JMCแม่กวงฯ มีมติจัดสรรน้ำสำหรับปลูกพืชฤดูแล้งแบ่งเป็น 9 รอบเวร ป้อนน้ำให้กับข้าวนาปรัง 38,800 ไร่ครอบคลุม 5 อำเภอทั้งเชียงใหม่และลำพูน

JMCแม่กวงฯ มีมติจัดสรรน้ำสำหรับปลูกพืชฤดูแล้งแบ่งเป็น 9 รอบเวร ป้อนน้ำให้กับข้าวนาปรัง 38,800 ไร่ครอบคลุม 5 อำเภอทั้งเชียงใหม่และลำพูน

คณะกรรมการจัดการชลประทาน เขื่อนแม่กวงฯ มีมติจัดสรรน้ำสำหรับปลูกพืชฤดูแล้งแบ่งเป็น 9 รอบเวร ป้อนน้ำให้กับข้าวนาปรัง 38,800 ไร่ครอบคลุม 5 อำเภอทั้งเชียงใหม่และลำพูน รองผวจ.เชียงใหม่ชื่นชมแนวทางของJMC หวังใช้เป็นต้นแบบกับลุ่มน้ำอื่นเพื่อป้องกันปัญหาแย่งชิงน้ำในช่วงแล้ง

วันที่ 22 ธ.ค.60 ที่บริเวณสันเขื่อนแม่กวงอุดมธารา นายประจวบ กันธิยะ รองผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดการชลประทาน หรือ Join Management Committee For Irrigation(JMC) เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2560/2561 ซึ่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธาราจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนแม่กวงฯในช่วงฤดูแล้ง โดยมีนายวิฑูรย์ ฐิติธนภัค รองผอ.สำนักชลประทานที่ 1 พร้อมด้วยนายอรรถชา กัมปนาทแสนยากร นายอำเภอดอยสะเก็ด นายธีรพันธ์ เด็ดขาด นายช่างชลประทานอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา คณะกรรมการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายวิฑูรย์ ฐิติธนภัค รองผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวว่า การวางแผนพัฒนางานชลประทานในลุ่มแม่น้ำกวง ได้ริเริ่มมาตั้งแต่พ.ศ.2472 โดยได้ก่อสร้างฝายผาแตกขึ้นที่ดอยลอง บ้านผาแตกเมื่อปีพ.ศ.2478 ต่อมากรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายหินทิ้งบริเวณจุดที่ต่ำกว่าฝายผาแตกลงมา 1 กิโลเมตร โดยใช้เหมืองส่งน้ำของราษฎรเป็นระบบส่งน้ำ แต่เมื่อเกิดอุทกภัยฝายได้ชำรุดเสียหาย กรมชลประทานจึงได้ปรับปรุงฝายใหม่ สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้ 72,750 ไร่ และในพ.ศ.2500 กรมชลประทานได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของลุ่มน้ำแม่กวง เพื่อการศึกษาพัฒนาลุ่มน้ำแม่กวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราแห่งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวง และจัดหาที่ดินทำกินใหม่แก่ราษฎร ซึ่งพื้นที่ทำกินดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมหลังการก่อสร้างเขื่อน

ต่อมาครม.ได้อนุมัติให้กรมชลประทานเริ่มงานเบื้องต้นเมื่อ 27 ก.ค.2519 กรมชลประทานได้ขอความช่วยเหลือกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาโครงการออกแบบและก่อสร้าง และต่อมาครม.ได้อนุมัติให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เมื่อพ.ศ.2529 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและอาคารประกอบจึงได้เริ่มขึ้นในปีพ.ศ.2531 และเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในปีพ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานชื่อ เขื่อนแม่กวงให้กับกรมชลประทานตามที่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธาราเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538

ทางด้านนายธีรพันธ์ เด็ดขาด นายช่างชลประทานอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา กล่าวว่า  เขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความจุที่ระดับเก็บกัก 263 ล้านลบ.ม.มีระบบส่งน้ำสายใหญ่จำนวน 5 สายคือ คลองส่งน้ำสายใหญ่ผาแตก เป็นคลองดาดคอนกรีต ความยาว 27.75 กม.คลองซอย 19 สายมีสภาพเป็นคลองธรรมชาติ คลองส่งน้ำสายใหญ่เมืองวะ เป็นคลองธรรมชาติ ความยาว 4 กม.คลองซอย 3 สายมีสภาพเป็นคลองธรรมชาติ

คลองส่งน้ำสายใหญ่เกาะมะตัน เป็นคลองธรรมชาติ ความยาว 18 กม.คลองซอย 3 สาย มีสภาพเป็นคลองธรรมชาติ คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาเป็นคลองดาดคอนกรีตยาว 15.5 กม.และคลองซอย 18 สายและคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย เป็นคลองดาดคอนกรีตยาว 76.32 กม.และคลองซอย 74 สายสามารถส่งน้ำไปถึงจังหวัดลำพูน

เมื่อก่อสร้างเขื่อนเสร็จสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทาน 170,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือเชียงใหม่และลำพูน 5 อำเภอคืออ.ดอยสะเก็ด สันทราย สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่และอ.บ้านธิ อ.เมืองลำพูนจำนวน 33 ตำบล สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีเฉลี่ยปีละ 120,000 ไร่ นาปรังเฉลี่ยปีละ 25,000 ไร่และส่งน้ำให้กับการประปาส่วนภูมิภาคเชียงใหม่ปีละ 12 ล้านลบ.ม.

นายช่างชลประทานอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา กล่าวอีกว่า ในการบริหารจัดการน้ำ โครงการจะมีคณะกรรมการจัดการชลประทานซึ่งปัจจุบันมีนายวิบูลย์ชัย สรณ์สิริพีรวัฒน์ เป็นประธานและมีคณะกรรมการ 4 ประสานประกอบด้วยองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธาราและหน่วยงานาชการที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปีพ.ศ.2560/2561 ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯมีมติที่จะร่วมกันบริหารจัดการน้ำในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 73,500 ไร่ ซึ่งเป็นการปลูกข้าวนาปรัง 38,800 ไร่ โดยใช้ปริมาณน้ำจำนวน 69 ล้านลบ.ม. โดยแบ่งรอบเวรออกเป็น 9 รอบ ซึ่ง 2 รอบแรกจ่ายน้ำ 10 วันหยุด 5 วันและ 7 รอบหลังจ่ายน้ำ 7 วันหยุด 5 วัน เพื่อเป็นการประหยัดน้ำต้นทุนไปด้วย

ขณะที่นายประจวบ กันธิยะ รองผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ต้องชื่นชมคณะกรรมการจัดการชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงฯ ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่น่าจะนำไปใช้กับพื้นที่อื่น โดยให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำและจะได้ไม่เกินปัญหาแย่งชิงน้ำเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับพื้นที่ส่งน้ำอื่นๆ ซึ่งจะได้นำข้อมูลนี้นำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ด้วย แม้ว่าในปีนี้น้ำต้นทุนในเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กจะมีมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่เรื่องของการบริหารจัดการน้ำก็ควรที่จะมีระบบการบริหารจัดการที่ดีด้วย.

 

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้