มช.พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น 1 ในแผนผลักดันเมืองอัจฉริยะ “Smart Nimman”ในเดือนธันวาคมนี้

มช.พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น 1 ในแผนผลักดันเมืองอัจฉริยะ “Smart Nimman”ในเดือนธันวาคมนี้

มช.พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น 1 ในแผนผลักดันเมืองอัจฉริยะ “Smart Nimman”ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมปรับพื้นที่กว่า 10 ไร่เป็นจุดจอดรถ หวังแก้ไขปัญหาจราจร

รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการ Smart Nimman ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็น 1 ใน 7 จังหวัดนำร่องโครงการ Smart City ตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญให้กับประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สำหรับ Smart Nimman เป็นพื้นที่ที่พล.อ.ประจิณ จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้เป้าที่ให้ดำเนินการในพื้นที่นำร่องเมืองอัจฉริยะปี 2561-2562 ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอดรับกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งได้ดำเนินโครงการ CMU Smart City- Clean Energy ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบเมืองอัจฉริยะ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่เมืองต้นแบบอัจฉริยะพลังงานสะอาด เป็นโครงการที่สนับสนุนแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ของยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในอีก 4 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยจะดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การสัญจรและชุมชน

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับสมาร์ทนิมมาน ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการตั้งคณะทำงาน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน มีทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำรวจ เทศบาลนครเชียงใหม่ อบจ.เชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้นำชุมชน ซึ่งมีการประชุมร่วมกันไป 2-3 ครั้งและในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการประชุมอีกครั้ง ซึ่งครั้งแรกเป็นการเปิดประเด็นรับฟังความเห็นทั่วไป เพราะคำว่า Smart ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วม มีปัญหาอะไรและจะแก้ไขร่วมกันอย่างไร โดยเฉพาะสิ่งที่จะทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรม

“จากการประชุมสรุปได้ 5 เรื่องที่จะขับเคลื่อน Smart Nimman โดยเรื่องแรก มช.จะรับทำแอพพลิเคชั่นเพื่อตอบโจทย์ให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวในเรื่องจุดจอดรถ เนื่องจากย่านนิมมานฯจะมีปัญหาเรื่องการจราจร ทางมช.จะสร้างระบบแอพพลิเคชั่นขึ้นมาซึ่งสามารถดูได้ว่ามีจุดจอดที่ไหนที่รองรับได้ ทั้งนี้ก็จะมีการเคร่งครัดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายจราจรด้วย ซึ่งมช.จะนำเสนอแอพพลิเคชั่นในการประชุมปลายเดือนนี้ ส่วนเรื่องที่ 2 นิมมานฯจะเป็นเขตปลอดสายไฟและเสาไฟฟ้า ซึ่งจะนำระบบสายไฟลงดินโดยทางการไฟฟ้าฯจะเป็นผู้ดำเนินการ”รศ.ประเสริฐ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

ประเด็นต่อมาคือการจัดระเบียบป้ายโฆษณา ทางชุมชนจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ และประเด็นที่ 4 คือ Street walk หรือทางเดินเท้ามีทีมของดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้รับผิดชอบและประเด็นสุดท้ายคือ CCTV มีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ

รศ.ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะเปิดตัวแอพพลิเคชั่นนี้ประมาณต้นเดือนธันวาคม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังจะใช้พื้นที่บริเวณไร่ฟอร์ดซึ่งมีเนื้อที่ถึง 88 ไร่ โดยจะกันพื้นที่ประมาณ 10 ไร่สำหรับเป็นจุดจอดรถ ซึ่งสามารถจอดรถได้ถึง 2,400 คัน และจะนำรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการรับ-ส่ง ซึ่งแต่เดิมตั้งใจจะเปิดพื้นที่นี้ก่อนงานพระราชทานปริญญาบัตร แต่เกรงว่าจะไม่ทันซึ่งก็น่าจะเป็นหลังจากช่วงพระราชทานปริญญาบัตรถึงจะเริ่มให้บริการได้.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้