ปักธง 1 ต.ค.เปิดรับนักท่องเที่ยวภายใต้ CHARMING Chiang Mai ดึงต่างชาติมาเที่ยวเดือนละไม่น้อยกว่า 1 พันคนหวังโกยเงิน 50-100 ล้านบาท

ปักธง 1 ต.ค.เปิดรับนักท่องเที่ยวภายใต้ CHARMING Chiang Mai ดึงต่างชาติมาเที่ยวเดือนละไม่น้อยกว่า 1 พันคนหวังโกยเงิน 50-100 ล้านบาท

ปักธง 1 ตุลาคมเปิดบริการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ CHARMING Chiang Mai สภาอุตสหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่มั่นใจแผนงานเชื่อเชียงใหม่จะเป็นต้นแบบนำร่องให้จังหวัดท่องเที่ยวที่ต่างจากภูเก็ตแซนด์บ๊อก แจงเฟสแรกอ.เมืองเหตุมีคนได้วัคซีนเกือบร้อยละ 70 เปิดรับต่างชาติได้เดือนละ 1,000 คนโกยเงินได้ 50-100 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 31 ส.ค.64 ที่ห้องประชุม 4 อาคารอำนวยการศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายชัชวาล ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และนายสิทธิพงษ์ วงษ์สมบูรณ์ คณะทำงาน CHARMING Chiang Mai ได้ร่วมกันแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2564 ในประเด็น การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ CHARMING Chiang Mai

นายพัลลภ แซ๋จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ประชุมหารือร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬามาตั้งแต่ต้นปี 64 เพื่อผลักดันให้มีการเปิดบริการท่องเที่ยวตั้งแต่โควิดสายพันธุ์เดลต้ายังไม่ระบาด จนกระทั่งเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาจนตกผลึกโครงการแซนด์บ๊อกและชาร์มมิ่งเชียงใหม่ CHARMING Chiang Mai

“CHARMING Chiang Mai”จะเป็นตัวขับเคลื่อนนำเศรษฐกิจและท่องเที่ยวเชียงใหม่ฟื้นคืนกลับมาทำให้ประชาชนในจังหวัดได้รับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางด้านการบริการซึ่งมีผู้ที่อยู่ในวงจรนี้กว่า 2 หมื่นครัวเรือน กลุ่มเกษตรกรและภาคธุรกิจต่อเนื่องมากกว่า 1 แสนครัวเรือนก็จะได้ประโยชน์ด้วย โดย CHARMING Chiang Mai จะแบ่งออกเป็น 3 เฟส และเราจะใช้รหัสเปิดเมือง Selectric Open คือพื้นที่ไหนพร้อมและได้รับวัคซีนพร้อมตามเป้าหมายก็จะเปิด โดยใช้โมเดลขับเคลื่อนนักท่องเที่ยวต่อจากภูเก็ตแซนด์บ๊อก 7+7 คือนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าโครงการภูเก็ตแซนด์บ๊อก 7 วันและหากตรวจไม่พบเชื้อแล้วก็สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้อีก 7 วัน โดยปักหมุดไว้ว่าจะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคมนี้”ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

ด้านนายสิทธิพงษ์ วงษ์สมบูรณ์ คณะทำงาน CHARMING Chiang Mai กล่าวว่า สำหรับโครงการ CHARMING Chiang Mai ถอดจากจุดเดิมคือ Sand Boxโดยมีกรอบการทำงานใน 5 ส่วนและพัฒนา 3 ระบบมีการตั้งรับและกระบวนการทำงานของแต่ละสถานประกอบการรวมถึงระบบสาธารณสุขเพื่อให้มีความปลอดภัยด้วย โดยวางเป้าหมายการตลาดในพื้นที่ซึ่งได้ขมวดเป็น 3 หัวข้อคือ การเตรียมพร้อมในเรื่องการฉีดวัคซีน การพัฒนาเมือง คน ผลิตภัณฑ์ การบริการและการตลาด การสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ โดยมองว่าถ้าขาดการประชาสัมพันธ์จะทำให้ขาดมิติได้จึงทำตามขั้นตอนและไม่นำเรื่องออกสู่สาธารณะมากเกินไป

“ตั้งแต่นำเสนอแนวคิดนี้ให้รัฐมนตรีท่องเที่ยวและกีฬาและได้ตั้งคณะทำงานมีการขบคิดและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาตลอด ซึ่งแผนงานจะมีทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวโดยมีความแตกต่างระหว่างภูเก็ตกับเชียงใหม่ ซึ่งภูเก็ตลักษณะพื้นที่จะเป็นเกาะ แต่เชียงใหม่มีทางเข้าออกได้หลายมิติการทำงานจึงเป็น Seal approach วิธีการทำงานจะมีขั้นตอนละเอียดมากกว่า ส่วนเป้าหมายทางการตลาดของกลุ่มท่องเที่ยวก็จะเป็นคู่ค้าของเชียงใหม่เป็นตลาดที่คณะทำงานมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำถึงปานกลางที่จะมาได้”คณะทำงาน CHARMING Chiang Mai กล่าวและชี้แจงอีกว่า

สำหรับโปรแกรมก็จะมี 3 ระยะตามกรอบของศบค.คือเข้ามาภูเก็ต 7 วันและอีก 7 วันถึงมาเชียงใหม่ได้โปรแกรมมีแพคเกจที่หลากหลายและนำเที่ยวภายใต้มาตรการ DMHTTA สิ่งที่คำนึงถึงคือแผนชะลอเหตุและทีมงานรองรับถ้าเกิดเหตุในพื้นที่ห่างไกลก็จะต้องนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีโดยผู้ป่วยสีเขียวก็จะเข้ารับการรักษาที่รพ.เอกชน แต่หากสีเหลืองก็จะส่งให้เข้ารักษาตามระบบการรักษาของภาครัฐ

นายพัลลภ กล่าวว่า เนื่องจากแผนการรับวัคซีนค่อนข้างช้าจึงเจาะจงพื้นที่เปิดท่องเที่ยวนำร่อง 4 อำเภอคือเมือง แม่ริม แม่แตงและดอยเต่า ขณะนี้ในเขตอำเภอเมืองมีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วใกล้จะถึงร้อยละ 70 ส่วนอ.แม่ริม แม่แตงและดอยเต่าจะเป็นเฟสที่ 2 เพราะยังฉีดวัคซีนได้น้อยแต่คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะถึง 70% ได้

“สำหรับเฟส 1 วางแผนที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้ประมาณ 1,000 คนต่อเดือน(เฉพาะเขตอ.เมือง)และหากสามารถดำเนินการตามแผนได้ก็จะทำให้เชียงใหม่มีเม็ดเงินจากท่องเที่ยวเดือนละ 50-100 ล้านบาท คนเชียงใหม่ก็จะได้ฟื้นวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพจิตกลับมาด้วยโดยที่ไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรทางการแพทย์ และจะทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองปลอดภัยสำหรับคนเชียงใหม่และชาวต่างชาติด้วย”ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาเชียงใหม่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำเท่านั้น ขอยืนยันว่าประชาชนชาวเชียงใหม่ต้องมาก่อนถ้าหากวัคซีนยังไม่ถึงจุดเป้าหมาย โครงการ CHARMING Chiang Mai ก็จะยังไม่เปิด และการเลือกพื้นที่จะต้องได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากประชาชน ผู้นำในพื้นที่นั้นๆ ด้วย การเข้ามานักท่องเที่ยวจะต้องทำเอกสารและทำประกันโควิดวงเงินประกัน 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้ปล่อยให้เข้ามาแบบอิสระแต่จะต้องมีการพรีบุ๊คกิ้ง มีระบบคัดกรอง โรงแรมที่รองรับจะต้องเป็นโรงแรมที่ผ่านการรับรองของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงท่องเที่ยวฯ ซึ่งต้องมีการจับคู่ธุรกิจระหว่างโรงแรมและโรงพยาบาลด้วย โดยมีแผนที่เชื่อมโยงเข้าระบบ CHARMING Chiang Mai โดยจะทำให้เชียงใหม่เป็นต้นแบบของประเทศในการเปิดให้บริการท่องเที่ยวที่ต่างจากภูเก็ต.

นายชัชวาล ฉายะบุตร รองผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้ศบค.ได้ผ่อนปรนมาตรการการเดินทางทั้งทางบกและทางอากาศในแต่ละพื้นที่ควบคุม ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ควบคุมสีแดงและได้กำหนดมาตรการเพื่อรองรับการเดินทางในอนาคตทั้งจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ผ่านภูเก็ตแซนด์บ๊อกแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวไทยที่จะเปิดรับในช่วงไฮซีซั่นนี้อีกด้วย

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้