โรงเรียนเกษตรกรพุเตย แหล่งเรียนรู้สู่พืชผักปลอดภัย

โรงเรียนเกษตรกรพุเตย แหล่งเรียนรู้สู่พืชผักปลอดภัย

ม้เมืองไทยจะเป็นเมืองเกษตรกรรม ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร แต่ความเจ็บป่วย และขาดความปลอดภัยด้านอาหาร เพราะปนเปื้อนด้วยสารเคมี ก็นับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้หลายๆ พื้นที่ เกิดการตื่นตัว และหันมาขับเคลื่อนเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย ในชุมชนและสังคมมากขึ้นที่ตำบลพุเตย อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ นอกจากตำบลแห่งนี้จะได้ชื่อว่าเป็นตำบลสุขภาวะที่สามารถจัดการขยะในพื้นที่ได้ดี แต่ก็ไม่ละเลยวิถีเกษตร เพราะอาชีพหลักของประชาชน คือการทำไร่อ้อย ปลูกข้าว พืชผัก ข้าวโพดทับทิม อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรอยู่ ด้วยเหตุนี้ทางเทศบาลตำบลพุเตยจึงเข้ามามีบทบาทในการปูพื้นฐานความรู้เรื่องเกษตรแบบปลอดภัย เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรผลิตพืชผักปลอดภัยสู่ครัวเรือน และตลาดในชุมชนจนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 ก.ย.2561 ที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลพุเตยจึงได้เปิดโรงเรียนเกษตรกร วิถีเศรษฐกิจพอเพียง อย่างเป็นทางการ โดยได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยโรงเรียนเกษตรกรที่ว่านี้ มีกระบวนการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร 8 ครั้ง โดยกำหนดให้เรียนเดือนละ 1 ครั้งเกษร ธรรมสิทธิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และผู้ดูแลโรงเรียนเกษตรกร วิถีเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวว่า เนื้อหาหลักสูตรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำเกษตรปลอดภัยทั้งหมด เช่น ดิน พันธุ์พืช การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว โรค แมลง สารเคมี และการทำสารชีวภัณฑ์ โดยเชิญนักวิชาการเข้ามาสอนกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเน้นให้ลดใช้สารเคมีเป็นหลัก เนื่องจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ประมาณ 50 คน เป็นกลุ่มที่เคยใช้สารเคมีมาก่อน ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ถ้าทุกคนลดและเลิกใช้ได้ ก็จะส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ ทั้งของตัวเอง และผู้บริโภคขณะเดียวกันเมื่อเข้ามาในหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว ต้องเข้าร่วมโครงการพืชปลอดภัยด้วย นั่นคือทำให้ผลผลิตได้รับการรับรองอาหารปลอดภัย Q-GAP จากกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดทับทิม หรือข้าวโพดหวานสีแดง ที่นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรกำลังให้ความสนใจ ถ้าได้รับการรับรอง จะสามารถส่งขึ้นห้างสรรพสินค้าได้ หรือหากพบว่ามีแมลงเจาะ ก็ยังสามารถวางขายในตลาดของโรงพยาบาลได้ เพราะข้าวโพดชนิดนี้มีคุณประโยชน์สูงมาก มีสารโฟเลต ต้านการเกิดมะเร็งเต้านม และช่วยลดน้ำตาลในเลือด สามารถนำมารับประทานแบบสดได้ ในการปลูกจึงต้องวางแผนให้รอบคอบ เพื่อให้หมุนเวียนออกสู่ท้องตลาดอย่างเพียงพอ เช่น 1 ไร่ มี 4 งาน ควรทยอยปลูกสัปดาห์ละ 1 งาน จะได้มีผลผลิตต่อเนื่องทั้งนี้กระบวนการผลิต จะต้องวางแผนให้รัดกุม แปลงไหน กลุ่มไหนจะผลิตผักอะไร ในช่วงเวลาใด จะได้ตรงกับความต้องการของตลาด และที่สำคัญเกษตรกรจะได้เรียนรู้การทำปุ๋ยอัดเม็ด ปุ๋ยปั้นเม็ดจากมูลสัตว์ ซึ่งแบบปั้นเม็ด เหมาะสำหรับใช้ในนาข้าว ส่วนแบบอัดเม็ด เหมาะใช้กับแปลงพืชผัก เมื่อการผลิตปลอดภัยจากสารเคมี ก็จะส่งผลถึงการบริโภค และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยตามมาอย่างครบวงจร.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้