เปิดตัวแคมเปญ “Kind Dining กิน.กอด.โลก” ชวนคนรุ่นใหม่ให้คำมั่นสัญญาไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

เปิดตัวแคมเปญ “Kind Dining กิน.กอด.โลก” ชวนคนรุ่นใหม่ให้คำมั่นสัญญาไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

เปิดตัวแคมเปญKind Dining กิน.กอด.โลก” ชวนคนรุ่นใหม่ให้คำมั่นสัญญาไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย เพื่อลดความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ททท.ร่วมกับเครือข่ายดึงผู้เชี่ยวชาญ ดาราและคนมีชื่อเสียงมาร่วมรณรงค์หลังงานวิจัยพบคนหนุ่มสาวที่อยู่ในเมืองมีฐานะและชอบเดินทางท่องเที่ยวมักบริโภคเพื่อสังสรรค์ไม่ใช่เพื่อประทังชีวิต

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ร้านมีนา มีข้าว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดตัวแคมเปญ “Kind Dining กิน.กอด.โลก” ชวนคนรุ่นใหม่ให้คำมั่นสัญญาไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย เพื่อลดความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ดารา และผู้มีชื่อเสียง เช่น นายวงศ์รวี นทีธร (สกาย) นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน (หมอล็อต) และ น.ส.ชุดารี เทพาคำ (เชฟตาม) เพื่อปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมทั้งลดความเสี่ยงของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ป่า เช่น ซาร์ส และอาจรวมถึงโควิด-19 โดยเป้าหมายของการณรงค์ครั้งนี้ เพื่อลดความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศไทย กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ร่วมให้คำมั่นสัญญาว่า จะไม่บริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย พร้อมติดแฮชแท็ก  #SayNotoIllegalWildMeat

น.ส.สรัสวดี อาสาสรรพกิจ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคเหนือ ททท. กล่าวว่า ททท.ยินดีร่วมมือกับองค์กรนานาชาติในการรณรงค์แคมเปญ ‘Kind Dining กิน.กอด.โลก’ เพราะนอกจาก ททท. มีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเน้นการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ จึงขอเป็นส่วนเล็กๆ ในการสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ให้นักท่องเที่ยวว่า นอกจากความสุข สนุกสนานแล้ว ยังต้องตระหนักอยู่ในใจตลอดเวลาว่า ไม่ควรบริโภคสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย เพราะนั่นคือความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ทางด้านน.ส.ดารารัตน์ วีระพงษ์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) กล่าวว่า ในการปกป้องสัตว์ป่าจากการบริโภคอย่างผิดกฎหมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมาย แคมเปญ กิน.กอด.โลก จึงเกิดขึ้นเพื่อลดความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า ความเสี่ยงต่างๆ อันจะกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเสี่ยงของการเกิดโรคอุบัติใหม่ล้วนเป็นประเด็นที่พูดถึงในการรณรงค์ในครั้งนี้

“จากการทำวิจัยของ TRAFFIC และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) เรื่องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าของคนไทยในเขตเมืองพบว่า ในรอบปีที่ผ่านมา 32% มีการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า รวมถึงเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และในจำนวนเท่า ๆ กันนั้นมีแนวโน้มจะบริโภคอีกในอนาคต และความต้องการเนื้อสัตว์ป่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการล่า ฆ่า และค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย นำมาสู่การลดจำนวนของสัตว์ป่า จนบางชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคจากสัตว์ป่าสู่คนด้วย”ผู้จัดการโครงการอาวุโส เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) กล่าวและว่า

กลุ่มคนที่บริโภคเนื้อสัตว์ป่าส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว มีช่วงอายุระหว่าง 18 – 30 ปี อาศัยอยู่ในเมือง มีฐานะและชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว โดยคนกลุ่มนี้ไม่ได้บริโภคเนื้อสัตว์ป่าเพื่อประทังชีวิต แต่มักบริโภคกันระหว่างการท่องเที่ยว งานสังสรรค์ น่าตื่นเต้นในประสบการณ์ใหม่ เป็นรสนิยมและค่านิยมที่ไม่เป็นผลดี เราจึงมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ เพราะการบริโภคหรือล่าสัตว์ป่า คือ อาชญากรรมอย่างหนึ่ง ที่มีระบบและเส้นทางการขนส่งหรือการค้าไม่ต่างจากการค้าอาวุธ ยาเสพติด และมนุษย์ ด้วยมูลค่าที่สูง ทำให้ไทยติดอันดับ 4-5 ของโลก หรือเป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์ในฐานะเส้นทางขนส่ง

ขณะที่นายรัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ ผู้จัดการโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า สัตว์ป่าบางชนิดเกือบหมดและใกล้สูญพันธุ์ และส่งผลเสียต่อความหลากหลายในระบบนิเวศ ในขณะที่ชาวต่างประเทศบางกลุ่มเข้าใจว่าหากมาเมืองไทยและบริดภคสัตว์ป่าถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด และความเข้าใจลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดการพบเชื้อโรคใหม่ๆ เกิดเชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์ตลอดเวลา จึงขอความร่วมมืองดสัมผัสและบริโภคสัตว์ป่า เพื่อสร้าความตระหนักต่อคนจำนวนมากว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในสังคม

ส่วนทางด้าน ดร.ไอลีน ลาร์นี่ ผู้อำนวยการ ZSL ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการวิจัยพบว่ามีการบริโภคสัตว์ป่าในทุกภูมิภาค มากที่สุดคือภาคใต้ในรูปแบบที่พบมากที่สุดคือการท่องเที่ยว โดยแต่ก่อนกก็เข้าใจว่าชาวบ้านบริโภคสัตว์ป่าเพื่อยังชีพและเมื่อทำวิจัยก็พบว่ากลุ่มประชากรที่นิยมบริโภคสัตว์ป่าที่น่าสนใจและแปลกใจเป็นคนกลุ่มอายุ 18-30 ปีที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ป่าสูงและมีแนวโน้มจะบริโภคต่อไปอีก

สัตว์ป่าที่นิยมบริโภคมากที่สุดได้แก่ ไก่ป่า หมูป่า แต่ก็ยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองที่หาได้ยากเช่น เสือโคร่ง ตัวนิ่มซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย ที่น่ากังวลใจคือไม่ได้บริโภคเพื่อความจำเป็น แต่เป็นการเที่ยวเพื่อความสนุกสนานกับเพื่อนฝูง อย่างไรก็ตามจากการสำรวจกลุ่มที่เคยบริโภคสัตว์ป่าและปัจจุบันก็เลิกแล้วให้เหตุผลที่เลิกเพราะกลัวโรคติดต่อ มองว่าเป็นการทารุณโหดร้ายและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการวิจัยได้สอบถามกลุ่มที่มีอิทธิพลให้เปลี่ยนพฤติกรรมคือบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และแพทย์ซึ่งจะเป็นผู้ส่งสารที่ดีที่สุด จึงได้เลือกแอมบาสเดอร์ที่หลากหลายมารณรงค์ในครั้งนี้

สำหรับ แคมเปญ ‘Kind Dining กิน.กอด.โลก’ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กองทุนสิ่วแงดล้อมโลก โครงการคุ้มครองสัตว์ป่าโลก กองทุนเพื่อการคัดค้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายแห่งสหราชอาณาจักร ,  ททท. และโครงการกิจการระหว่างประเทศเพื่อบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา (USFWS),สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนและเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้