CAMTจับมือบริษัทชั้นนำด้านซอฟต์แวร์ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะในการทดสอบระบบ

CAMTจับมือบริษัทชั้นนำด้านซอฟต์แวร์ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะในการทดสอบระบบ

วิทยาลัยศิลปะ สื่อฯ และบริษัทชั้นนำทางด้านซอฟต์แวร์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาทักษะในการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ ทั้งในด้านการออกแบบ การใช้เครื่องมือ และพัฒนาทักษะการบริหารการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยการทดสอบ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์

เมื่อวันที่ 22 ส.ค.63 ที่วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. วรวิชญ์  จันทร์ฉาย คณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี( CAMT)ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับบริษัท สยามชำนาญกิจ จำกัด นำโดย คุณประธาน ด่านสกุลเจริญกิจ และบริษัท อาร์ติซาน เบรน จำกัด คุณปิติ จำปีทอง เพื่อการสร้างหลักสูตรและดำเนินการสอนร่วมกันการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. วรวิชญ์  จันทร์ฉาย คณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมว่า สืบเนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้มีข้อกำหนดต่างๆ ในการดำรงชีวิตในรูปแบบใหม่ (New Normal) รวมทั้งมีการให้ประชาชนลดการเดินทาง มีการทำงานที่บ้าน (Work from home) และมีการให้บริการต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชันต่างๆ ที่เริ่มมีการให้บริการทั้งจากทางหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและส่วนงานเอกชนต่างๆ ทำให้ในอนาคต คาดว่าจะมีความต้องการบุคลากร ที่มีความสามารถในการผลิตซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชันที่มีคุณภาพ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องการบุคลากรที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องภายใต้เวลาอันสั้น
การทดสอบซอฟต์แวร์ ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเป็นส่วนที่ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นว่ามีความสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ในการออกแบบการทดสอบที่เหมาะสม จะช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับการรับรองว่าทำงานได้ถูกต้องและผู้ใช้งานจะได้ไม่พบกับปัญหาที่เกิดจากการทำงานที่ไม่ถูกต้องของซอฟต์แวร์นั้นๆ


นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้นำการทดสอบซอฟต์แวร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานให้ทำงานได้รวดเร็วสอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด โดยใช้การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขับเคลื่อนด้วยการทดสอบ (Test Driven Development) ซึ่งจะต้องมีการใช้เครื่องมือในการทดสอบอัตโนมัติทั้งในระดับของ  เอพีไอ (API) และในระดับของหน่วยย่อย (Unit Test) เพื่อใช้ในการควบคุมการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้สามารถสนับสนุนการทำงานที่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการทำงานของบุคลากรได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย

ดังนั้น ในโครงการนี้จึงจัดอบรมเรื่องการทดสอบซอฟต์แวร์เบื้องต้น และการประยุกต์ใช้  การทดสอบซอฟต์แวร์ในระดับหน่วย และระดับเอพีไอ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านทดสอบซอฟต์แวร์เบื้องต้น และการนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขับเคลื่อนด้วยการทดสอบ ทั้งในระดับของหน่วยย่อย และในระดับของเอพีไอ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ทดสอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพได้
อีกทั้งในโครงการนี้ยังได้รับการร้องขอจากบริษัทซอฟต์แวร์ในเขตจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้จัดการอบรมในหัวข้อดังกล่าว เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรภายในบริษัทของตนได้ตรียมความพร้อม ในการรองรับความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการผลิตซอฟต์แวร์มากขึ้น เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมาใช้ได้ในภาวะวิกฤติเช่นนี้ และสามารถนำมาใช้ได้ต่อไปในอนาคต


ทั้งนี้เนื้อหาที่ศึกษาเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับกระบวนวิชาการทดสอบซอฟต์แวร์ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ของวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นช่องทางเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถเทียบโอนหน่วยกิตในกระบวนวิชาของสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระดับปริญญาโท เข้าในโครงการธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) โดยผู้เรียนได้เก็บข้อมูลการเรียนของตนเองไว้ เมื่อผู้เรียน ได้ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาขั้นถัดไป สามารถนำข้อมูลในการเรียนมายื่นขอเทียบโอนเป็นวิชาในหลักสูตรปริญญาได้ตามเงื่อนไขการอบรมหรือคอร์สเรียนที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนไว้ โดยในโครงการนี้ได้แบ่งการอบรมออกเป็น 3 ครั้งได้แก่ ครั้งที่ 1 อบรมในหัวข้อการออกแบบการทดสอบ (Software Testing Design Techniques) ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 63 ครั้งที่ 2 อบรมในหัวข้อการทดสอบ API แบบอัตโนมติ (API Automation Testing) ภายในเดือนตุลาคม 2563 และครั้งที่ 3 อบรมในหัวข้อการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยการทดสอบ Unit Testing ด้วยภาษาจาวา  (Test-Driven Development with Java) ภายในปี 2564 ซึ่งคาดว่าผู้เข้าอบรมจะออกแบบการทดสอบที่เหมาะสมกับงานของตนเองได้ รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือในการทดสอบทั้งในการทดสอบระดับหน่วย และการทดสอบ  เอพีไอได้

ในครั้งนี้ได้จัดให้มีกิจกรรมการอบรมหลักสูตรโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) ร่วมกัน โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ด้วยวิธีอไจล์จากบริษัทสยามชำนาญกิจจำกัด จำนวน 4 ท่าน คือ นายพฤทธิ์ อุดมพฤกษ์, นายสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน ,นายธวัชชัย จงสุวรรณไพศาล และนายประธาน ด่านสกุลเจริญกิจ ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดการบริหารอบรมทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มายาวนาน เพื่อพัฒนาทักษะในการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ทั้งในด้านการออกแบบ และการใช้เครื่องมือ และพัฒนาทักษะการบริหารการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยการทดสอบ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์แก่กลุ่มเป้าหมาย คือในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้าร่วมโครงการอันประกอบด้วย บริษัท แอดอีซี่ จำกัด บริษัท OneDee บริษัท Artisan Digitalและบริษัท เอ-แวลลู จำกัด และพนักงานหรือนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาที่มีความสนใจในวิชาชีพนักทดสอบซอฟต์แวร์ จำนวน 30 คน

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้