เชียงรายหนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้าง”หมอเมือง”เพื่อชุมชน

เชียงรายหนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้าง”หมอเมือง”เพื่อชุมชน

เชียงราย (27 ก.ค.60) / แพทย์พื้นบ้านเมืองพ่อขุนเจ๋ง จัดการพืชสมุนไพร พร้อมรวมกลุ่มเป็นปึกแผ่น จนสามารถดูแลสุขภาพประชาชน ควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างเป็นรูปธรรม  นางดารณี อ่อนชมจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุนการนำร่องพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพระดับพื้นที่เชียงราย  เปิดเผยว่า การแพทย์พื้นบ้าน จ.เชียงราย ดำเนินการมากว่า 30 ปีอย่างต่อเนื่อง หลายชุมชนมีความเข้มแข็ง รวมกลุ่มกันอย่างเป็นปึกแผ่น มีการดูแลสุขภาพภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม สืบทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ศึกษาวิจัย พัฒนาตำรับยาสมุนไพร และมีการจัดการทรัพยากรป่าสมุนไพรอย่างเป็นระบบ จากรูปธรรมที่ชัดเจนนี้เอง ทำให้เชียงรายถูกยกเป็น “โมเดล” ในการเป็นเมืองที่มีการจัดการสมุนไพร และแพทย์พื้นบ้านที่มีประสิทธิภาพโดยพัฒนาการการดำเนินงานด้านการแพทย์พื้นบ้านล้านนาและภูมิปัญญาหมอเมือง แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือยุคแรก พ.ศ.2533-2543 ถือเป็นยุคเปิดเผยตัวตนหมอเมืองล้านนา โดยในปี 2533 สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาศักยภาพหมอพื้นบ้านกับงานสาธารณสุขมูลฐานใน 4 ภูมิภาค ในส่วนของภาคเหนือจัดที่ จ.เชียงราย และ น.พ.ธารา อ่อนชมจันทร์ ผอ.รพ.พญาเม็งราย ค้นหาหมอเมืองได้ 135 คน พอถึงช่วงวิกฤติเอดส์ ปี 2539-2542 ก็มีการศึกษาภูมิปัญญาหมอเมืองเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพผู้ติดเชื้อ ทำให้เริ่มมีการรวมกลุ่มหมอเมืองเชียงราย พะเยา ยุคที่ 2 พ.ศ.2544-2553 เป็นยุคแห่งการสร้างความรู้ สร้างคน สร้างเครือข่ายและกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัด  ซึ่งในปี 2548 มีการจัดตั้งสภาหมอเมืองล้านนาเชียงราย เป็นนิติบุคคลด้านองค์กรสาธารณประโยชน์  เกิดเครือข่ายหมอเมือง 18 อำเภอ แบ่งเป็น 4 เขต  ควบคู่ไปกับการสร้างสังคมสุขภาวะผู้สูงอายุ พัฒนาต้นแบบการจัดการทรัพยากรป่าสมุนไพร และระบบการดูแลสุขภาพพื้นบ้านที่ อ.ป่าแดดยุคที่ 3 พ.ศ.2554-ปัจจุบัน หมอเมืองเป็นที่ยอมรับและมีที่ยืนในสังคม จึงเป็นยุคแห่งการพัฒนาตนเอง โดยสภาหมอเมืองเชียงราย ซึ่งมีสมาชิก 670 คน ให้การดูแลสุขภาพในชุมชน ทั้งที่บ้านหมอ บ้านผู้ป่วย และร่วมให้บริการที่โรงพยาบาลชุมชน จนการแพทย์แผนไทย และแพทย์พื้นบ้าน กลายเป็นทางเลือกของการรักษาคู่ขนานไปกับการแพทย์แผนปัจจุบัน รวมทั้งได้ร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกระบบจัดตั้งโฮงเฮียนหมอเมืองเพื่อสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่ และพัฒนาต่อยอดตำรับยาสมุนไพร ทำให้ในปี 2559 จ.เชียงรายได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบเมืองสมุนไพรครบวงจรตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร พ.ศ.2560-2564ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลของรัฐใน จ.เชียงราย ก็เปิดโอกาสให้หมอเมือง ได้แสดงศักยภาพตัวเองในการเป็นผู้ให้บริการส่วนของแพทย์แผนไทย อย่างที่โรงพยาบาลแม่สรวย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกควบคู่กันไป โดยมีหมอเมืองเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการให้บริการประชาชนทั่วไป

นายพลสินธุ์ เขจร หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.แม่สรวย กล่าวว่า ชมรมแพทย์พื้นบ้านแม่สรวย ขณะนี้มีสมาชิกกว่า 20 คน ได้แวะเวียนกันมาให้บริการทึ่โรงพยาบาลทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี ส่วนใหญ่จะให้บริการด้านจับเส้น ย่ำขาง และหมอขวัญ หรือการสู่ขวัญเด็กแรกคลอด โดยหมอเมืองที่จะเข้าไปช่วยงาน ต้องเป็นสมาชิกของชมรมฯ สามารถสื่อสาร และวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้ทางโรงพยาบาลแม่สรวยยังได้ให้การสนับสนุนหมอเมืองในท้องถิ่น โดยการหนุนช่วยชมรมแพทย์พื้นบ้านแม่สรวยให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยร่างแผนพัฒนาแพทย์พื้นบ้านแม่สรวย ในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปี มีการนำหมอเมืองไปศึกษาดูงานตามที่ต่างๆ จัดอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสมุนไพร ตั้งแต่ปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป รวมถึงการตลาด นอกจากนี้ยังสนับสนุนหาแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อนำมาพัฒนาชมรมด้วย

“แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือพ่อหมอส่วนใหญ่อายุมากแล้ว ยังขาดคนรุ่นใหม่มาสานต่อภูมิปัญญา จึงเกรงว่าความรู้จะสูญหายไปพร้อมกับหมอเมืองสูงวัยเหล่านี้” หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.แม่สรวย กล่าวด้านนางวิภารัตน์ ทัพขวา หรือ “หมอนาง” ประธานสภาหมอเมือง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย  เล่าถึงการสืบทอดความเป็น “หมอเมือง” ว่าในอดีตบิดาเป็นหมอเมือง และมารดาที่จำตำรับยาสมุนไพร นำมาบอกต่อ แต่ตนไม่เชื่อ เมื่อเจ็บป่วยก็ไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน กระทั่งมารดาเสียชีวิต และตนมีอาการปวดท้องเรื้อรัง รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่หาย ในปี 2542 จึงไปเรียนแพทย์แผนไทย เพื่อหาวิธีรักษาตัวเอง เมื่อโรคไม่หายก็หยุดเรียน ต่อมาได้ตั้งจิตอธิษฐาน ขอขึ้นครูกับหมอชีวกโกมารภัจจ์  บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่สมัยพุทธกาล ปรากฏว่าอีก 15 วันต่อมา เกิดแรงบันดาลใจอยากปรุงยา จึงปรุงยาสมุนไพรกิน จนอาการปวดท้องเรื้อรังหาย เพื่อนบ้านทราบข่าวก็ขอเจียดยาไปกิน และหายจากโรคเช่นกันส่วนกลุ่มหมอเมืองหรือหมอพื้นบ้านแม่สรวยนั้น หมอนางบอกว่า เริ่มมาจากโรงพยาบาลแม่สรวย มีการทำงานร่วมกัน และบางครั้งก็ส่งต่อคนไข้ไปมา เพื่อให้ได้รับการรักษาทั้งแผนปัจจุบัน และแบบพื้นบ้านล้านนา ซึ่งในปี 2547-2548 มีการขึ้นทะเบียน หมอเมืองแม่สรวย  รวบรวมได้จำนวน 40 คน ไม่รวมหมอชนเผ่า ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกัน และพัฒนาการทำงานมาเรื่อยๆขณะเดียวกันในส่วนของยาสมุนไพร เดิมเน้นต้มดื่มกิน ไม่สะดวกในการพกพา ต้มไว้นานก็บูดเน่า เมื่อจะดื่มก็ต้องอุ่นตลอด จึงมีการพัฒนาด้วยการบดเป็นแคปซูล แต่ทั้งนี้ปริมาณการกินยาย่อมน้อยกว่าดื่มน้ำยาต้ม หมอเมืองจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกส่วนต่างๆ ของสมุนไพร ที่จะให้ฤทธิ์ยาอย่างเข้มข้น เพื่อให้เพียงพอและเหมาะสมกับการรักษาโรคด้วยยาเม็ดหรือยาแคปซูล.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้