ผู้ว่าฯเชียงใหม่ชี้ทบทวนหรือยกเลิกปล่อยโคมไฟในงานยี่เป็งเป็นเรื่องของสภาวัฒนธรรมจังหวัด เหตุเป็นผู้กำหนดตามคำสั่งคสช.

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ชี้ทบทวนหรือยกเลิกปล่อยโคมไฟในงานยี่เป็งเป็นเรื่องของสภาวัฒนธรรมจังหวัด เหตุเป็นผู้กำหนดตามคำสั่งคสช.

- in headline, จับกระแสสังคม

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ชี้ทบทวนหรือยกเลิกปล่อยโคมไฟในงานยี่เป็งเป็นเรื่องของสภาวัฒนธรรมจังหวัด เหตุเป็นผู้กำหนดตามคำสั่งคสช. ประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องโคมลอย ลงวันที่ 7 ตค 59.pdf

จากกรณีที่มีกระแสเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทบทวนและหาแนวทางในการปล่อยโคมลอย โคมไฟในช่วงเทศกาลยี่เป็งหรือลอยกระทงเชียงใหม่นั้น นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปีนี้มีผู้ที่นิยมปล่อยโคมลอยมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นไปตามคำสั่งประกาศจังหวัด เรื่อง มาตรการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยและการดแลรักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ในการจุดและปล่อยโคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสูู่่อากาศ พ.ศ. 2559

ซึ่งก็เป็นไปตามคำสั่งของคสช. ในการกำหนดวันและเวลา โดยประกาศดังกล่าว ได้มีการร่วมหารือกันกับทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นผู้เสนอข้อมูลในเรื่องการอนุญาตปล่อย พร้อมทั้งประสานกับทางวิทยุการบินร่วมเป็นกรรมการด้วย และได้มีความเห็นร่วมกันถึงช่วงวันเวลาที่กำหนด และได้มีการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินในช่วงวันเวลาดังกล่าว

“หากมองภาพรวม พบว่าปีนี้มีการปล่อยโคมลอยเพิ่มขึ้น หากเทียบกับปีที่ผ่านมา จริงๆ เรื่องนี้ต้องมองในหลายๆ มิติ ทั้งเรื่องของประเพณี วัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว เรื่องของเศรษฐกิจด้วย ปีนี้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดเชียงใหม่มากขึ้น และใช่ว่าจะไปเน้นที่การปล่อยโคมลอยหรือโคมไฟ แต่มีการนำเสนอทางวัฒนธรรมซึ่งจังหวัดกับเทศบาลนครเชียงใหม่ก็ได้ร่วมมือกัน มีกิจกรรมการจุดผางประทีป การจุดโคมไฟประดับที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีขบวนกระทงด้วย”นายปวิณ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

ขอบคุณภาพประกอบจากภาพยนตร์เรื่อง-หลงเมืองไทย (2012)

-สระ (2009)

-เด็กส่องแสงและแรนดี้ (2005)

-ล่องหน (2005)

-ช้างคิงส์ (2006)

ทไวไลท์เหนือพม่า (2015)

ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัย หรืออันตรายและผลกระทบที่เกิดจากโคมลอย หรือโคมไฟนั้น ก็ได้มีการควบคุมกันอย่างเข้มข้น และจากหลายๆ ที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทำการออกตรวจ ก็พบว่ามีหลายที่ ที่ยังไม่ได้ทำให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการตรวจยึดโคมที่ไม่ได้มาตรฐานไว้ ซึ่งโคมส่วนใหญ่จะต้องมีขนาด ที่เป็นไปตามประกาศของจังหวัดที่ได้กำหนดไว้ แต่หากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ต้องให้ทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้เสนอมา ซึ่งจังหวัดอนุญาตให้เพียง 2 วันคือวันลอยกระทงหรือยี่เป็งกับวันที่ 31 ธ.ค.แต่ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ได้กำชับทางอำเภอต่างๆ ในเรื่องการปล่อยโคมลอยหรือโคมไฟไปแล้ว

ขณะที่นายสุนทร ยามศิริ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวว่า เรื่องของโคมลอยที่เทศบาลฯขออนุญาตไว้ ยังปล่อยไปประมาณ 300 กว่าลูกจากที่ขอจุดที่ปล่อยคือสะพานนวรัฐประมาณ 500 ลูก ส่วนใหญ่จะมีการปล่อยจากพื้นที่นอกเขตเทศบาลฯ และการปล่อยก็คงจะไปห้ามไม่ได้ มันเป็นประเพณี.

 

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้