“NEVER AGAIN” ชี้ถึงเวลาประชาชนต้องตื่นตัว เพื่อยกเครื่องสังคมไทย

“NEVER AGAIN” ชี้ถึงเวลาประชาชนต้องตื่นตัว เพื่อยกเครื่องสังคมไทย

- in headline, จับกระแสสังคม

เชียงใหม่ / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดถก “NEVER AGAIN” หยุด-ย่ำ-ซ้ำ-เดิน ทุกฝ่ายชี้ถึงเวลาประชาชนต้องตื่นตัว เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไทย ย้ำปัจจุบันไม่มี คสช.แต่มรดกอำนาจของรัฐประหารยังอยู่ ส่งผลให้ประชาชนถูกคุกคามสิทธิเรื่อยๆเมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 10 ส.ค.62 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้จัดเสวนา “NEVER AGAIN” หยุด-ย่ำ-ซ้ำ-เดิน บริเวณหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรประกอบด้วย นายประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ อดีตจำเลยคดีคนอยากเลือกตั้ง, น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, นางภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน, นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ดำเนินรายการโดย นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw และมีผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ 100 คนนายประสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาถูกคุกคามความเป็นส่วนตัวมาตลอด บางครั้งมีตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเข้ามาถามจะไปงานนี้ไหม งานนั้นไหม ทั้งที่บางงานไม่รู้ว่าจัดมาก่อน แต่ได้รู้จากคนถาม ซึ่งแม้จะเป็นการทักทายและสอบถามอย่างสุภาพ แต่ก็ถูกเช็คและรู้ตลอดว่ากำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน หรือขึ้นสเตตัสในเฟสบุ๊คอย่างไร ทำให้คนที่ทำกิจกรรมด้วยกันเกิดความหวาดกลัว ขณะที่บางกิจกรรมมีน้องๆ หรือคนอื่นจัด แต่ตนเข้าไปร่วมงาน ก็จะถูกมองว่าเป็นแกนนำทันทีน.ส.ภาวิณี กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน และทนายเครือข่าย ได้ทำคดีเกี่ยวกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน และคดีทางการเมืองถึง 192 คดี ซึ่งเป็นที่น่าวิตกว่าศาลยุติธรรม  ได้ออกมารับรองอำนาจของเผด็จการ เช่น ประกาศ คำสั่ง ของ คสช. และทุกวันนี้แม้จะไม่มี คสช.แล้ว แต่ยังคงมีคนโดนบังคับข่มขู่อยู่ เช่น ให้เซ็นยินยอมในการให้ข้อมูล บอกพาสเวิร์ดไลน์ เฟสบุ๊ค แลกกับการไม่ตั้งข้อกล่าวหา โดยตำรวจ สันติบาล หรือเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคง เราจึงยังอยู่กับมรดกอำนาจของรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ หรือประกาศต่างๆ กว่า 400 ฉบับนางภัควดี บอกว่า ปัญหาในสังคมไทยไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ปี 2535 มี รสช. ประชาชนก็ได้ขับไล่ให้ทหารถอยออกไป หากกลับไม่ได้ปฏิรูปกองทัพ ส่งผลให้กองทัพแทรกซึมในองค์กรหลักๆ ของไทย และเป็นสถาบัน หรือองค์กรที่มีอิสระในตนเอง ไม่ถูกตรวจสอบ ทั้งยังมีบทบาทนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ แต่ความเข้าใจของทหารต่อสังคมไทยยังต่ำมาก ไม่เข้าใจสังคมพลเรือนที่มีความคิดแตกต่างหลากหลาย ในทางตรงข้ามกองทัพได้พยายามเอาความคิด อุดมการณ์มาจัดการสังคม มีการเก็บแต้ม ใช้ทรัพยากรและประชากร เป็นเครื่องมือไต่เต้าเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเป็นนักการเมืองด้านนายปิยบุตร กล่าวว่า ผลผลิตการใช้อำนาจของ คสช.ตลอด 5 ปี ไม่มีวันขัดกับกฎหมาย และยังมีการรับรองไปถึงอนาคตด้วย คำสั่ง และประกาศ คสช. ได้กระทบไปทุกหย่อมหญ้า ตั้งแต่การแต่งตั้ง โยกย้ายในทุกวงการ ไปจนถึงอาชีพประมง เกษตร ที่ดินทำกิน ฯลฯ เพราะเผด็จการทหารในศตวรรษที่ 21 รู้ว่าอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ ตั้งศาลเตี้ยไม่ได้ ไม่มีใครยอมรับ จึงต้องแปลงอำนาจดิบเถื่อนให้เป็นกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง หรือผ่าน สนช. ดังนั้นการดูอำนาจเผด็จการ อย่าดูแค่บาดเจ็บ ล้มตาย แต่ต้องดูตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีด้วย ถ้ามากขึ้นแสดงว่ามีความแนบเนียนในการใช้อำนาจผ่านกฎหมาย แม้หลายเรื่องไม่ควรถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยซ้ำไป“เราต้องจัดการ ยกเลิก ลบล้าง และป้องกันการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม เช่น กฎอัยการศึก ต้องประกาศโดยนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่ทหาร และถ้าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ควรมีคณะกรรมการ หรือเปิดโอกาสให้ประชาชนได้โต้แย้ง ร้องเรียน เพราะผ่านไประยะหนึ่งสถานการณ์อาจไม่ฉุกเฉินแล้วต้องยกเลิก ขณะที่กฎหมายหมิ่นประมาท ก็เป็นเครื่องมือไม่ให้คนแสดงความเห็น จึงต้องแก้ไข เช่นเดียวกับการใช้อำนาจรัฐประหาร มีการป้องกันไม่ให้มีความผิด การรัฐประหารจึงเกิดขึ้นเรื่อยๆ เราต้องทำให้เกิดการแก้ไขให้มีความผิด ถ้าสามารถดำเนินคดีย้อนหลังได้ คนรุ่นหลังก็จะไม่กล้าทำตามอีก” นายปิยบุตร กล่าวอย่างไรก็ตามการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น แค่เปลี่ยนชุดยูนิฟอร์มนายพล สู่คนใส่สูท ผูกเนคไท เรียกได้ว่าตราบใดที่เผด็จการทหารยังอยู่ เราจะได้อำนาจกลับมาแค่บางส่วนเท่านั้น แต่ถ้าสังคมตื่นตัวมากขึ้น มีการกดดันมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้