เปิด “ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ เชื่อมโยงข้อมูลและความต้องการผู้ประกอบการในภาคเหนือ

เปิด “ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ เชื่อมโยงข้อมูลและความต้องการผู้ประกอบการในภาคเหนือ

ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ เปิด “ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ หวังให้ NEC  เชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกำลังและความต้องการของผู้ประกอบการใน 8 จังหวัดเหนือ

วันที่ 18 มิ.ย.1 ที่วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ พล.อ. สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคเหนือตอนบน (NEC) และประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ โดยกล่าวว่า ตามนโยบายของพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) จัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในระดับภูมิภาค ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12    ในการจัดตั้งศูนย์ฯ เป็นจำนวน 17 ศูนย์

ประกอบด้วย ภาคกลาง 3 ศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ศูนย์          ภาคตะวันออก 3 ศูนย์ ภาคใต้ 3 ศูนย์ และภาคเหนือ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์จังหวัดพิษณุโลก และศูนย์จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ ได้มีพิธีเปิด และตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ไปแล้วจำนวน 7 ศูนย์ คือ ภาคตะวันออก ที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคระยอง และวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ภาคใต้ ที่วิทยาลัยกาญจนาภิเษกปัตตานี     ภาคกลางและปริมณฑล ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด และภาคเหนือตอนล่าง วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์

สำหรับศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (NEC) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดให้วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เป็นศูนย์การประสานงานของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน และเป็นศูนย์หลักในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลระดับภาค เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการของสถานประกอบการ โดยศูนย์ประสานงานฯ ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การบันทึกข้อมูลโปรแกรม (Big Data System) ให้กับหัวหน้างานศูนย์ข้อมูลในสถานศึกษา 8 จังหวัด รวม 69 แห่ง แยกเป็นหน่วยงานภาครัฐ 44 แห่งและภาคเอกชน 25 แห่ง

ที่ปรึกษารมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (EEC)      ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (SEC) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลาง (CEC) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ที่ได้เปิดไปแล้วนั้น จะเป็นต้นแบบให้กับศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (NEC) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตอบสนองภาคการผลิตอุตสาหกรรมและบริการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และโมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบกับการขับเคลื่อน มีแนวคิดในการคิดวิเคราะห์ สภาพปัญหา ความต้องการของสถานประกอบการ การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อให้เป็นการจัดการอาชีวศึกษาแบบมีส่วนร่วม ใช้กลไกมาตรฐานอาชีพ เพื่อกำกับคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นสาระที่จำเป็นของช่างอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ได้มอบนโยบาย ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศูนย์ประสานงานฯ  ณ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน รวมทั้ง เยี่ยมชมนิทรรศการ ผลงานนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือ ได้รับรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่อาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 ระดับชาติ อาทิ เครื่องกำจัดเชื้อโรคในหมวกนิรภัยด้วยหลอดโอโซน อุปกรณ์ลดอุณหภูมิน้ำร้อน โดรนตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ เครื่องบริหารปอดระบบนับจำนวนอัตโนมัติ ถุงมือพูดได้ ฯ 

พลเอก สุทัศน์ ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (NEC) ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ทั้งจาก สถานประกอบการที่ร่วมจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานทวิภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอศ. เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพเพื่อป้อนสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้ดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล คือ การส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียน มีแรงบันดาลใจและค้นพบเป้าหมายในการดำเนินชีวิต และจากข้อมูลพบว่าสถานประกอบการมีความต้องการผู้ที่เรียนจบปวช.มากที่สุด รองลงมาคือระดับปวส.และปริญญาตรีน้อยที่สุด.

 

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้