เชียงใหม่เปิดศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน พร้อมกำหนด 51 วันห้ามเผาเด็ดขาดระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-20 เม.ย.61

เชียงใหม่เปิดศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน พร้อมกำหนด 51 วันห้ามเผาเด็ดขาดระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-20 เม.ย.61

เชียงใหม่เปิดศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน พร้อมกำหนด 51 วันห้ามเผาเด็ดขาดระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-20 เม.ย.61 ยอมรับฤดูกาลคาดเคลื่อน หวั่นกระทบต่อการเตรียมพื้นที่ปลูก เผย 4 โจทย์ของเชียงใหม่ให้ทุกภาคส่วนทำเต็มที่

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.60 เวลา 13.00 น. ที่ห้องศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 1 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าศูนย์อำนวยการสั่งการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมประชุมคณะทำงานและเปิดศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และได้ประชุมผ่านวีดิโอทางไกลไปยังทั้ง 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชานนท์ คำทอง ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ (ทสจ.เชียงใหม่)นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเชียงใหม่(ปภ.เชียงใหม่)ในฐานะเลขานุการคณะทำงานร่วมให้ข้อมูลต่อที่ประชุม

นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันและไฟป่าขณะนี้กลายเป็นปัญหาร่วมของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีการหารือในการที่จะดำเนินการป้องกันแก้ไขไปในทิศทางเดียวกันในระดับประเทศ ส่วนของจังหวัดเชียงใหม่สำหรับปีนี้โจทย์มีอยู่ 4 ข้อ การเกิดไฟที่ก่อให้เกิดพื้นที่เผาไหม้ต้องลดลงจากปีที่ผ่านมา ปีที่แล้ว 8 แสนกว่าไร่เศษ ซึ่งลดจากปีก่อนหน้านั้นที่เกิดพื้นที่เผาไหม้ 1.2 ล้านไร่ จำนวน Hot  Spot ซึ่งจะวัดอยู่ 2 ช่วงเวลา ในช่วงการห้ามเผาเด็ดขาด ต่อมาคือค่าคุณภาพอากาศ ที่เรียกกันว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือค่า PM10 ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนวันที่ค่าเกินกว่ามาตรฐานน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และข้อสุดท้ายซึ่งเป็นโจทย์ของทั้งเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน คือการเดินทางของเครื่องบินจะสามารถขึ้นลงได้ตามปกติ โดยไม่มีเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกด้วยปัญหาหมอกควัน

ด้านนายสมคิด ปัญญาดี ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อมสนง.ทสจ.เชียงใหม่ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายชานนท์ คำทอง ทสจ.เชียงใหม่ ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2561 แบ่งเป็น 3 มาตรการหลัก ประกอบด้วย มาตรการเตรียมการและป้องกัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมต่างๆ กว่า 24 แนวทาง เพื่อตอบสนองมาตรการได้แก่ การจัดทำประกาศจังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชำชนได้ทราบ ถึงระเบียบข้อบังคับกฎหมายและมาตรการการดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า

การจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหมอกควัน การจัดตั้งศูนย์อำนวยการสั่งการฯ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ให้ทุกอำเภอในท้องที่ดำเนินการสำรวจและกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า จัดทำทะเบียนผู้มีอาชีพเข้าป่าหาของป่า รวมทั้งการลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าหรือการชิงเผาตามหลักวิชาการ และการจัดทำแนวกันไฟซึ่งปีนี้กำหนดให้แนวกันไฟควรที่จะมีความกว้างอย่างน้อย 8 เมตร เป็นต้น

มาตรการที่ 2 คือ ระยะรับมือ หรือช่วงการห้ามเผาเด็ดขาด โดยที่ประชุมมีมติให้ประกาศช่วงเวลาแห่งการห้ามเผาเด็ดขาด ของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2561 รวมระยะเวลา 51 วัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีระยะเวลายาวนานขึ้นกว่าเดิมทั้งช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในปีนี่ที่คาดว่าจะยาวนานถึงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ประกอบกับการดำเนินการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าหรือการชิงเผายังไม่อาจดำเนินการได้และคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่ทันกับช่วงเวลาที่จะมีการประกาศ รวมถึงการเตรียมพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกของเกษตรกรในฤดูการผลิตปี 2561 เพื่อจะให้ทันต่อช่วงต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม

ในส่วนกิจกรรมหรือแนวทางที่จะมาสนับสนุนมาตรการดังกล่าว ได้แก่ การจัดกำลังเพื่อการลาดตระเวนและควบคุมไฟป่า การเข้าระงับเหตุการณ์เมื่อเกิดการเผาในพื้นที่ต่างๆ โดยแยกเป็นพื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร พื้นที่เขตทาง และพื้นที่ในชุมชน ส่วนมาตรการที่ 3 คือ ระยะสร้างความยั่งยืน มีกิจกรรมได้แก่ การจัดทำตารางการเผาในพื้นที่การเกษตร การทำแนวกันไฟในป่าเปียก การทำฝายชะลอน้ำ การปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าวโพด เป็นต้น

ทางด้านนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า พื้นที่ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือพื้นที่ที่เกิดการไหม้ซ้ำซากในทุกปีที่ผ่านมา โดยให้นายอำเภอทุกอำเภอทำแผนเข้าไปจัดการที่ชัดเจน ปีนี้การจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันได้รับการมอบหมายให้เป็นงานของกระทรวงมหาดไทยภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ ซึ่งมีบทบาทในการใช้กฎหมายนี้ต้องมาร่วมการทำการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม

“สำหรับพื้นที่การเกษตรมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าตามมติ ครม.ปี 2541 ขอให้หน่วยงานเกษตรทุกอำเภอเข้าไปดูแลด้วย ไม่ใช่ปล่อยเป็นงานเฉพาะป่าไม้หรืออุทยานเท่านั้น ต้องมองให้เป็นพื้นที่ประกอบอาชีพของเกษตรกร โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกษตรทำในแต่ละช่วงตลอดทั้งปีเพื่อมากำหนดเป็นแผนจัดการร่วมด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีมากกว่า 1 ล้านไร่” ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวและว่า

จุดที่อยากจะเน้นย้ำตามที่รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญย้ำมา เพื่อดำเนินการคือ จุดแตกหักซึ่งจะอยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน เพราะฉะนั้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่หมู่บ้านมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง บทบาทของทุกอำเภอ ที่สำคัญคือการทำอย่างไรให้ทุกหมู่บ้านมีการเฝ้าระวังการเผา หรือร่วมมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาให้มาก หลายหมู่บ้าน ตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ มีบทบาทสำคัญในการนำมาตรการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการทางสังคมที่ชาวบ้านให้การยอมรับเข้ามาใช้ในการแก้ไขป้องกันปัญหาไฟป่าหมอกควัน ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย ทุกอำเภอต้องไปดูในเรื่องความเชื่อของแต่ละหมู่บ้านตำบลที่มีผลต่อประชาชนสูงกว่ากฎหมายให้ใช้ประเด็นนั้นมาเป็นมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน.

 

“ว

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้