แบงก์ชาติเผยหนี้ครัวเรือนภาคเหนือเพิ่มขึ้น+29% เฉลี่ย 154,064 บาทต่อครัวเรือน คาดไตรมาส 4เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้น

แบงก์ชาติเผยหนี้ครัวเรือนภาคเหนือเพิ่มขึ้น+29% เฉลี่ย 154,064 บาทต่อครัวเรือน คาดไตรมาส 4เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือเผยแนวโน้มไตรมาส 4/2564 คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมฯ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภค รวมถึงการกระจายวัคซีนคืบหน้า ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา หนี้ครัวเรือนภาคเหนือเพิ่มขึ้น +29% ภาคเหนือมีหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 154,064 บาท เพิ่มขึ้น 29% รองจากภาคอีสาน

เมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564 นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3 ปี 2564 ว่า หดตัวจากไตรมาสก่อน จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ภาคการท่องเที่ยว หดตัวมากขึ้น COVID-19 ระลอกสามทำให้นักท่องเที่ยวลดลง การบริโภคภาคเอกชน หดตัวมากขึ้นจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด ผลผลิตอุตสาหกรรม กลับมาหดตัว ฐานปีก่อนสูงในหมวดอาหาร และปัญหาขาดตู้คอนเทนเนอร์ส่งออก รายได้เกษตรกร ขยายตัวชะลอลง ราคาข้าวเปลือกเจ้าลดลง ขณะที่ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชน กลับมาหดตัว ภาคธุรกิจชะลอแผนการลงทุน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐ กลับมาหดตัว ฐานปีก่อนสูง ตามการเร่งการ เบิกจ่ายในปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ชะลอลง ตามราคาหมวดอาหารสดปรับลดลง และราคาพลังงานชะลอลง ภาวะแรงงาน เปราะบางมากขึ้น

ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มไตรมาส 4/2564 คาดว่าการท่องเที่ยวภาคเหนือทยอยปรับดีขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่สีแดงเข้ม ความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวและนโยบายเปิดประเทศ แต่การฟื้นตัวยังคงจำกัดตามการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อ รายได้ท่องเที่ยวภาคเหนือปี 64 คาดว่าจะกลับมาเพียง 1 ใน 3 จากปีก่อน COVID-19และคาดรายได้จะฟื้นตัวร้อยละ 60 ในปี 65

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจท่องเที่ยว รายได้ที่ลดลงท าให้ธุรกิจต้องปรับตัวหลายด้าน และมีแนวทางปรับตัวทางการเงินที่แตกต่างกัน โรงแรม รายเล็ก3 ที่มีแรงงาน 21,727 คน เหลือการจ้างงาน 71 %  และมีแนวโน้มลดการจ้างงานลงเรื่อยๆ ส่วนที่พึ่งพิงต่างชาติแทบไม่มีรายได้ปิด กิจการถาวร/ชั่วคราว กิจการที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวไทย รายได้ กลับมาไม่ถึง 50%  การปรับตัวทางธุรกิจคือหารายได้ เช่น ใช้ทรัพยากรที่มี (คน/ครัว/ สถานที่) co business กับธุรกิจอื่นเพื่อ ลดต้นทุนธุรกิจบางส่วน ส่วนการปรับตัวทางการเงินคือการบริหารค่าใช้จ่ายพยุงโรงแรม โรงแรมมีรายได้กลับมาต่ำกว่า 25% จนถึงปี 66 และโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ส่วนโรงแรมรายกลาง แรงงาน 7,473 คน ใช้วิธีลดการจ้างงาน โดยเหลือการจ้างงานเพียง 83 % โรงแรมรายใหญ่มี แรงงาน 1,813 คน คาดรายได้รวมของธุรกิจส่วนใหญ่ปี 65 ยังไม่ถึง 30% หากเทียบกับปี 62

ร้านอาหาร สตรีทฟู้ดรายได้หายไป 50% แต่ยังมีลูกค้าในท้องถิ่นช่วยสนับสนุน รายเล็กรายกลางเหลือการจ้างงานเพียง 67% โดยรายกลางและใหญ่ลดการจ้าง งานมากกว่ารายเล็ก ร้านที่พึ่งพานักท่องเที่ยวรายได้หายไป เกิน 50% กลุ่มร้านอาหารFull service รายได้ลดลงมากกว่ากลุ่มอื่น การปรับตัวทางธุรกิจต่อยอดธุรกิจเดิม สร้างรายได้เพิ่ม เช่น ขายออนไลน์/delivey สร้างสรรค์เมนูใหม่ ขยายตลาดลูกค้าใหม่ ๆ  สร้างสินค้าใหม่ที่เริ่มได้เร็ว ต้นทุนน้อย จากข้อได้เปรียบของธุรกิจที่มี เช่น โลเคชั่น ชื่อเสียง ทักษะทีมงาน และ พันธมิตรการค้า บริษัทนำเที่ยว แรงงาน 2,695 คนการจ้างงานของบริษัทนำเที่ยว หายไปกว่าครึ่งซึ่งมัคคุเทศก์ ส่วนใหญ่ถูกเลิกจ้าง ตั้งแต่ต้นปี 63 คาดรายได้ปี 65 รายได้หายไปอย่างน้อย 80% และบางแห่งปิดกิจการ การปรับตัวทางธุรกิจให้บริการรถเช่ารายวัน/รถรับส่ง พนักงาน  หาอาชีพเสริม เช่น ส่งพัสดุ ส่งอาหาร ขายของออนไลน์

แนวโน้มไตรมาส 4/2564 คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมฯ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภค รวมถึงการกระจายวัคซีนคืบหน้า ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การประกาศเปิด ประเทศ และประกาศจังหวัดท่องเที่ยวนำร่องในวันที่ 1 พ.ย. 64  การกระจายวัคซีนมีความคืบหน้า  มาตรการกระตุ้นการบริโภค / การท่องเที่ยวในประเทศ แต่ยังมีปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อ ตลาดแรงงานที่ยังเปราะบาง และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของการบริโภค

นายธาริฑธิ์ กล่าวอีกว่า หนี้ครัวเรือนภาคเหนือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้อย่างจริงจัง หนี้ครัวเรือนภาคเหนือเพิ่มขึ้น +29% ภาคเหนือมีหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 154,064 บาท เพิ่มขึ้น 29% รองจากภาคอีสาน ส่วนใหญ่ก่อหนี้ระยะสั้นเพื่อใช้จ่าย เป็นสัดส่วนสูงถึง 36% เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขณะที่หนี้ระยะยาวเพื่อซื้อสินทรัพย์ (สินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัย) มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภาคอื่น ภาระหนี้ต่อครัวเรือนภาคเหนือกระจุกตัวใน จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง เช่น อุทัยธานี สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ 9%ของครัวเรือนอยู่ในกลุ่มเปราะบาง ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนเกษตรและวัยเกษียณ

ผลกระทบจาก COVID-19 ต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย สินเชื่ออุปโภคบริโภคเร่งขึ้นในปี 63 และมีแนวโน้มชะลอลง เพิ่มมากใน จ.เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ก่อหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวสูงจากประชาชนขาดสภาพคล่อง และสินเชื่อบ้านจากการสนับสนุนของโครงการรัฐ หนี้เสียเพิ่มสูงขึ้นในช่วงแรกของการระบาด และปรับดีขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือ ของสถาบันการเงิน หนี้เสียเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วงไตรมาส 1 ปี 63 จาก สินเชื่อทุกประเภท ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ตามลำดับ หนี้เสียทยอยปรับดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 63 จาก มาตรการต่างๆ ของสถาบันการเงินที่ออกมาเพื่อลด ภาระการจ่ายหนี้ รวมถึงการเร่งปรับโครงสร้างหนี้.

 

 

 

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้