กองทุนฮอนด้าฯ จับมือมูลนิธิอุทกพัฒน์ ลุยแก้น้ำหลาก-แล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม

กองทุนฮอนด้าฯ จับมือมูลนิธิอุทกพัฒน์ ลุยแก้น้ำหลาก-แล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม

แพร่ / กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย จับมือมูลนิธิอุทกพัฒน์ เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำหลาก-น้ำแล้ง อย่างต่อเนื่อง พร้อมขยายผลสู่พื้นที่ลุ่มน้ำยม สร้างฝายชะลอน้ำ –ฝายหินก่อ ฟื้นฟูลำห้วยสาขาแม่จั๊วะ หวังบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนสู่ชุมชนนายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการจัดการน้ำ นับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ซึ่งเป็นกองทุนสำหรับใช้ในกิจกรรมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทยในยามประสบภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม ภัยหนาว ภัยแล้ง ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินงานภายใต้กองทุนฮอนด้าฯ ได้อย่างทันท่วงที จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4โดยเริ่มดำเนินโครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ตั้งแต่ปี 2558 จนสามารถแก้ไขปัญหาน้ำหลากและน้ำแล้งในพื้นที่ ต.นาแขม ต.เมืองเก่า ต.ดงขี้เหล็ก และ ต.หัวหว้า จ.ปราจีนบุรีได้สำเร็จ ในปี 2560 จึงขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน และสามารถพัฒนาแหล่งน้ำ เสริมศักยภาพโครงสร้างน้ำ รวมถึงบรรเทาปัญหาน้ำหลาก น้ำท่วม และน้ำแล้ง ในพื้นที่ ต.บ่อเกลือใต้ กับ ต.บ้านร้องแง จ.น่าน และ ต.นครป่าหมาก จ.พิษณุโลก ในปี 2561 นี้ ทางโครงการจึงได้ขยายผลดำเนินงานสู่พื้นที่ลุ่มน้ำยม อันเป็นแหล่งต้นน้ำ 1 ใน 25 ลุ่มน้ำหลักที่สำคัญของประเทศไทย ครอบคลุม 10 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งนี้กองทุนฮอนด้าฯ ให้การสนับสนุนงบประมาณรวมทั้ง 3 ลุ่มน้ำ ตั้งแต่ปี 2558-2561 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 42.6 ล้านบาท“กิจกรรมครั้งนี้ เป็นการรวมพลังจิตอาสาของเครือข่ายชุมชนแม่จั๊วะ กองทัพภาคที่ 3 ร้านผู้จำหน่าย และกลุ่มลูกค้ารถยนต์ และรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ใน จ.แพร่ เพื่อฟื้นฟูลำห้วยหีด ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลำห้วยแม่จั๊วะ มีการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ 5  ฝาย เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผ่าต้นน้ำ รวมทั้งฝายหินก่อขนดาใหญ่ 1 ฝาย ให้ช่วยดักตะกอนและชะลอน้ำหลาก ที่ทำให้เกิดปัญหาดินโคลนถล่มไหลเข้าอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ จนประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำลดลง และคาดว่าโครงการนี้จะแกปัญหาน้ำแล้ง-น้ำหลาก ที่ประสบมากกว่า 10 ปีได้ และสร้างรูปแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ต.แม่จั๊วะ ส่งผลประชากร 243 ครัวเรือน มีน้ำสำรองใช้เพิ่มขึ้น 61,000 ลูกบาศก์เมตร สำหรับการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตรในพื้นที่ 4,000 ไร่” กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยนั้น กลุ่มบริษัทฮอนด้า จะร่วมสมทบเงินมูลค่า 1,000 บาทต่อการขายรถยนต์ 1 คัน, 100 บาทต่อการขายรถจักรยานยนต์ 1 คัน และ 10 บาทต่อการขายเครื่องยนต์อเนกประสงค์ 1 หน่วย เพื่อสมทบรายได้จากยอดขายผลิตภัณฑ์เข้าไว้ในกองทุนอย่างเป็นระบบ ทำให้ปัจจุบันมียอดเงินกองทุนสะสม ตั้งแต่ 1 เม.ย.55-ต.ค.61 กว่า 1,000 ล้านบาทด้าน ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ขับเคลื่อนเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ให้สามารถพัฒนาและบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเองซึ่งในปีนี้ได้ขยายการดำเนินงานร่วมกับกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย มาในพื้นที่ต้นน้ำยม ที่ประสบปัญหาน้ำแล้ง น้ำหลาก ในขณะที่พื้นที่ต้นน้ำมีอ่างเก็บน้ำมากกว่า 200 อ่าง แต่ขาดการดูแลรักษา ทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพียง 406 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 10%ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี สวนทางกับความต้องการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม ที่สูงถึง 2,214 ล้านลูกบาศก์เมตร นับว่าสนองตอบความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมได้แค่ 20% เท่านั้น“เรามีข้อมูล จึงมองเห็นปัญหา และเชื่อในการทำงานจากข้างล่างขึ้นข้างบน ซึ่งกองทุนฮอนด้าก็เชื่อเช่นเดียวกัน ฉะนั้นทำอย่างไรจะสร้างตัวอย่างเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ก็มีตัวอย่างที่เริ่มสำเร็จแล้ว เราก็จะจับมือกันทำงานต่อไปอย่างมีทิศทาง เพราะเดิมพอมีปัญหาใหญ่ ก็จะมานั่งคิดถึงปัญหา โทษคนโน้น คนนี้ แต่ระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีตัวอย่างความสำเร็จแล้ว พอเจอปัญหาก็ตั้งโจทย์ได้ คิดได้ว่าทำไมเราไม่ไปดูว่าเขาแก้อย่างไร แล้วก็เอามาแก้ มันต่างจากเดิมเยอะ” ดร.รอยล กล่าวทางมูลนิธิจึงมีแนวทางในการพัฒนา 2 ด้าน คือการฟื้นฟูเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้มีน้ำเติมแหล่งเก็บน้ำได้ตลอดทั้งปี และแก้ปัญหาน้ำหลาก น้ำแล้ง ด้วยการฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างน้ำเดิมให้สามารถใช้งานได้ ตลอดจนฟื้นฟูลำน้ำสาขา ซึ่งจะช่วยลดปริมาณน้ำท่วมสะสมในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยในส่วนของลุ่มน้ำยม ได้ดำเนินงานร่วมกับ จ.แพร่ อบจ.แพร่ ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กองทัพบก กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมเจ้าท่า กรมพัฒนาที่ดิน และกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย.

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้