เปิดโต๊ะเจรจาร่วม 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-จีน ครั้งที่ 1 ถกผลกระทบเขื่อนปากแบง

เปิดโต๊ะเจรจาร่วม 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-จีน ครั้งที่ 1 ถกผลกระทบเขื่อนปากแบง

- in headline, อนุภาคลุ่มน้ำโขง

เชียงราย / เปิดโต๊ะเจรจา 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-จีน ถกผลกระทบสร้างเขื่อนปากแบง บ.ต้าถัง อ้างทำ EIA แล้ว ไม่กระทบทางเดินปลา-แก่งผาไดแน่นอน ขณะที่ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของแย้งเป็นแค่โมเดล ยังไม่ใช่คำตอบ ย้ำต้องคำนึงถึงทุกด้าน ทั้งความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ- วิถีชีวิต ไม่ใช่แค่ผลิตพลังงานนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ เปิดเผยว่า เมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง ครั้งที่ 3 ที่เมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเตรียมการสำหรับคณะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะเดินทางไปประชุมระดับผู้นำในเดือนมกราคม 2561 และได้หารือประเด็นที่จีนมีโครงการปรับปรุงร่องน้ำด้วยการระเบิดแก่งในแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเหนือของไทย  ทำให้จีนพร้อมจะเลิกโครงการหรือปรับเปลี่ยนซึ่งนับเป็นข่าวดีของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่ก็ยังวางใจไม่ได้ ต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะจีนกำลังออกสู่โลก และการทำเขื่อน ระเบิดแก่ง ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งต่อวิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งโขง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และย่อมส่งผลสะท้อนกลับไปสู่จีน ทำให้ถูกต่อต้าน กระทบต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่อาศัย หรือค้าขายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก“จริงๆ แล้วที่ผ่านมา บริษัทจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เสนอต่อรัฐบาลไว้ แต่กลุ่มรักษ์เชียงของ และภาคี ได้ทักท้วงตลอดมา เพราะทุกขั้นตอนที่ดำเนินการผิดแนวทางทั้งสิ้น เช่น ไม่ศึกษาผลกระทบเชิงลึก ในการลงพื้นที่ศึกษาของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีคนกลาง และไม่มีการศึกษาภาพรวมในวงกว้าง โดยเฉพาะผลกระทบต่อธรรมชาติ และชาวบ้านในพื้นที่” นายนิวัฒน์ กล่าวปัจจุบันกลุ่มรักษ์เชียงของ พยายามสื่อถึงผลกระทบด้านความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเขตแดนหรืออธิปไตย ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลก็เป็นห่วงในประเด็นเขตแดน โดยที่ผ่านมา พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)  ได้ลงพื้นที่ อ.เชียงของ ถือเป็นสัญญาณที่ดีอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ในอนาคตถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็ยังคงเชื่อมั่นว่าปัญหาเรื่องเขตแดน และอธิปไตย เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกรัฐบาล ต้องรักษาไว้

สำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์น้ำโขงนั้น ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส แต่ยังยืนยันที่จะเคลื่อนไหวต่อไป เพราะถือเป็นหน้าที่ของชาวเชียงของทุกคน หรือประชาชนทุกคนก็ว่าได้ ในการธำรงรักษา และหวงแหนแม่น้ำนานาชาติสายนี้ ควบคู่กับอธิปไตยของชาตินายนิวัฒน์ ยังได้กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาทางกลุ่มรักษ์เชียงของ ได้ส่ง 6 ประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วน กรณีโครงการเขื่อนปากแบง ให้กับกลุ่มบริษัทต้าถังโอเวอร์ซีอินเวสต์เมนต์ (Datang Overseas Investment) ของจีน เพื่อให้ตัวแทนบริษัทฯ นำกลับมาชี้แจง โดยทั้ง 6 ข้อ ประกอบด้วย 1) การอพยพของปลาผ่านเขื่อน หลังจากมีการฟ้องศาลปกครองเรื่องผลกระทบข้ามแดนจากเขื่อนไซยะบุรี และศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องไว้นั้น เจ้าของโครงการได้ปรับแบบและออกแบบทางผ่านปลา และระบบระบายตะกอน ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ รวมทั้งเขื่อนปากแบงจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร2) ผลกระทบข้ามพรมแดนต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขง 3) ผลกระทบต่อระดับน้ำแม่น้ำโขงที่พรมแดนไทย-ลาว บริเวณ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และ อ.เวียงแก่น ที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากเขื่อนจิ่งหง 4) ผลกระทบต่อการเดินเรือท่องเที่ยวห้วยทราย-หลวงพระบาง โดยเฉพาะในช่วงการก่อสร้างที่จะมีการปิดกั้นลำน้ำ 5) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จะมีส่วนร่วมจากผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งคือประเด็นที่กลุ่มได้ฟ้องศาลปกครอง ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดได้รับอุทธรณ์ไว้แล้ว และ 6) มาตรการบรรเทาผลกระทบข้ามพรมแดน จะมีแผนเป็นอย่างไรบ้างต่อมาเมื่อวันที่ 15 ม.ค.2561 นายจันแสวง บุญยง อธิบดีกรมการนโยบายแผนพลังงานและบ่อแร่ สปป.ลาว, ดร.แกรม บอยด์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญอิสระโครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงโครงการเขื่อนปากแบง แขวงอุดมไชย สปป.ลาว, นายจาง เชา รองผู้จัดการทั่วไปบริษัทจีน ต้าถัง โอเวอร์ซี อินเวสเมันต์ จำกัด, นายเติ้ง โบ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ต้าถัง (สปป.ลาว) ปากแบ่ง ไฮโดรเพาเวอร์ จำกัด พร้อมคณะ ได้เดินไปที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อหารือกับเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มรักษ์เชียงของ เกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อนปากแบง ที่เตรียมก่อสร้างห่างจากแก่งผาได อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เข้าไปในแขวงอุดมไชย ประมาณ 92 กิโลเมตร หลังจากมีการศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จตั้งแต่กลางปี 2560 แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากมีการคัดค้านจากเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงของไทย เพราะเกรงจะเกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ฝ่ายไทย ประกอบด้วย พล.ต.ต.ชูรัตน์ ปานเหง้า รอง ผบช.ภ.5 ในฐานะดูแลศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.)  นางวาสนา ร้อยอำแพง นักอุทกวิทยาชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรน้ำ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชน นำโดย นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว แกนนำกลุ่มรักษ์เชียงของ ทั้งหมดประมาณ 100 คนดร.แกรม กล่าวว่า เขื่อนปากแบง ออกแบบให้เป็นเขื่อนน้ำล้น ไม่ใช่เขื่อนเพื่อการกักเก็บน้ำ จึงไม่กระทบต่อแก่งผาได แต่มุ่งให้น้ำไหล เพื่อปั่นมอเตอร์ผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก และยังมีการนำข้อมูลย้อนหลังกว่า 50 ปีมาศึกษาด้วย ถึงกับทำต้นแบบ และคำนวณว่า จะลดระดับน้ำเขื่อนลง 5 – 10 เมตร เพื่อไม่ให้กระทบมาที่แก่งผาได และจะประสานข้อมูลกับเขื่อนเหนือประเทศไทยขึ้นไปอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านอุทกศาสตร์ และระดับน้ำกรณีที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงเสนอให้ศึกษาทางเดินของปลาด้วย ทางโครงการก็ศึกษาพันธุ์ปลา – สร้างทางผ่านของปลาทั้งขึ้น และลง ควบคู่ไปกับทางขึ้นลงของเรือที่จะผ่านเขื่อนไปคนละช่องกับน้ำที่ใช้เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้า และจะมีการตั้งหน่วยงานด้านการประมงร่วมกับนานาชาติ จีน ลาว และไทย เพื่อศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องตะกอนในแม่น้ำโขง คำนวณแล้วว่า ด้านบนก็มีเขื่อน และเขื่อนปากแบง เป็นเขื่อนน้ำไหลผ่าน จะสามารถระบายตะกอนผ่านไปได้ถึง 90% ด้านนายนิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า กรณีศึกษาเรื่องเขื่อนไซยะบุรีใน สปป.ลาว พบว่า ปลาเดินทางผ่าน 1 แสนตัว/ชั่วโมง ขณะที่ในความเป็นจริงการเดินทางของปลาในแม่น้ำโขง มี 3 ล้านตัว/ชั่วโมง โมเดลนี้จึงไม่ใช่คำตอบ และการสร้างเขื่อนที่มีผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขง ต้องคำนวณถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตด้วย ส่วนเรื่องพลังงานนั้น ขณะนี้โลกมีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เป็นทางเลือกมากขึ้นแล้ว“เป็นการจัดเวทีพูดคุยครั้งแรก แต่ยังมีหลายประเด็นที่ต้องลงรายละเอียดเพราะข้อมูลไม่ตรงกัน ควรลงพื้นที่ดูข้อเท็จจริงเปรียบเทียบ เพราะขณะนี้การอธิบายของผู้แทนลาวและบริษัทจีน เป็นเพียงโมเดลศึกษา อย่างไรก็ตาม การพบปะเจรจาครั้งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เป็นมิติใหม่ และเป็นครั้งแรกที่มีทั้งบริษัทใหญ่ ตัวแทนจากรัฐบาลลาว และกรมทรัพยากรน้ำ มาร่วมแลกเปลี่ยนและคาดหวังสร้างความต่อเนื่อง โดยจะติดตามผลการประชุมและสร้างเวทีคู่ขนานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคจากภาคประชาชนต่อไป” นายนิวัฒน์ กล่าวในตอนท้าย.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้