ผู้ว่าฯกำชับนายอำเภอทุกพื้นที่บริหารจัดการชิงเผาให้เป็นระบบ ชี้คนเชียงใหม่ใช้การมองเห็นดอยสุเทพเป็นตัวชี้วัดการทำงานของภาครัฐ

ผู้ว่าฯกำชับนายอำเภอทุกพื้นที่บริหารจัดการชิงเผาให้เป็นระบบ ชี้คนเชียงใหม่ใช้การมองเห็นดอยสุเทพเป็นตัวชี้วัดการทำงานของภาครัฐ

จังหวัดเชียงใหม่ติวเข้มแผนแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า ผู้ว่าฯกำชับนายอำเภอทุกพื้นที่บริหารจัดการชิงเผาให้เป็นระบบ ชี้คนเชียงใหม่ใช้การมองเห็นดอยสุเทพเป็นตัวชี้วัดการทำงานของภาครัฐ

นายชานนท์ คำทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงแผนปฏิบัติงานแก้ไขหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2561 ว่า ในปีที่ผ่านมาในช่วง 60 วันห้ามเผาเราทำได้เพื่อเชียงใหม่ไร้หมอกควันถือว่าประสบความสำเร็จ โดยสามารถลดจำนวนจุด Hot spot จากปีก่อนจาก 997 เหลือ 609 จุด ค่า pm10 มีจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐานลดลงเหลือ 4 วันโดยลดลงถึงร้อยละ 71 พื้นที่เผาไหม้ลดลงสามารถจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในช่วง 60 วันได้ถึง 14 คดี และเครื่องบินสามารถขึ้นลงได้ปกติไม่มีงดเที่ยวบินเนื่องจากปัญหาหมอกควัน

อย่างไรก็ตามสำหรับแผนปฏิบัติการในช่วง 60 วัน ต้องรอการประชุมและกำหนดร่วมกันซึ่งพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นประธานประชุมผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือที่จังหวัดลำปางในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามแดน เพราะปีที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่กำหนดวันห้ามเผาแล้วแต่จังหวัดใกล้เคียงยังอนุญาตให้เผาอยู่ จึงมีปัญหา

ผอ.ทสจ.เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2561 ในช่วง 60 วันห้ามเผาเด็ดขาดนั้น จะต้องลดจำนวน Hot spot ลง 20% จากปีที่ผ่านมาโดยต้องไม่เกิน 488 จุด พื้นที่เผาไหม้ลดลงโดยต้องเหลือ 637,643 ไร่ ค่า pm10 ต้องมีจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐานลดลงจากปีที่แล้ว และลดระดับค่าความเข้มข้นของ pm10 ให้ต่ำกว่าปี 2560 ซึ่งค่า pm10 อยู่ที่ 153 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.และการขึ้นลงของอากาศยานต้องเป็นไปตามปกติ ไม่ดีเลย์ ที่สำคัญคือประชาชนต้องตระหนักถึงปัญหาหมอกควันและไฟป่าและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

สำหรับการกำหนดความรับผิดชอบแยกรายพื้นที่หรือ Area Base จะเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนดำเนินการภายใต้ระบบ Single Command โดยพื้นที่ป่าไม้ 70% หน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก พื้นที่อยู่อาศัยและชุมชน 16% อปท.จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก พื้นที่ทำการเกษตร 13% หน่วยงานในกระทรวงเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบหลักและพื้นที่ทางหลวง 1% ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบทจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก

ด้านนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ในเรื่องของมาตรการชิงเผาซึ่งนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผวจ.เชียงใหม่ในฐานะผอ.ศูนย์สั่งการฯได้ประชุมและแบ่งพื้นที่แล้ว ขอให้นายอำเภอแต่ละพื้นที่ไปบริหารจัดการให้ดี อย่าให้เกิดการเผาที่ไม่เป็นระบบ ต้องควบคุมเวลาให้ชัดเจน ส่วนเรื่องพื้นที่ทางการเกษตรขอให้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ไปดูด้วย เนื่องจากขึ้นเฮลิคอปเตอร์วันก่อนยังเห็นมีการเผาในที่นาจำนวนมาก และฝากทางสำนักงานพัฒนาที่ดินเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยเพราะที่ผ่านมาทำแล้วแต่ประชาชนไม่นิยมใช้

“ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ ฟังจากผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือแล้วในเดือนมกราคมยังมีฝนอยู่ แม้ว่าการชิงเผาจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายแต่ก็ต้องทำเพราะปริมาณเชื้อเพลิงสะสมมีเยอะจากปีก่อน และที่สำคัญคือคนเชียงใหม่จะใช้การมองเห็นดอยสุเทพเป็นเกณฑ์ตัดสินการทำงานของภาครัฐในเรื่องการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันเป็นหลัก เพราะฉะนั้นต้องช่วยกันเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหากมีปัญหานักท่องเที่ยวพร้อมยกเลิกตั๋วทิ้งทันที ดังนั้นความสำเร็จจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่”ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวในที่สุด.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้