SMEs ภาคเหนือกว่า 168 รายเข้าร่วมกิจกรรม Northern Business Matching

SMEs ภาคเหนือกว่า 168 รายเข้าร่วมกิจกรรม Northern Business Matching

มช.ร่วมกับ สสว.ผนึกกำลังผลักดันผู้ประกอบการ SMEs ภาคเหนือกว่า 168 ราย ที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการเดินหน้าต่อ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจกับบริษัทคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในกิจกรรม Northern Business Matching ภายใต้การดำเนินงานโดยศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2562 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติโรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม Northern Business Matching ร่วมกับนายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEsและดร.ภคินี อริยะ ผอ.ศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดกิจกรรมพาผู้ประกอบการภายใต้ 4 โครงการของ สสว. เข้ารับการเชื่อมโยงธุรกิจกับบริษัทคู่ค้า (Business Matching) โดยมีบริษัทจากทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

ดร.ภคินี อริยะ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมภายใต้การดำเนินงาน 4 โครงการของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ (KIC) ซึ่งประกอบด้วย โครงการยกระดับผู้ประกอบการชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SME (Micro to be SMEs) ปีงบประมาณ 2562 โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early-Stage) ปีงบประมาณ 2562 โครงการยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการใหม่ (Boost up New Entrepreneurs) ปีงบประมาณ 2562และโครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปีงบประมาณ 2562

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ ได้ทดสอบตลาดและนำเสนอต้นแบบการประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การเจรจาทางการค้าเพื่อเชื่อมโยงสินค้าและธุรกิจของผู้ประกอบการกับคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้พาผู้ประกอบกว่า 168 ราย เข้ารับการเชื่อมโยงธุรกิจกับบริษัทคู่ค้า (Business Matching) โดยมีบริษัทจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสถาบันการเงินหรือแหล่งเงินทุน อาทิเช่น บริษัท เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล จำกัด (สาขาแอร์พอร์ต), Rimping Supermarket, CMU Carelicious, Thai Myanmar Intertrade, Kunming Simyit industral and trading เข้าร่วมคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ และอีกหนึ่งโครงการในการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจและ OTOP ด้านการบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างแนวทางการเป็นชุมชนต้นแบบในการประกอบธุรกิจแบบมืออาชีพ ผ่านกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยน Good Practices ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SME (Micro to be SMEs) ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งกิจกรรมการเชื่อมโยงธุรกิจกับบริษัทคู่ค้า (Business Matching) สงวนสิทธิเฉพาะผู้ประกอบการภายใต้ 4 โครงการนี้เท่านั้น

ทั้งนี้ โครงการภายใต้กิจกรรมยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายฝ่าย อาทิ               ศูนย์ให้บริการ OSS เชียงใหม่, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ (สวทช.), หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ (NIA), Fin, ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นต้น ที่ให้บริการสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจริเริ่มธุรกิจ หรือต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับธุรกิจ และโซนการแสดงนิทรรศการและสินค้าของผู้ประกอบการภายใต้โครงการกว่า 188 ราย

นายวชิระ แก้วกอ ผอ.ฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs กล่าวว่า สสว. มีเป้าหมายในการผลักดันผู้ประกอบการไทยมีบทบาททางเศรษฐกิจระดับสากลมากขึ้น โดยการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการทำธุรกิจ เกิดการยกระดับ SME ไทยทุกระดับการเติบโต     เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศสสว. จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการไทย ในการส่งเสริมและพัฒนา SME ในหลากหลายด้าน อาทิ การส่งพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม หรืองานวิจัย การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและการเข้าสู่ตลาดสากล ผ่านโครงการต่างๆ ของ สสว. ซึ่งงาน “Northern Business Matching” ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงกับ สสว. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ ให้ยั่งยืนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยกระดับสู่ SMEs 4.0

ซึ่ง สสว. ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการในการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าจากนวัตกรรม และจัดทำแผนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเชิงลึก และนำผู้ประกอบการสู่การทดสอบตลาด  โครงการยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการใหม่ (Boost up New Entrepreneurs) ปีงบประมาณ 2562 มุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการ โดยการนำเทคโนโลยี งานวิจัย นวัตกรรม จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาครัฐ มาปรับใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตและกระบวนการบริหารจัดการ รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดด้วยคุณภาพ

โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปีงบประมาณ 2562 เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านตลาดออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ, การถ่ายภาพสินค้าให้มีความน่าสนใจ, การเปิดร้านค้าออนไลน์ผ่าน Platform E-Marketplace และกิจกรรมนำร่องระบบตัวแทนดูแลผู้ประกอบการ (Agency Model) ภายใต้ Business Coordinator Unit (BCU) ซึ่งเป็นการบ่มเพาะในรูปแบบการยกระดับความรู้ด้านดิจิทัลเพื่อการค้า (Digital Transformation)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละโครงการนั้น ล้วนเป็นโครงการที่สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนา ผู้ประกอบการหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการที่เป็นฐานรากเศรษฐกิจของประเทศ              งาน “Northern Business Matching” จึงถือเป็นความตั้งใจในการสนับสนุน ส่งเสริมจาก สสว. ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถยกระดับได้ต่อไป.

 

You may also like

SUN ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในรูปแบบ Hybrid Meeting

จำนวนผู้