กฟผ.จัดชุมนุมนักวิชาการถ่านหินทั่วโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำเหมือง

กฟผ.จัดชุมนุมนักวิชาการถ่านหินทั่วโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำเหมือง

ลำปาง (23 พ.ย.60) / นักวิชาการด้านถ่านหินจากทั่วโลก ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ CM&USD 2017 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำเหมืองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.ย้ำยังจำเป็นต้องใช้ เหตุต้นทุนถูกกว่าแหล่งอื่น พร้อมชี้หลายประเทศที่เจริญแล้ว ก็ไม่ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน นายถาวร  งามกนกวรรณ  รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านการทำเหมืองถ่านหินและการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Coal Mining and Utilization for Sustainable Development Conference (CM&USD 2017) ที่อาคารสมานฉันท์ธัชชวาล ศูนย์ฝึกอบรมแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ว่าการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาจากทั่วโลก ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน และการพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองในปัจจุบัน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ตลอดจนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ของทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย และเยอรมณี เข้าร่วมกว่า 200 คนทั้งนี้ มีหัวข้อการสัมมนาด้านการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากการทำเหมืองถ่านหิน รวมถึงการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ การทำเหมืองถ่านหินภายใต้ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560, พลังงานหมุนเวียนจะสามารถแทนที่พลังงานจากถ่านหินทั้งหมดในอุตสาหกรรมโลกได้หรือไม่, โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด หรือเทคโนโลยี HELE (High Efficiency, Low Emission), ความท้าทายของการเริ่มต้นการวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศของการทำเหมืองถ่านหินในประเทศอินเดีย, ความสำคัญ ความท้าทาย และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการปิดเหมืองรองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. ยังกล่าวถึงการกำหนดอัตราค่าไฟจะถูกหรือแพง ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย คนในประเทศต้องสามารถรับได้ และประเทศจะมีความสามารถในการแข่งขันถ้าต้นทุนพลังงานถูก ขณะเดียว กันก็ต้องมองถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย หลายมิติประกอบกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิง ถ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว LNG (LIQUEFIED NATURAL GAS) ย่อมแพงแน่นอน แต่หากจำเป็นต้องใช้ เราก็ต้องใช้

“มาเลเซีย มีก๊าซ และน้ำมันเยอะ แต่เขาส่งออก สัดส่วนถ่านหินเมื่อก่อนใช้ไม่ถึง 10% เดี๋ยวนี้ใช้ประมาณ 40% ในการผลิตไฟฟ้า ราคาค่าไฟจึงถูกกว่าประเทศเรา ซึ่งใช้พลังงานจากถ่านหินไม่ถึง 20%” นายถาวร กล่าวขณะที่ Mr.Karl Kleineberg จากสถาบันเทคโนโลยี จอร์จ อกริโคลา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กล่าวว่า ที่เยอรมันแม้จะมีการพัฒนาใช้พลังงานหมุนเวียนเข้ามาทดแทนมากขึ้น แต่หลักๆ ก็ยังเป็นพลังงานจากถ่านหินอยู่ โดยจะทยอยปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วทดแทนด้วยพลังงานหมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม หากยังปิดเหมืองถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ ต้องพึ่งพาอยู่ เพราะเชื่อว่าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถเข้ามาทดแทนทั้งหมดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เทคโนโลยีไม่สามารถเปลี่ยนได้ในชั่วข้ามคืน 40% ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในเยอรมัน จึงยังคงเป็นถ่านหินด้าน รศ.ดร.ภิญโญ  มีชำนะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ กล่าวเสริมว่า เมื่อมีการพูดถึงถ่านหิน มักจะพูดกันในลักษณะที่ว่าประเทศพัฒนาแล้วจะเลิกใช้ถ่านหิน ทั้งที่จริงแล้วประเทศที่พัฒนาแล้วเขามีความอิ่มตัวด้านพลังงานไฟฟ้า ประชากรไม่เพิ่ม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็แค่ 2-3% การใช้ไฟฟ้าจึงแทบไม่เพิ่ม เปรียบเทียบกับประเทศของเรากำลังพัฒนา ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังสูงขึ้นเรื่อยๆ การใช้พลังงานอื่นๆ ทดแทน จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อความต้องการถึงจุดอิ่มตัวแล้ว“ประเทศที่ใช้ถ่านหินมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก 15 ประเทศ เช่น จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น อินเดีย แอฟริกาใต้ คาซัคสถาน จึงไม่ยอมประกาศว่าจะยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน แตกต่างจากประเทศที่ใช้ถ่านหินน้อยอยู่แล้ว อาทิ นอร์เวย์ ที่สามารถประกาศยุติการใช้ถ่านหินได้ เนื่องจากในประเทศมีเขื่อนมาก ใช้พลังงานจากเขื่อนได้กว่า 90% ดังนั้นเมื่อย้อนกลับมามองประเทศไทย ถามว่าเราจะทำได้เหมือนเขาไหม เขื่อนเราจะสร้างได้อีกหรือเปล่า” รศ.ดร.ภิญโญ กล่าว.

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้