เผยสถิติปีที่ผ่านมาคนเชียงใหม่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ถึง 161 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-60 ปี

เผยสถิติปีที่ผ่านมาคนเชียงใหม่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ถึง 161 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-60 ปี

เผยสถิติปีที่ผ่านมาคนเชียงใหม่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ถึง 161 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-60 ปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เตือนภัยเงียบ “โรคซึมเศร้า” ที่ครอบครัวต้องเฝ้าระวัง

นางศรีเกษ  ธัญญาวินิชกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวว่า โรคซึมเศร้า เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการหลักคือ คือ อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม หงอยทั้งที่ตัวเองรู้สึกหรือคนอื่นก็สังเกตเห็น  เบื่อ ไม่อยากทำอะไร หรือทำอะไรก็ไม่สนุกเพลิดเพลิน หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากไป ทำอะไรช้าลง หรือหงุดหงิด กระวนกระวาย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้  รู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยใจ ไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง หรือมีความทุกข์ทรมานใจอย่างเห็นได้ชัด

ตามที่องค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือด  จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยถือเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าจับตามอง เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้หากมีอาการรุนแรงจะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือมีชีวิตคล้ายคนพิการทางสมอง ไม่สามารถทำงานได้ สำหรับสถานการณ์อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในปี 2560 มีสถิติการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 161 คน เพศชาย 125 คน เพศหญิง 36 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-60 ปี สาเหตุของการฆ่าตัวตาย 3 อันดับแรก คือ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มสุรายาเสพติด ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ที่ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  ได้ดำเนินการงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจิตเวชจังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการผ่านระบบโซนบริการแบ่งออกเป็น 5 โซนบริการ ได้แก่ โรงพยาบาลฝาง     สันทราย สันป่าตอง จอมทอง นครพิงค์  จัดระบบบริการในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งมีคลินิกจิตเวช สำหรับบริการผู้ป่วยจิตเวช สามารถเข้าถึงบริการใกล้บ้าน

มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เน้นการคัดกรองโรคซึมเศร้าในทุกคลินิก และทุกครั้งในผู้ที่มารับบริการในสถานพยาบาลทั้ง รพ.สต.และรพ. มีการกำหนดระบบการส่งต่อ แนวทางการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย    จิตเวชตามแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายจังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นการคัดกรอง 2Q 9Q 8Q เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายในคลินิกกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช สุรายาเสพติด ทั้งใน รพ.สต. รพช.และรพศ./รพท. อีกทั้งยังมีการออกตรวจเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนของจิตแพทย์ (จากโรงพยาบาลนครพิงค์ ร่วมกับ โรงพยาบาลสันป่าตอง โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลจอมทอง และโรงพยาบาลสวนปรุง)

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า สำหรับแนทางป้องกัน ขอแนะนำให้ประชาชนควรดูแลตัวเองและคนในครอบครัว สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพันในครอบครัว ใช้เวลาอยู่กับพ่อแม่ ผู้สูงอายุ อย่าให้รู้สึกโดดเดี่ยว หรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นตัวช่วยสร้างความเข้มแข็งของสายใยครอบครัว เช่น ไลน์กลุ่มครอบครัว ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุเห็นข้อมูลข่าวสารของลูกหลานและข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วย

หากพบผู้ที่เสี่ยงโรคซึมเศร้า**เน้นหลักปฐมพยาบาลใจ 3 ส. คือ สอดส่องมองหาผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ร้องไห้ ซึมเศร้า พร้อมใส่ใจรับฟังอารมณ์ความรู้สึก ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ในรายที่ยังไม่ดีขึ้น เครียดรุนแรง เศร้าซึม หรือมีความคิดเบื่อโลก ให้รีบแจ้ง ส่งต่อ ให้บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ทันที เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที**  สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง หรือ สายด่วนสุขภาพจิต 1323.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้