มีโอกาสที่จะเกิดฝนได้ร้อยละ 10 ของพื้นที่ภาคเหนือแต่ก็ถือว่าน้อยมาก แต่ก็เป็นลักษณะที่ดีหากจะมีปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงดังกล่าวเพราะสภาพอากาศยังมีเมฆเกิดขึ้นบ้าง

ทางด้านร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ความโหดร้ายของธรรมชาติจะมากระหน่ำในช่วงแล้ง เหมือนกับที่กรุงเทพฯเจอปัญหาฝุ่นควันเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ซึ่งก็พยายามที่จะให้กรมฝนหลวงฯขึ้นปฏิบัติการแต่ไม่สามารถทำได้ และในตอนนี้ทางภาคเหนือก็มาเจอปัญหาไฟป่า หมอกควันและpm2.5 รวมถึงภัยแล้งด้วยอีก อย่างไรก็ตามเรื่องของการยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บก็เป็นเรื่องสำคัญ

“ในช่วงก่อนสงกรานต์ ทางภาคเหนือและอีสานมักจะเกิดพายุลูกเห็บซึ่งเป็นมหันตภัยค่อนข้างรุนแรง สมัยเด็กก่อนสงกรานต์ผมจำได้จะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นและมีลูกเห็บตก สร้างความเสียหายทั้งบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดจากภัยธรรมชาติมันโหดร้ายเราจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา วันนี้จึงมาคิกออฟร่วมกันของทุกหน่วยงาน เป็นการบูรณาการแก้ปัญหาซึ่งจะเห็นว่าทั้งกองทัพอากาศและกรมฝนหลวงฯได้ต่อยอดพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ให้ไว้ในการที่จะช่วยบรรเทาปัญหาให้กับเกษตรกรได้”รมช.เกษตรฯกล่าวและว่า

การปฏิบัติการฝนหลวงเป็นความหวังเดียวที่จะสามารถเยียวาให้ประชาชน 77 จังหวัด สิ่งที่ได้ติดตามและเห็นถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำมาใช้จะสามารถยับยั้งความรุนแรงของพายุฤดูร้อน ซึ่งพื้นที่เชียงใหม่เองเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาพายุฤดูร้อนที่ทำให้ชาวบ้านกว่า 1 หมื่นรายเดือดร้อนและได้รับผลกระทบซึ่งรัฐบาลได้เยียวยาความเสียหายให้ 1,700 บาทต่อไร่แต่ก็ถือว่าไม่เพียงพอสำหรับเกษตรกรด้วยเหตุนี้การยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บจึงเป็นเรื่องสำคัญในฐานะที่ตนดูแลกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะทั้งพายุลูกเห็บและภัยแล้งเป็นเรื่องที่น่ากลัวและอยากให้การแก้ไขปัญหาเกิดผลเป็นรูปธรรม.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้