เครือข่ายเกษตรธรรมชาติ วิถีสุขภาพดี ชีวีมีคุณภาพ

เครือข่ายเกษตรธรรมชาติ วิถีสุขภาพดี ชีวีมีคุณภาพ

ชียงแสน ถือเป็น 1 ใน 3 อำเภอชายแดนของ จ.เชียงราย ที่ถูกประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ร่วมกับ อ.เชียงของ และ อ.แม่สาย หากการเติบโตด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว คงไม่ใช่เป้าหมายที่จะทำให้ชาวบ้านเกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการบริหารจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ จึงมีความสำคัญที่ช่วยให้คนในพื้นที่มีสุขภาพแข็งแรง นำไปสู่การพัฒนาชุมชนน่าอยู่ทั้งจิตและกายอิทธิพล ไชยถา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงแสน เล่าว่า ความต้องการอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงชุมชน แต่ในโรงพยาบาลเองก็ถือว่าจำเป็นมาก จึงได้คุยกันในกลุ่มคณะกรรมการบริหาร รพ.เชียงแสน อยากมีโครงการที่ทำให้ผู้ป่วย กับเจ้าหน้าที่ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ประกอบกับทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเรื่องโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย และให้แต่ละโรงพยาบาลริเริ่ม นำโครงการนี้เข้ามาทำและพัฒนา จึงได้คุยกับทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และกลุ่มผู้ปลูก ผู้ผลิตเกษตรปลอดสารในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งทำโครงการร่วมกับทางมูลนิธิเอ็มโอเอไทยอยู่แล้ว เพื่อทำตลาดรักสุขภาพ ให้กลุ่มผู้ผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีในผัก ผลไม้ นำผลผลิตมาจำหน่ายทุกวันพุธส่วนกลุ่มผู้บริโภค เริ่มแรกคือตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งในโรงพยาบาลมีทั้งหมด 240 คน ช่วงเช้าพวกเขาจะมาที่ตลาดแห่งนี้ เพื่อหาซื้อผัก ผลไม้ จากเกษตรกร โดยเบื้องต้นมีมาตรฐานของกลุ่มเกษตรธรรมชาติอยู่ ตั้งแต่ดินที่ใช้ในการปลูก ก็มีการตรวจสอบในเบื้องต้น ขณะเดียวกันทางโรงพยาบาลจะลงไปดูและตรวจสอบว่าตรงนี้ปลอดสารพิษจริงหรือไม่ และพืชผักบางส่วนยังถูกนำมาใช้ใน รพ. และในโรงโภชนากร หรือโรงครัว ซึ่งจะนำไปประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยต่อไป

“ตอนนี้เริ่มต้นไปแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกรายการ และกำลังทำเมนูอาหารประจำปี ว่ามีกี่รายการ ที่จะป้อนให้ผู้ป่วยแต่ละมื้อ และเมนูเหล่านี้จำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ถ้าได้เมนูแล้ว การวางแผนผลิตของเกษตรกรก็จะง่ายและตรงกับความต้องการมากขึ้น” ผอ.รพ.เชียงแสน กล่าวศ.ดร.มินามิ คาซึยูกิ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยคิตาซาโตะ และผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรธรรมชาติ MOA เล่าว่า โครงการพัฒนาบริหารจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะในพื้นที่ 4 จังหวัด โดยมูลนิธิเอ็มโอเอไทย ได้ร่วมกับ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย กศน.เชียงแสน เครือข่ายเกษตรกรธรรมชาติ MOA เชียงแสน และเครือข่ายเกษตรธรรมชาติเชียงของ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสร้างความตระหนักในการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งได้มาจากวัตถุดิบที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ จึงรู้สึกดีใจที่ทาง รพ.เชียงแสน มองเห็นความสำคัญเรื่องนี้ และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกัน

สุชาญ ศีลอำนวย กรรมการกลางและเลขานุการ มูลนิธิเอ็มโอเอไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า ช่วงเริ่มทำโครงการ ทำบนฐานที่มีอยู่ คือร่วมกับ กศน.ในการพัฒนาบุคลากร จึงเลือกพื้นที่ที่ทำจริงและมีผลออกมาแล้ว แต่ยังขาดตลาด และการเชื่อมโยงกับทาง รพ. ก็ได้ กศน.ช่วยดูแลเป็นพี่เลี้ยงของเกษตรกร เปรียบเหมือนต้นน้ำ ขณะที่กลางน้ำ คือมูลนิธิเอ็มโอเอ ที่ส่วนหนึ่งอยู่ในชุมชน และส่วนหนึ่งอยุ่ที่กรุงเทพฯ ในชุมชนก็จะมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลไหนที่เอ็มโอเอรู้จัก ก็เข้าไปประสาน เพื่อให้มีตลาด เปิดตลาดสีเขียวแล้วนำผลผลิตเข้าไปได้ ส่วนที่กรุงเทพมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ แต่ต้องมีการวางแผนปลูก และรับผลผลิตไปจำหน่ายกับผู้บริโภค เช่น ส่งเลม่อนฟาร์ม ส่งโรงเรียน ร้านอาหาร และมีเดลิเวอรี่ ส่งตรงถึงผู้บริโภคด้วยสำหรับแนวคิดเริ่มแรก คือสุขภาพของเกษตรกร เกษตรกรที่มาจะมีกลุ่มที่เจ็บป่วย ไม่สบาย และอยากปรับเปลี่ยนวิธีการ แต่ไม่รู้จะปรับเปลี่ยนอย่างไร การปรับปรุงดินโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง จะทำอย่างไร เขาไม่รู้วิธีการ กลุ่มนี้ก็จะเข้ามาเรียน อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะทำงานในกรุงเทพ บางคนเป็นสถาปนิก เป็นวิศวกร แล้วรู้สึกว่าชีวิตในกรุงเทพไม่ใช่ ก็จะกลับมาทำเกษตรตามที่ครอบครัวทำอยู่ แต่ไม่ใช่แบบเดิมคือเกษตรเคมี อยากเป็นเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่ไม่รู้ว่าวิธีการจะทำอย่างไร ได้แต่เรียนรู้จากอินเตอร์เน็ต พอมาอบรมกับ MOA ก็จะมีแนวคิดปรัชญา สอนเรื่องสุขภาพ เรื่องความสุข เมื่อสุขภาพดีก็จะมีความสุข ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร

ทั้งนี้ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของ MOA อยู่แล้ว คือเรื่องสุขภาพ กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร คำว่าคุณภาพชีวิต คือนอกจากเรื่องของสุขภาพแล้ว ก็คือรายได้ พอปลูกไว้กินในครัวเรือนแล้ว แบ่งปันแล้ว ผลผลิตยังเหลือมาก MOA ก็จะช่วยในเรื่องของการเชื่อมโยงผลผลิตให้กับผู้บริโภคได้ ซึ่งก็มีทั้งในพื้นที่ชุมขน และในกรุงเทพฯ โดยจะมีการวางแผน เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจ และยังมีการรับรองมาตรฐานให้กับเกษตรกรด้วย เพราะในการจำหน่าย เขาต้องการมาตรฐาน อย่างในโรงพยาบาลถ้าไม่มีมาตรฐานเขาก็ไม่สามารถรับได้เกษตรธรรมชาติจะอาศัยศักยภาพของดิน ไม่เพิ่มธาตุอาหารลงไป แต่จะเน้นการปรับโครงสร้างของดินให้รากสามารถชอนไชไปหาอาหารกินเองได้ แตกต่างจากเกษตรอินทรีย์ ที่เน้นเรื่องอินทรียวัตถุ และธาตุอาหาร ที่ต้องใส่ลงไปในดิน ยังเอาอาหารไปให้เขาอยู่ แต่เกษตรธรรมชาติให้เขาหากินเอง แค่สร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อกับพืชชนิดนั้นๆ ก็จะทำให้พืชแข็งแรง เดิมการปรับสภาพดินให้ปลอดจากสารเคมี ต้องใช้เวลา 3 ปีขึ้นไป แต่ตอนนี้มีนวัตกรรม มีการศึกษาทดลองอยู่ตลอดเวลา ทำให้ที่ปีแรกก็สามารถปลูกพืชผักได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ดินสมบูรณ์ โครงสร้างดี ก็ใช้เวลาอย่างน้อย  3 ปีเช่นกัน

จินตนา แพงพงา หรือ ป้าไพ เจ้าของสวนป้าไพหลานหลาย และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน อ.เชียงแสน เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรธรรมชาติ ว่าเมื่อ 8 ปีก่อน มีโอกาสเข้าร่วมอบรมกับ MOA เมื่อกลับบ้านจึงขอแบ่งพื้นที่ทำเกษตรจากสามีที่ทำเกษตรเคมีอยู่ 4 ไร่ มาทดลองทำเกษตรธรรมชาติ 1 งาน ปรากฏว่าผลผลิตที่ได้ดีเกินคาด เป็นที่ต้องการของตลาดมาก จึงขยายพื้นที่ปลูกแบบธรรมชาติจนครอบคลุมทั้ง 4 ไร่ในการปลูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซน คือโซนแรกเก็บกินและขายทุกวัน อีกโซนหนึ่งไถดินตากแดดไว้ เมื่อขายพืชผักโซนแรกหมด ก็ขึ้นแปลงอีกโซน และปลูก โดยทุกวันนี้เน้นปลูกผักตามฤดูกาล ทั้งหมด 10 กว่าอย่าง เอง เช่น บวบ ถั่วฝักยาว สาระแหน่  ใบแมงลัก โหระพา ทำให้ได้ขายทุกวัน ช่วงผักให้ผลผลิตมากคือธันวาคม-เมษายน ขายได้ 3-5 พันบาท/วัน วันจันทร์ส่งเลม่อนฟาร์ม วันพฤหัสขายที่ตลาดสีเขียว วันเสาร์ขายที่ตลาดนัดชุมชนบ้านสถาน มีรายได้เดือนละ 30,000 บาทเศษ

“ไปขายที่ตลาด 3 วัน เวลาที่เหลือก็เข้าสวนดูแลเอง ช่วงไหนที่ผลผลิตน้อย ก็มีรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 500 บาท ทำให้สามารถเลี้ยงหลาน 4 คน ได้อย่างสบาย เรียกว่าเหนื่อยแต่มีความสุข เพราะยึด 3 อ. คือ อิ่มท้อง อิ่มใจ อิ่มบุญ นั่นคือมีเงินให้หลานซื้อขนม กินอิ่ม นอนหลับ ช่วงไหนมีงานบุญก็ไปทำโรงทาน หรืองานศพก็นำผักไปให้เขาบ้าง ขายบ้าง แถมบ้าง ภาคภูมิใจมากไม่เคยขอเงินสามีใช้ เพราะสามีทำนา ขายแล้วก็ต้องใช้หนี้ เนื่องจากเดิมไม่มีเงินทุนต้องไปกู้หนี้มาทำนา ทุกวันนี้รายจ่ายทุกอย่างในบ้าน สามารถรับผิดชอบได้หมด” ป้าไพ กล่าวเรือตรีพิเนตร นาระต๊ะ ประธานวิสาหกิจชุมชนพืชผักเกษตรธรรมชาติ อ.เชียงแสน เล่าว่า เพิ่งเริ่มทำเกษตรธรรมชาติมา 1-2 ปี เพราะคิดว่าถ้าจะให้คนอื่นเห็นคล้อยตาม ก็ต้องสร้างตัวอย่างให้เขาเห็น ว่าสิ่งที่เราทำมีประโยชน์อย่างไร อย่างน้อยสุขภาพเราแข็งแรง หรือเราสามารถแบ่งปันผลผลิต นำแนวคิดนี้ไปสู่ชุมชนได้ รุ่นเราอาจยังทำไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร แต่เป็นมรดกให้รุ่นต่อไป สิ่งที่เขาจะได้รับจากเราก็คือความร่มรื่น มีกระรอก นก แมลง และดินที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือสิ่งที่เราส่งต่อ เราไม่ได้ส่งต่อเป็นที่เปล่าๆ พร้อมกับสารเคมีตกค้างเรียกได้ว่าจุดเริ่มต้นของเกษตรธรรมชาติ ไม่ได้เอามูลค่าหรือผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง คนที่จะเริ่มต้นทำเกษตรธรรมชาติ มีจุดเริ่มที่แตกต่างกัน แต่ต้องเป็นคนที่พร้อมที่จะทำเอง ปลูกเอง กินผักที่ตัวเองปลูก พอเหลือจึงแจกจ่าย และขาย ทำให้มีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้