โมเดลชุมชน:ลดเหล้า ลดความเสี่ยงสงกรานต์

โมเดลชุมชน:ลดเหล้า ลดความเสี่ยงสงกรานต์

ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองกับการทำงานป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนคือสิ่งที่คู่ขนานกันมานาน เพราะในช่วงเวลาแห่งความสุข การกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว ไม่ควรต้องพบกับข่าวร้ายของการสูญเสีย

ในสงกรานต์ 2562 นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พื่อลดความเสี่ยงและปริมาณอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลถึงเช่นนั้น-ข้อมูลสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จากระบบข้อมูลตำบล (Thailand Community Network Appraisal Program-TCNAP) ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เมื่อปี 2561 ระบุว่าสถานการณ์การดื่มในชุมชนยังน่าเป็นห่วง เพราะผู้มีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำคิดเป็นร้อยละ 7.54 โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี และคนกลุ่มนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรค เรื้อรัง 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง  ปวดข้อ/ข้อเสื่อม โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ และโรคเก๊าท์

เหตุนี้การสร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ได้ร่วมกันสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นช่วงเทศกาลปลอดเหล้า ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต้องหนุนเสริม โดยองค์กรท้องถิ่นต่างๆ ในเครือข่าย ได้จับมือกับชุมชนชาวบ้าน ตั้งเป้าลดการสูญเสียในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้ให้ได้สิงห์ทอง หนุนนำสิริสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเทิง จ.เชียงราย กล่าวว่า การควบคุมพฤติกรรมการดื่มในช่วงเทศกาลไมได้ถูกปฏิบัติเฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่ง แต่เป็นแนวทางที่ถูกทำมาตลอด ผ่านการรณรงค์ตามสถานที่สำคัญในชุมชน การใช้เสียงตามสาย การใช้ผู้นำชุมชนทำความเข้าใจ การตั้งด่านตรวจของอาสาสมัครชุมชน โดยเฉพาะการมีเป้าหมายลดปริมาณนักดื่มหน้าใหม่ ด้วยการให้ความรู้ถึงผลดีผลร้าย การจำกัดพื้นที่ในการดื่ม

คงเป็นเรื่องยากที่จะห้ามไม่ให้คนในชุมชนดื่มเลยในเทศกาลเฉลิมฉลอง แต่เราสร้างนิสัย ด้วยการจำกัดพื้นที่การดื่ม เช่น ดื่มในบ้านไม่ต้องออกไปไหน ดื่มแต่พอเหมาะ หรือในกลุ่มเพื่อนก็ควรจะมีสัก 1-2 รายที่ต้องร่วมสังเกตอาการ ถ้าไม่ไหวก็ต้องให้หยุด และห้ามเดินทางเป็นอันขาด เราทำเช่นนี้มาหลายปีติดต่อกัน ทำในทุกช่วงที่มีโอกาส และทำให้สถิติอุบัติเหตุของเราในช่วงปีที่แล้วเป็นศูนย์” นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเทิง กล่าวกิจกรรมรณรงค์เพื่อลดการสูญเสียนี้ ทางเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้ขับเคลื่อนในแคมเปญชื่อ “ลดเมา เพิ่มสุข” ประกอบด้วยกิจกรรม 4 สร้าง 1 พัฒนา คือ 1.สร้างคนต้นแบบ ทั้ง 3 ระดับ คือ ผู้นำชุมชน เยาวชน และครอบครัว 2.สร้างเส้นทางปลอดภัย 3.สร้างนวัตกรรมช่วยเลิกโดยชุมชน 4.การกำหนดมาตรการทางสังคม และการบังคับใช้กฎหมาย และ 5.การพัฒนาความร่วมมือ 4 องค์กรหลัก สร้างชุมชนลดเมา เพิ่มสุขด้วยกลไกการจัดการในพื้นที่ให้สามารถทำหน้าที่ควบคุมการดื่มและการเกิดอุบัติเหตุอันมาจากการดื่มในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยกำหนดการรณรงค์ออกเป็นสองระยะ ได้แก่ 1.การดำเนินงานในระยะปกติ ด้วยการดำเนินกิจกรรมให้เกิด การลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.การใช้โอกาสช่วงเทศกาลสำคัญของประเทศ เช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และเข้าพรรษา

อย่างไรก็ตามท้องถิ่นหลายแห่งได้คิดค้นกระบวนการรณรงค์ภายในท้องถิ่นของตัวเองขึ้นมา อย่างเช่นที่เทศบาลตำบลนาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี มีรูปธรรมที่ชุมชนนำมาใช้คือ “ด่านครอบครัว” โดยใช้ความรักของคนใกล้ชิดเป็นด่านสกัดด่านแรกในการป้องกันอุบัติเหตุโดยหัวหน้าครอบครัว หรือคนในครอบครัวจะต้องช่วยกันดูแลคนที่ดื่มให้อยู่กับบ้าน เสมือนเป็นด่านชั้นแรก เพราะถ้าดื่มกินอยู่กับบ้านไม่ออกไปไหน อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้นแต่ สุพรรณ ชัยมี นายกเทศมนตรีตำบลนาข่า ย้ำว่า หากขัดขืนและไม่เชื่อฟัง แน่นอนว่าชุมชนก็จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลจะมีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการควบคุมการดื่มเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

สอดคล้องกับแนวทางของเทศบาลตำบลพระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดย ทรงศักดิ์ โชตินิติวัฒน์ นายกเทศมนตรีตำบลพระแท่น กล่าวว่า ช่วงเวลาสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุมักเป็นช่วงรอยต่อของการดื่ม กล่าวคือเมื่อตั้งวงดื่มแล้ว เครื่องดื่มไม่พอ จะออกมาซื้อใหม่ ซึ่งประเด็นนี้ถูกเน้นย้ำผ่านเสียงตามสาย การประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่าคือช่วงเวลาของการเกิดเหตุมากที่สุดนอกจากนั้นในช่วงเทศกาล แต่ละชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพระแท่นจะตั้งจุดตรวจ จุดบริการประชาชน เพื่อให้บริการสถานที่นอนพัก เครื่องดื่ม ผ้าเย็น คลายความเมื่อยล้า ซึ่งเป็นการตั้งจุดความปลอดภัยและอาศัยความเข้าใจกับชุมชนไปด้วยในเวลาเดียวกัน การทำงานเช่นนี้ทำให้ชุมชนมีประสิทธิภาพ เกิดผลงานเป็นรูปธรรม

ทางด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) สสส. กล่าวว่า ธีมการรณรงค์ “ลดเมาเพิ่มสุข” ที่ทางเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกันขับเคลื่อนกันมา ต่างต้องการทำให้เกิดการเฝ้าระวังในพื้นที่ของตัวเอง ขณะเดียวกันก็จะมีการสื่อสารตามวาระ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ให้แต่ละท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางที่ร่วมกันกำหนดขึ้น ซึ่งทุกๆ แห่งจะวางเป้าหมายไว้ที่ “ลดเจ็บ ไม่ตาย”

“บทบาทของสสส.อย่างมากที่สุด คือการส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ ว่าประเด็นสำคัญที่ควรจะชูขึ้นมาขับเคลื่อนควรจะเป็นเรื่องใด เช่น ครอบครัว ควรจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นด่านแรกที่คอยสกัดไม่ให้คนเมาออกจากบ้าน” ผู้อำนวยการ สำนัก สสส. กล่าวสำหรับเป้าหมายการ ลดเมา เพิ่มสุข ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 คือ สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุจราจรจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยชุมชนท้องถิ่น และสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นสงกรานต์ปลอดเหล้า และปลอดภัย โดยขับเคลื่อนจัดกิจกรรมใหญ่เพื่อปลุกกระแสในพื้นที่ในช่วงเทศกาลสำคัญ ได้แก่ วันเข้าพรรษาและวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ช่วงเทศกาลปีใหม่ และช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงช่วงเวลาปกติที่เหลือ ซึ่งคาดว่าผลที่ได้รับจะช่วยให้เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เพิ่มจำนวนคนเลิกเหล้าในชุมชน 3,409 คน ช่วยลดอุบัติเหตุบนถนนของชุมชนท้องถิ่นที่เข้าร่วม ชุมชนท้องถิ่นมีนวัตกรรมที่เป็นวิธีการช่วยผู้ที่ต้องการเลิกเหล้าได้อย่างน้อย 1 แห่งต่ออปท.

แต่ถึงกระนั้นการทำงานของชุมชนจะประสบความสำเร็จได้ ต้องประสานความร่วมมือกันในทุกๆ ส่วน ทั้ง องค์กรท้องถิ่น ภาคประชาชน และหน่วยงานรัฐ ขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพื่อทำชุมชนให้เกิดสุขภาวะอย่างแท้จริง

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้