ภาคประชาชนหนุนยุทธศาสตร์ 3 ลด แก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันเมืองลำปาง

ภาคประชาชนหนุนยุทธศาสตร์ 3 ลด แก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันเมืองลำปาง

ลำปาง / ภาคประชาสังคมจับมือ 5 อปท.ผนึกกำลังรณรงค์ลดการเผาในครัวเรือนและพื้นที่เกษตรหนุนยุทธศาสตร์แก้ปัญหาหมอกควัน ชูบ้านแม่โป่ง ต.วังใต้ ต้นแบบการจัดการสอดรับธรรมนูญสุขภาพชุมชนจนประสบผลสำเร็จ              นางศิริพร ปัญญาเสน หัวหน้าหน่วยจัดการระดับจังหวัดขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดลำปาง (Node Flagship) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหาหมอกควันถือเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของ จ.ลำปาง ซึ่งมีความรุนแรงขึ้นทุกปีและมีจุดสะสมความร้อนหรือ ฮอตสปอท มากที่สุดของภาคเหนือมาทุกปีเช่นกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอีกด้วย              ดังนั้นในปี 2563 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดปัญหาหมอกควัน หรือ 3 ลด ได้แก่ 1.ลดปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจให้เหลือร้อยละ 70 2.ลดจุดความร้อนสะสมหรือฮอตสปอทให้เหลือร้อยละ 50 และ 3.ลดการเผาในชุมชนทั้งในครัวเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร              ทั้งนี้ตามยุทธศาสตร์ของทาง จ.ลำปาง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่หน่วยจัดการระดับจังหวัดขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดลำปาง ขับเคลื่อนอยู่ในการร่วมรณรงค์ลดการเผาในชุมชนและพื้นที่ทางการเกษตร ดังนั้นการทำงานเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน              ในส่วนของ สสส. ได้สนับสนุนประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2562 ใน 40 โครงการ ซึ่งการทำงานจะมุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่ของผู้รับทุน อย่างไรก็ตามในปี 2563 ได้สนับสนุนพื้นที่รับทุนเหลือเพียง 25 โครงการ แต่จะเป็นการทำงานในวงกว้างมากขึ้น โดยจะเป็นการขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานจากพื้นที่ขนาดเล็กให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าทั้งชุมชน โดยเฉพาะรอบดอยพระบาท หรือวนอุทยานเขลางค์บรรพต ซึ่งเป็นป่ากลางเมือง ด้วยมาตรการ 3 ลด โดยมี 5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมบูรณาการและเป็นภาคีหลักในพื้นที่ของตัวเอง ได้แก่ อบต.พิชัย ทม.เขลางค์ ทต.แม่เมาะ ทต.แม่ทะ และ  ทน.ลำปาง เพื่อให้เป็นชุมชนปลอดการเผาตอบสนองต่อยุทธศาสตร์จังหวัด              นางศิริพร เปิดเผยอีก ใน 25 พื้นที่โครงการ จะมีเป็นพื้นที่เดิมซึ่งมีการต่อยอดขยายขอบเขตเนื้อที่การทำงานจากหมู่บ้านไปสู่ทั้งตำบล จำนวน 10 พื้นที่เช่น ที่เมืองมาย วังเหนือและแจ้ห่ม ซึ่งหลายพื้นที่มีการทำงานได้อย่างน่าสนใจและสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบได้ เช่น บ้านแม่โป่ง ต.วังใต้ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งได้ขับเคลื่อนให้สอดรับกับธรรมนูญสุขภาพประจำตำบล จนเกิดกิจกรรมลดการเผา ซึ่งทำได้อย่างดีเยี่ยมในการลดเผาป่า และพื้นที่การเกษตร              “จากการทำงานในปีที่ผ่านมา เรามีบทเรียนโดยเฉพาะด้านกลไก ซึ่งเรากำหนดให้จะต้องมีการบูรณาการจาก 3 ภาคส่วน คือ อปท. อุทยานฯ และภาคประชาชน แต่ยังมีบางพื้นที่ที่กลไกบางส่วนยังไม่เข้าใจ หรือไม่มีการประสานงาน หนุนเสริม หรือบูรณการแผนทำงานร่วมได้อย่างสมบูรณ์เท่าที่ควร จึงทำให้การชี้วัดผลสำเร็จไม่เด่นชัดมากนัก แต่ในปี 2563 นี้เงื่อนไขดังกล่าวเราจะทำให้ชัดเจน ทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกัน ทำงานและขับเคลื่อนร่วมกัน” นางศิริพร กล่าว

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้