จังหวัดเชียงใหม่เปิดตัวมาสคอต “น้องฟาน”เพื่อรณรงค์โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก ใช้เป็นตัวแทนสื่อสารสร้างความเข้าใจ

จังหวัดเชียงใหม่เปิดตัวมาสคอต “น้องฟาน”เพื่อรณรงค์โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก ใช้เป็นตัวแทนสื่อสารสร้างความเข้าใจ

จังหวัดเชียงใหม่เปิดตัวมาสคอต “น้องฟาน”เพื่อรณรงค์โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก ใช้เป็นตัวแทนสื่อสารสร้างความเข้าใจและปลุกจิดสำนึกทุกฝ่ายให้ร่วมรักษามรดกทางวัฒนธรรม คาดใช้เวลา 3-5 ปีจะสามารถเดินสู่เป้าหมายได้

ที่ลานห้องสมุดพื้นบ้านเวียงฯ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ นายปวิณ ชํานิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยรศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นายไพศาล สุรธรรมวิทย์ เลขานุการนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ร่วมกันแถลงข่าวความก้าวหน้าโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ตามแนวทางมรดกโลกระยะที่ 2

ทั้งนี้ตั้งแต่ที่เมืองเชียงใหม่ได้รับการพิจารณาขึ้นบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) ตามอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ริเริ่มโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ตามแนวทางมรดกโลก (โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก) ระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2559 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2560

โดยการดำเนินในระยะที่ 2 ที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2560) คณะทำงานโครงการฯ ได้ ดำเนินงานต่อยอดจากผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในด้านการศึกษา และรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และบริบทต่างๆ ของเมืองเพิ่มเติม เพื่อสร้างข้อมูลและหลักฐานสนับสนุนรองรับแนวคิดการนำเสนอคุณค่าโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value – OUV) และพื้นที่ยื่นขอเสนอ เป็นพื้นที่มรดกโลกแบบกลุ่ม (Serial Nomination Area) ทั้ง 2 แหล่ง คือ

1.เวียงเชียงใหม่ และ 2.ดอยสุเทพ และวัดพระธาตุดอยสุเทพ ตามหลักเกณฑ์การเป็นมรดกโลก (Criteria of Selection) และแนวทางการเตรียมเอกสารยื่นขอเสนอ ร่วมไปกับการพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาค ส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อสร้างแผนบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก (Management Plan) ซึ่งจะต้องจัดทำขึ้นควบคู่กับข้อเสนอทั้งในส่วนของคุณค่าฯ และพื้นที่ยื่นขอเสนอเป็นมรดกโลก ซึ่งคณะทำงานได้แบ่ง ร่างประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นเป็นสากล และผู้มีส่วนเกี่ยว ไว้ทั้งหมด 5 ประเด็น 1) แผนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน 2) แผนการอนุรักษ์แหล่งมรดกและสภาพแวดล้อม 3) แผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและแผนรับมือความเสี่ยงแหล่งมรดก 4) แผนการจัดการการ ท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว 5) แผนพัฒนาศักยภาพแหล่งมรดก ซึ่งจะได้นำไปสู่เวทีระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างร่างแผนบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกของเชียงใหม่ต่อไป

รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองวัฒนธรรมที่มีชีวิตเริ่มต้นจากตำนานสร้างเมืองและขอบเขตเมืองเก่า แม้บางพื้นที่จะร้างแต่ก็ยังรื้อฟื้นให้มาโดดเด่น รวมทั้งวิถีวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วย และอายุเมือง 721 ปีด้วย เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่มีวิวัฒนาการที่มองเห็นได้และหาดูได้ยาก

“ทุกคนจะต้องร่วมมือทั้งระบบจัดการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ โดยร่วมกับหลายหน่วยงานที่จะมองพร้อมกัน ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลา 3-5 ปีถึงจะเดินไปสู่เมืองมรดกโลกได้ และที่ผ่านมาก็มีการทำงานร่วมกับชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ก็มีแผนของตนเองไว้แล้วด้วย และเมื่อเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลกจากจุดที่เสนอคือสี่เหลี่ยมคูเมืองและดอยสุเทพ การเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการบริหารจัดการ มองถึงวิธีการรักษา โดยมีการวางแผน ไม่ใช่สต๊าฟแต่เป็นการมองร่วมกันที่จะให้เกิดความพอเหมาะ พอเจาะและผู้คนอยู่เป็นสุข ไม่ใช่จำกัดสิทธิและทำให้คนที่อยู่เกิดปัญหา”คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

สิ่งที่จะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงคือกายภาพ ไม่ใช่ให้ผู้คนดั้งเดิมขายที่อยู่อาศัยและย้ายออกไป แต่ให้ภูมิใจและรักษาไว้ จริงๆ เชียงใหม่มีปัญหามากมาย แต่ต้องช่วยกันแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามในช่วงที่ดำเนินการจะต้องมีการออกเทศบัญญัติเพื่อควบคุม รักษาดั้งเดิมไว้ นอกจากนี้ยังคิดไปถึงกองทุนมรดกโลกไว้ด้วย เป็นการมองไปถึงอนาคต 10-20 ปีข้างหน้าเพื่อไม่ให้บ้านเมืองล่มสลายหรือเปลี่ยนแปลงไปหมด

นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดตัว ‘น้องฟาน’ Mascot เพื่อการรณรงค์โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก ซึ่งจะเป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึก ให้กับเยาวชน และคนเชียงใหม่ ให้ตระหนัก หวงแหน และร่วมมือกันรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันดีงาม ของเชียงใหม่ให้คงอยู่สืบไป

‘น้องฟาน’ Mascotการรณรงค์โครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก แรงบันดาลใจการออกแบบ ‘น้องฟาน’ เกิดจากการนำเนื้อหาจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่กล่าวถึงปรากฏการณ์อันเป็นชัยมงคลทั้ง 7 ประการของชัยภูมิแห่งใหม่ ที่พระญามังรายทรงเลือกเป็น ที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ โดยฟานเผือกปรากฏอยู่ในตำนานความว่า “อัน 1 ว่าฟานเผือก 2 ตัว แม่ลูก มาอยู่ ไชยภูมิที่นี้ รบหมา หมาทั้งหลายพ่ายหนีบ่อาจจักจั้งได้สักตัวเป็นไชยมงคล” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 45).

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้