เปิดตัวเวบไซต์”สล่าเมด” ประตูสู่สากลของสล่าล้านนา พื้นที่งานหัตถกรรมที่คัดสรรโดยช่างฝีมือชาวเหนือ

เปิดตัวเวบไซต์”สล่าเมด” ประตูสู่สากลของสล่าล้านนา พื้นที่งานหัตถกรรมที่คัดสรรโดยช่างฝีมือชาวเหนือ

เปิดตัวเวบไซต์สล่าเมด ศูนย์รวมข้อมูลงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านดั้งเดิมและร่วมสมัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พร้อมกับงาน“Showcasing the Selected Craft by Northern Thai Artisans” “พื้นที่งานหัตถกรรมที่คัดสรรโดยช่างฝีมือชาวเหนือ

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.65  ที่ Weave Artisan Society  ถ.วัวลายซอย 3 อ.เมืองเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุริยะ ทองมุณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวเปิดตัวเว็ปไซต์สล่าเมด (salahmade) ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างยุทธศาสตร์ที่ 3 ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่สร้างสรรค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และพันธมิตรอีกจำนวนมาก โดยวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์สล่าเมด (salahmade) เพื่อให้เป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงตลาด และกลุ่มเป้าหมายด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี จึงได้ทำการพัฒนาและต่อยอดให้เกิดเป็นประโยชน์สูงสุด

สล่าเมด (salahmade) เป็นศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านดั้งเดิม และร่วมสมัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ผ่านทางเว็บไซต์ที่เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่งานหัตถกรรม การกระตุ้นยอดขายให้กับคนในพื้นที่ ครูภูมิปัญญา นักออกแบบ ผู้ประกอบการ ที่เล่าเรื่องราวอันโดดเด่นของตนเองที่มีองค์ความรู้และเทคนิคเฉพาะทางของตนเอง ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ รวมถึงแรงบันดาลใจในการรังสรรค์งานหัตถกรรมที่หลากหลาย เช่น สิ่งถักทอ เซรามิก งานไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

นอกจากนี้ สล่าเมด (salahmade) ยังเป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้าหัตถกรรมและเรื่องราวของกลุ่มสล่า นักออกแบบในภาคเหนือผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ จากทั่วประเทศไทยและทั่วโลกได้เข้าใจถึงความหลากหลายที่สวยงามของงานหัตถกรรมจากเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ  ได้ง่ายขึ้น เช่น เชียงราย ลำพูน และ ลำปาง เว็บไซต์นี้ยังเป็นสถานที่แลกเปลี่ยน พูดคุย พื้นที่แกลเลอรี่ วิดีโอ ตลาด ชุมชน และร้านค้า ปัจจุบันสล่าเมดได้มีสมาชิกจำนวน 85 คน ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ที่มีงานหัตถกรรม 5 ประเภท และสามารถรวบรวมผลิตภัณฑ์ได้ 98 ผลิตภัณฑ์

โดยการปรับปรุงรูปลักษณ์ระบบการใช้งานของเว็บไซต์ให้ง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการด้านสินค้าหัตถกรรม ซึ่งได้มีการรวบรวมร้านค้า สินค้าหัตถกรรม และพื้นที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิด Ecosystem ทำให้เว็บไซต์สล่าเมดเปรียบเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ฐานข้อมูลชุมชนหัตถกรรมออนไลน์ที่จะรวบรวม    สล่า ครูภูมิปัญญา นักออกแบบ ให้กับประชาชน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมทุกภาคส่วน สามารถสืบค้นข้อมูลงานหัตถกรรมใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง

สำหรับบรรยากาศภายในงานวันเปิดตัวเว็บไซค์สล่าเมดในครั้งนี้ มีวิทยากรมากมายเข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และหาแนวทางส่งเสริมงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันต่อไปในอนาคต ได้แก่ Community SharingJulian Huang สถาปนิก และผู้ร่วมก่อตั้ง Weave Artisan Society , คุณหม่อง อีเลียส ผู้จัดการของไทยไทรเบลคราฟท์แฟร์เทรด ,  Elias Maung manager of Thai Tribal Crafts Fair Trade ,ธัญญพร จิตราภิรมย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ (JUN) และ ร้าน Ordinary Selected ร้านขายสินค้าดีไซด์ภาคเหนือ

นอกจากนี้ยังมีคุณประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล และคุณต้นฝน ตั้งมหาสถิตกุล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ papacraft และผู้ริเริ่มกอง คร้าฟต์ ณ กองต้า ,คุณ Lamona Cheesman ผู้จัดการ Studio Naennaโอกาสของงานคราฟต์เชียงใหม่ในสายตาของ CEA ,คุณอินทนนท์ สุกกรี นักส่งเสริมองค์ความรู้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) An armchair chat about the importance of crafts in our times Dr. Richard EngelhardtFormer  Regional Advisor with UNESCOPerspective of Thai craft และ Robert Sukrachand A  furniture maker based in New York City and Chia อีกด้วย.

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้