ครบ 1 ปีการต่อสู้ เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ย้ำจุดยืนคัดค้านโครงการ

ครบ 1 ปีการต่อสู้ เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ย้ำจุดยืนคัดค้านโครงการ

เชียงใหม่ / ครบรอบ 1 ปีการต่อสู้ เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย แสดงพลังยืนยันคัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน เพื่อปกป้องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม พร้อมจี้รัฐทบทวน-ยกเลิก EIA ที่ไม่โปร่งใผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21-22 ต.ค.63  เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ได้จัดกิจกรรม “เหมืองแร่ถ่านหิน 1 ปี การต่อสู้และก้าวย่างของคนอมก๋อย” เนื่องในวาระครบ 1 ปี การคัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน ซึ่ง บจ.99 ธุวานนท์ ขอประทานบัตร ในพื้นที่บ้านกะเบอะดิน ม.12 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ 284 ไร่ 30 ตารางวาโดยเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 ต.ค. ชาวบ้านกะเบอะดินประมาณ 200 คน ได้รวมตัวกันบริเวณที่ว่าการ อ.อมก๋อย เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านโครงการ พร้อมยืนหยัดปกป้องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในเวลา 10.00 น. ชาวบ้านได้เคลื่อนขบวนด้วยระกระบะไปยังพื้นที่บ้านกะเบอะดิน เมื่อผ่านหมู่บ้านตามรายทาง ก็จะพูดผ่านเครื่องขยายเสียงถึงผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชน มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่โปร่งใส แนบชื่อชาวบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งไม่มีลายเซ็น เพราะเขียนหนังสือไม่ได้ และบางส่วนก็ใช้ลายเซ็นของเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซ้ำยังระบุว่าเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทั้งที่เป็นป่าสมบูรณ์ต่อมาในเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ต.ค. ได้มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 บริเวณโบสถ์คริสตจักรบ้านกะเบอะดิน มีการนำเสนอวิดิทัศน์การเคลื่อนไหวตลอด 1 ปี  และทางกลุ่มเยาวชนได้นำเสนอแผนที่บ้านกะเบอะดิน กับพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีสภาพเป็นแม่น้ำ ลำห้วย ดังนั้นหากมีเหมืองถ่านหิน น้ำจะไหลลงแม่น้ำลำห้วยไปสู่หมู่บ้านต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร วิถีชีวิต สุขภาพ รวมถึงต้องตัดไม้ในป่า มีรถขนแร่ผ่านพื้นที่ อ.อมก๋อย เกิดฝุ่นและมลพิษทางอากาศช่วงบ่าย มีการเสวนา “เหมืองถ่านหิน:1 ปี การต่อสู้และก้าวย่างของคนอมก๋อย” วิทยากรประกอบด้วย นายสุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, นางสุภาภรณ์ มาลัยลอย ผจก.มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และนายธนกร อรรถประดิษฐ์ อนุกรรมการด้านวิชาการและกฎหมาย ซึ่งสาระคือการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้าน จะเป็นไปตามข้อกฎหมาย ที่สามารถชะลอการออกประทานบัตร เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน แต่ที่ผ่านมา ทางอุตสาหกรรม จ.เชียงใหม่ ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะชาวบ้านคัดค้าน ทำให้บริษัทไม่มีเอกสารประกอบการขอประทานบัตร นอกจากนี้ EIA ยังขาดความโปร่งใส ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม และกรมป่าไม้ได้อนุญาตให้บริษัท ดำเนินการในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านการต่อสู้ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้บ้านกะเบอะดิน เป็นที่รู้จักของสังคม มี ส.ส.นำไปพูดในสภา นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ ในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม ตัวแทนชาวบ้านได้อ่านแถลงการณ์ เรียกร้อง 3 ข้อหลัก คือ 1.ให้รัฐบาลคุ้มครองสิทธิในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ของชาวบ้าน 2. ให้รัฐส่งเสริมการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมอย่างสงบสุข ตาม ม.70 ของรัฐธรรมนูญ 3.ให้รัฐพิจารณาข้อเท็จจริงที่ชาวบ้านนำเสนอถึงความไม่ชอบธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมายของ EIA รวมทั้งทบทวน และยกเลิก EIA ดังกล่าว.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้