เชียงใหม่ปรับระบบชิงเผาให้ทุกตำบลเช็คเข้มก่อนลงระบบย้ำบริหารจัดการเชื้อเพลิงต้องจบภายใน 4 โมงเย็น

เชียงใหม่ปรับระบบชิงเผาให้ทุกตำบลเช็คเข้มก่อนลงระบบย้ำบริหารจัดการเชื้อเพลิงต้องจบภายใน 4 โมงเย็น

เชียงใหม่เรียก อปท.โซนใต้ถกย้ำการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ต้องเป็นระบบพื้นที่เกษตรต้องไม่ใช่แปลงใหม่ ทุกตำบลต้องเช็คเข้มก่อนลงระบบ ย้ำจัดการเชื้อเพลิงที่ให้เสร็จภายใน 4 โมงเย็นของวันที่ศูนย์รับทราบแผน วอร์รูมไฟป่า

วันที่ 2 ก.พ. 64 เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์บัญชาการป้องกัน แก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมผ่านทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 12 อำเภอโซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ปภ.เชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักจัดการป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ และคณะทำงานฝ่ายวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมให้ข้อมูลและตอบในข้อซักถาม

นายรัฐพล นราดิศร รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวเป็นข้อสั่งการกับ อปท. ที่ร่วมประชุมว่า ในส่วนระดับจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการฯ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบูรณาการในการจะพิจารณาการบริหารจัดการเชื้อเพลิงซึ่งเริ่มจากพื้นที่โซนใต้ของเชียงใหม่ ซึ่งถึงขณะนี้มีการรับทราบพื้นที่ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงไปแล้ว 1 แสนกว่าไร่ แต่มีแจ้งผลการบริหารจัดการเข้ามายังศูนย์ฯ เพียง 4 หมื่นกว่าไร่ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในส่วนที่เหลือทำได้ยาก ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากระบบแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการเชื้อเพลิงซึ่งเป็นระบบที่เชียงใหม่นำมาใช้เป็นครั้งแรก รวมถึงการสื่อสารที่อาจไม่เข้าใจกัน จึงเป็นที่มาของการประชุมวันนี้

“แอพพลิเคชั่นที่ใช้ขณะนี้ยังจะต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องต่อไปอีก จึงต้องทำความเข้าใจร่วมกันในการที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การลงทะเบียนบางครั้งพบว่าทับซ้อนระหว่างพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวน ทั้งป่าอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนก็ต้องให้เกิดการตกผลึกร่วมกันว่าจะบริหารจัดการกันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นที่ จะต้องตรวจสอบยืนยันให้ได้ว่า พื้นที่ที่จะบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยเฉพาะพื้นเกษตรจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่ เรื่องนี้คณะทำงานระดับพื้นที่ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ทำกินแต่เดิม หรือถ้าเป็นไร่หมุนเวียนเป็นรอบที่กลับมาพื้นที่นั้นอีกครั้งจึงนำมาลงในระบบ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าจะเป็นการใช้แผนการบริหารจัดการเชื้อของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเกษตรขึ้นมาใหม่ ตรงนี้ขอให้เช็คให้ละเอียดก่อนจะนำเข้าสู่ระบบ” รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

“อีกประการพื้นที่ที่ขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงเมื่อศูนย์ฯ รับทราบการดำเนินการแล้ว เมื่อบริหารจัดการแล้ว จะเสร็จทั้งแปลงที่ขอหรือไม่แล้วเสร็จจะต้องรายงานมายังศูนย์ฯ ทุกวันหลังจากดำเนินการในวันนั้นๆ ทางศูนย์ฯ จะได้ทราบถึงการจัดการในแต่ละวัน ซึ่งหากไม่แล้วเสร็จและไม่รายงาน มีการดำเนินการในวันถัดไป การบริหารจัดการเชื้อเพลิงก็จะสะสมเพิ่ม นั่นก็หมายถึงฝุ่นละอองก็จะสะสมเพิ่มมากขึ้นกว่าการที่มีการบริหารจัดการในวันถัดๆ ไป ฉะนั้นพื้นที่ที่จะขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงควรต้องจัดการให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน และต้องอยู่ในช่วงเวลาที่สามารถบริหารจัดการได้คือ ระหว่างเวลา 11.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. เท่านั้น หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ให้แจ้งมายังศูนย์ฯ และขอจัดการพื้นที่ที่เหลือเข้ามาใหม่ ตรงนี้จะทำให้ศูนย์ฯ สามารถบริหารจัดการในภาพรวมทั้งโซตใต้ของเชียงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอเน้นย้ำว่า ในโซนใต้ทั้ง 12 อำเภอ ต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 ก.พ. 64 นี้เท่านั้น” นายรัฐพล นราดิศร รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้