แบงก์ชาติเหนือชี้เศรษฐกิจไตรมาส 3 ทรงตัว ภาคท่องเที่ยวรอฟื้นความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีนและปัญหาหนี้ครัวเรือน

แบงก์ชาติเหนือชี้เศรษฐกิจไตรมาส 3 ทรงตัว ภาคท่องเที่ยวรอฟื้นความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีนและปัญหาหนี้ครัวเรือน

- in headline, เศรษฐกิจ

ธปท.เหนือแถลงภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3 ทรงตัว ผลผลิตเกษตร-ท่องเที่ยวขยายตัว แต่การบริโภคภาคเอกชนลดลง เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐชะลอลง ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายต้องเผชิญความท้าทายจากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีน และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังเป็นตัวฉุดรั้งการบริโภค

วันที่ 2 พ.ย.61 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ ผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แถลงข่าวเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือไตรมาสที่ 3/2561 โดยกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3 ปี 2561 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่ผลผลิตเกษตรยังขยายตัวดี ขณะที่ราคาพืชบางชนิดเพิ่มขึ้นทำให้รายได้เกษตรกรขยายตัว ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวในหลายสัญชาติ

อย่างไรก็ตาม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะฐานสูง และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากการลงทุนในภาคการผลิต ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐชะลอลงแต่เป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน ในส่วนของเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวจากไตรมาสก่อน ตามราคาน้ำมันขายปลีกเป็นสำคัญ ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่ำ

ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งฮ่องกง อเมริกา เกาหลีใต้ อังกฤษ ญี่ปุ่น และเอเชีย สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนชะลอลงเล็กน้อย เครื่องชี้การท่องเที่ยวสำคัญที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือ และอัตราการเข้าพักแรมในภาคเหนือ

การบริโภคภาคเอกชน ทรงตัว ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนขยายตัว สะท้อนจากยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งเสริมการขายและมีรถยนต์รุ่นใหม่ทยอยออกสู่ตลาด ด้านการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันกลับมาขยายตัวเล็กน้อยเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยปรับดีขึ้นในทุกหมวดสินค้า

การใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 4.2 เพราะฐานสูงในปีก่อนที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมชลประทานและกรมทางหลวงชนบท หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และหมวดครุภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้านอัตราเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 91.5 สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 96.0

การลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น สะท้อนจากมูลค่านำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ของธุรกิจผลิตเพื่อส่งออกขยายตัว ส่วนการลงทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างและยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ลดลง ขณะที่อุปทานคงค้างทั้งอาคารแนวราบและห้องชุดเหลืออยู่มาก

การค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนในภาคเหนือ มูลค่าส่งออกชะลอลง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการส่งออกไปยังเมียนมาลดลง เนื่องจากภาวะอุทกภัยในเมียนมาเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า ประกอบกับเงินจ๊าตอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในช่วงปลายไตรมาสทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าลดลง อย่างไรก็ดี มูลค่าส่งออกไปจีนตอนใต้ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ เช่น ทุเรียน และมังคุด ส่วนมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 0.2 ตามการนำเข้าสินค้าจากเมียนมาลดลงเพราะภาวะอุทกภัยเป็นสำคัญ

ผอ.ธปท.สำนักงานภาคเหนือ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับระยะต่อไปของเศรษฐกิจภาคเหนือ ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะผลผลิตเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น จากสภาพอากาศเอื้ออำนวย แต่ยังมีความท้าทายจากภาคการท่องเที่ยวที่จะมากระทบได้อีกโดยเฉพาะผลกระทบจาก Trade War และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีน และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังเป็นตัวฉุดรั้งการบริโภค.

 

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้