TEDxChiangMai 2021“Re-Together” แรงบันดาลใจจากความวุ่นวายวิกฤติโควิดฯ เปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

TEDxChiangMai 2021“Re-Together” แรงบันดาลใจจากความวุ่นวายวิกฤติโควิดฯ เปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

กระหึ่มทั้ง ออฟไลน์ และออนไลน์ TEDxChiangMai 2021 เวทีสำหรับกลุ่มคนที่มีแนวคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ และสร้างให้ชุมชนเชื่อในไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ“Re-Together” แรงบันดาลใจจากความวุ่นวายวิกฤติโควิดฯ เปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 – 18.30 น. ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร นายมาร์ติน เฟ็นสกี้ –สตาร์ลิ่ง ผู้จัดงานและผู้ถือใบอนุญาต TEDxChiangMai ที่ปรึกษาอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน TEDxChiangMai 2021“Re-Together” โดยกล่าวว่า “TEDxChiangMai” ปี 2021 เรียกได้ว่าเป็นเวทีสำหรับกลุ่มคนที่มีแนวคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ และสร้างให้ชุมชนเชื่อในไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โดยปีนี้เป็นปีสำคัญ เพราะเป็นครบรอบ 10 ปีของ TEDxChiangMai

โดยงานหลักในวันนี้ภายใต้หัวข้อ “Re-Together” ซึ่งได้แรงบรรดาลใจมาจากความวุ่นวาย วิกฤตการณ์โรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในสังคมตลอดระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดเป็นแนวคิดที่ว่า เราควรเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ประกอบไปด้วย Re ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลง และ Together คือ พวกเราทุกคน หรือ ร่วมกัน โดย TEDxChiangMai เสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่าไปด้วยกันผ่าน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การ Reset คือการหยุดเพื่อเริ่มใหม่ การ Reimagine คือ การปรับเปลี่ยนมุมมอง ภาพความคิดและสรรหาวิธีการใหม่ การ Realign คือการปรับเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อให้เราค้นพบความลงตัวในการอยู่ร่วมกัน ทั้งหมดนี้ก็คือการ Re-Together นั่นเอง

นอกจากนี้ใน TEDxChiangMai 2021 ยังได้พูดถึง SDGs (Sustainable and Development Goals : United Nations) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึง องค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ซึ่งมีเป้าหมายทั้งสิ้น 17 ข้อ ที่มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิดที่ว่า “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ทั้งนี้ ในปีนี้ไม่ได้มีแค่งานหลักประจำปีขนาดใหญ่แค่วันเดียวเท่านั้น แต่ตลอดระยะเวลา 3 เดือนก่อนจะถึงงานหลักนั้น TEDxChiangMai ได้จัดอีเว้นท์ย่อยต่างๆ ซึ่งเป็นการจัดงานแบบ Hybrid Event คือมีการจัดงานทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านซึ่งผู้ชมสามารถเข้าร่วมงาน ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ได้ด้วยตัวเองหรือสามารถร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้ชมสามารถร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานได้ โดย TEDxChiangMai ได้เลือกใช้ Application Whova และ Miro มาเพิ่มสีสันให้ผู้ชมมากขึ้น

Whova คือ Platform ที่ใช้สำหรับจัดกิจกรรม ที่มีลูกเล่นมากกว่าโปรแกรม Zoom ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ เช่น การแบ่ง session เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และแสดงความคิดเห็น กิจกรรม Ice Breaking  เกมส์ หรือสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ชมคนอื่นๆ โดยผู้ชมสามารถใส่ข้อมูลส่วนตัว ช่องทางการติดต่อ เพื่อให้ผู้ชมท่านอื่นอ่านและติดต่อกันได้โดยตรงไม่ว่าจะเป็นการแชทในห้องแชท การโทร หรือการวิดีโอคอลระหว่างงานอีเว้นท์ก็ยังได้ ไม่ใช่แค่ผู้ชมเท่านั้นแต่รวมไปถึง Speaker และทีมงานผู้จัดได้ด้วย

Miro คือ Whiteboard ขนาดใหญ่ที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับจัดกิจกรรม Workshop ผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจาก ฟังค์ชั่นที่หลากหลาย สีสันสดใส ที่ดึงดูดความสนใจผู้ใช้งาน TEDxChiangMai ปีนี้จึงได้นำ Miro เข้ามาใช้เป็นอีกแห่งที่จะทำให้ผู้ชมร่วมระดมสมองและเรียนรู้ภายในงานจะได้พบกับวิทยากรนักพูดชั้นนำกว่า 16 ท่าน มาร่วมเสนอมุมมองแนวคิดที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

ผศ. ชล บุนนาค ในหัวข้อของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อโลกที่น่าอยู่ให้กับลูกหลานรุ่นต่อไป, คุณ ไซรสั เจมส์ คาน ศิล ปินดิจิตอล ที่จะนำพาท่านเข้าสู่โลกศิลปะ ในรูปแบบของโลกเสมือนจริงแบบสามมิติ , คุณภาคี ภู่ประดิษฐ์ บาร์เทนเดอร์ที่ผันตัวมาเป็นนักผสมเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ด้วยวัตถุดิบจากชุมชน , คุณพริษฐ์ วชัรสินธุ ที่จะมาพูดถึงการไม่เข้าใจกันของคนต่างรุ่น, ดร. พงศธร สายสุจรติ ผู้มีส่วนในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี และดาวเทียมไทย, คุณธนิสรา เรืองเดช กับการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยเปลี่ยนนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค กับการสร้างความเข้าใจ ถึงการมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศไทย

นายมาร์ติน เฟ็นสกี้ –สตาร์ลิ่ง  กล่าวด้วยว่า การจัดงาน TEDxChiangMai จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากกลุ่มอาสาสมัคร และการสนับสนุนจากพันธมิตรมากมาย อาทิเช่น อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (NARIT) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช.(NSM) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เชียงใหม่สร้างสรรค์, Facebook Thailand, บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด (BOSCH),บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด มูลนิธฟรีดิช เนามัน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) : AIS, บริษัท บางจาก คอปเปอร์เรชั่น จำกัด, บริษัท ซีคอนเน็คติ้ง จำกัด : SEA, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) TCEB, หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และ Thailand Now.

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้