20 สถาบันอุดมศึกษาเหนือตอนบนร่วมMOUเป็นเครือข่ายสร้างเกราะป้องกันให้นักศึกษาห่างไกลแอลกอฮอลล์

20 สถาบันอุดมศึกษาเหนือตอนบนร่วมMOUเป็นเครือข่ายสร้างเกราะป้องกันให้นักศึกษาห่างไกลแอลกอฮอลล์

สถาบันอุดมศึกษา 20 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ร่วมลงนามความร่วมมือ“20 วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลแอลกอฮอล์” ผู้ประสานงานเครือข่ายฯเผยกลุ่มธุรกิจรุกคืบโดยใช้กิจกรรม CSR สร้างความคุ้นเคย แนะสถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันและสร้างเกราะให้นิสิต นักศึกษา

วันที่ 11 มีนาคม 2561  ห้องประชุมไอบิส 4 โรงแรมไอบิส สไตส์ จังหวัดเชียงใหม่ นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการแถลงข่าวและลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพห่างไกลแอลกอฮอล์ ภาคเหนือตอนบน “20 วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลแอลกอฮอล์ ปี 2560- 2561 ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับมอบหมายจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้เป็นแกนนำจากตัวแทนทั้ง 20 สถาบัน

ผศ.ดร.พีระ  จูน้อยสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา)กล่าวว่า โครงการ “เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์ภาคเหนือตอนบน” มีการพัฒนาต่อยอดโครงการอย่างเป็นรูปธรรม มทร.ล้านนา ในฐานะ แกนนำได้จัดโครงการ “สถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพ ห่างไกลปัญหาแอลกอฮอล์” ภายใต้แนวคิด “20 วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลแอลกอฮอล์” เป็นปีที่ 3 โดยมี 20 สถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนเข้าร่วม

ได้แก่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัย   ราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยพะเยา, วิทยาลัยชุมชนแพร่, วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน, วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่, วิทยาอาชีวศึกษาเชียงใหม่และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เข้าร่วมเป็นเครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

สร้างเครือข่ายแกนนำบุคลากรและแกนนำนักศึกษาในการป้องกันและลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบนอย่างมีศักยภาพและต่อเนื่อง        เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการรณรงค์ ป้องกันและแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน และได้แนวปฏิบัติที่ดีจากการดำเนินโครงการของเครือข่าย        สนับสนุนมาตรการ นโยบายและการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อน ผลักดัน กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถาบันการศึกษา       สนับสนุนแกนนำบุคลากร และแกนนำนักศึกษาในการป้องกัน รู้เท่าทันกลยุทธ์ธุรกิจแอลกอฮอล์และส่งเสริมกิจกรรมป้องกันปัจจัยเสี่ยงของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบ

สำหรับสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จะได้ร่วมปฏิบัติ 4 ภารกิจสร้างสังคมปลอดแอลกอฮอล์ ดังนี้

  1. เข้าร่วมเป็นเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน มีทิศทางของประเด็นในการรณรงค์ให้ชัดเจนและต่อเนื่องทุกปี เพื่อการพัฒนาโครงการที่ยั่งยืน โดยมีแกนนำบุคลากรและแกนนำนักศึกษาในการป้องกันและลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนอย่างมีศักยภาพ
  2. จัดให้มีกิจกรรม/ โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ ป้องกัน และแก้ปัญหา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บูรณาการแลชูประเด็นด้านการกีฬาส่งเสริมสุขภาพและนันทนาการ ร่วมกับโครงการรณรงค์เรื่องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของสมถาบันอุดมศึกษาและความสนใจของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน
  3. เกิดข้อตกลง/ นโยบายของสถาบันอุดมศึกษา เรื่องการไม่รับทุนสนับสนุนจากธุรกิจเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งานเลี้ยงของบุคลากรในสถานศึกษาปลอดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. มีการสนันสนุนชมรมต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ทดลองทำกิจกรรม การรณรงค์เรื่องแอลกอฮอล์ จัดตั้งหน่วยงานร้องเรียนของนักศึกษาหากพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนนั้น

ทางด้านนายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพห่างไกลแอลกอฮอล์ ภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า รัฐบาลได้ออกกฎหมายโซนนิ่งเรื่องสถานบริการและสถานบันเทิง โดยเฉพาะที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ใกล้กับสถาบันการศึกษามานาน ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันหากมีสถานบริการหรือสถานบันเทิงที่เปิดกิจการหลังปี 2558 และให้บริการ แม้อยู่ในเขตโซนนิ่งซึ่งอาจมีเล็ดลอดหรือลักลอบเปิด เมื่อมีการตรวจพบก็จะถูกดำเนินคดีโทษค่อนข้างหนัก

“สิ่งที่พบมากในสถานบริการหรือสถานบันเทิงคือการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ให้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วที่เชียงใหม่ก็ได้มีการมาตรวจพบและเสนอให้ผวจ.เชียงใหม่สั่งปิดไป 5 แห่ง ซึ่งกฎหมายเรื่องโซนนิ่งนี้สามารถเข้าไปตรวจสอบดูได้ที่เวบไซต์ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กระทรวงยุติธรรมซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั่วประเทศ”ประสานงานเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพห่างไกลแอลกอฮอล์ ภาคเหนือตอนบน กล่าวและว่า

สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือปีที่ 2 ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนก็มีความก้าวหน้าไปมาก โดยปีนี้เรามุ่งหวังคนปฏิบัติงานคืออาจารย์และนิสิตนักศึกษา เฉพาะภาคเหนือตอนบน 20 สถาบันแต่ถ้าทั่วประเทศที่ลงนามฯแล้วมีกว่า 80 สถาบัน ซึ่งความคาดหวังจากโครงการคือเราต้องการตรึงพื้นที่ในมหาวิทยาลัยให้เป็นเขตปลอดแอลกอฮอลล์ และอยากเห็นบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่จะเป็นเกราะป้องกันจากปัจจัยภายนอก ซึ่งก็มีกฎหมายโซนนิ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญแล้ว และเราต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาที่ลงนามฯทำตามเงื่อนไขในMOU โดยจะมีการประเมิน รวมทั้งเรื่องของกิจกรรมทั้งภายในสถาบันและนอกสถาบันที่ทำร่วมกับชุมชนด้วย

ผู้ประสานงานเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพห่างไกลแอลกอฮอล์ ภาคเหนือตอนบน ยอมรับว่า อุปสรรคสำคัญของการทำงานก็คือ ในหลายจังหวัดภาคเหนือตอนบนเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงถูกรุกคืบจากกลุ่มธุรกิจซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ขณะนี้ได้เข้าไปในสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบของการทำ CSR เพื่อที่จะสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจริงๆ เครือข่ายฯก็ไม่ได้กีดกันแต่สถาบันอุดมศึกษาเองก็ต้องรู้เท่าทันกลุ่มธุรกิจด้วย อย่างเช่น การเข้ามาในรูปแบบการอบรม โดยดึงเอานักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมหรืออบรมแกนนำ เช่น การดื่มแบบรับผิดชอบ ซึ่งรูปแบบนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวล ถือเป็นการอบรมเชิงการค้าเป็นการทำธุรกิจที่แยบยล

เช่นเดียวกับที่มีนักศึกษาไปทำงานพิเศษเป็นพริตตี้เชียร์เครื่องดื่ม ซึ่งก็รู้ว่าเป็นการหารายได้พิเศษระหว่างเรียน เป็นความพึงพอใจของบุคคล แต่ก็อยากให้สถาบันอุดมศึกษาสื่อสารให้นักศึกษาได้รับรู้ ไม่ใช่ตกไปเป็นเครื่องมือของธุรกิจและเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เครือข่ายก็จะต้องต่อสู้ในวงจรรูปแบบนี้ต่อไป และหากถามว่าการทำงานของเราเจออิทธิพลจากกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์หรือไม่นั้น ในระดับชาติไม่มี แต่ในระดับท้องถิ่นก็มีบ้างแต่ทั้งนี้เราก็มีกลไกในการช่วยเหลือสนับสนุน

“ตอนนี้มีกลุ่มแอลกอฮอลล์ วอล์ซซึ่งเป็นหน่วยที่รับเรื่องร้องเรียน รวมทั้งมอนิเตอร์ว่ามีพื้นที่ไหน โซนไหนที่มีการลักลอบหรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ให้เด็ก เยาวชน ตรงไหนเป็นพื้นที่เสี่ยงก็จะประสานกำลังเข้าไปตรวจ ซึ่งกลุ่มนี้จะอยู่ในเวบของกรมพินิจฯ เป็นหน่วยงานกลางมีจนท.จากกรมพินิจและกระทรวงสาธารณสุขร่วมด้วย สามารถดำเนินการทางกฎหมายหากกระทำผิด”นายคำรณ กล่าวชี้แจง.

 

ณัชชา  อุตตะมัง   ข่าว.

 

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้