เขื่อนแม่กวงฯประชุมร่วมกลุ่มผู้ใช้น้ำและทำพิธีสืบชะตาน้ำแม่กวง ก่อนปรับแผนบริหารน้ำฤดูนาปี 63 หลังฝนทิ้ง

เขื่อนแม่กวงฯประชุมร่วมกลุ่มผู้ใช้น้ำและทำพิธีสืบชะตาน้ำแม่กวง ก่อนปรับแผนบริหารน้ำฤดูนาปี 63 หลังฝนทิ้ง

เขื่อนแม่กวงฯประชุมร่วมกลุ่มผู้ใช้น้ำและทำพิธีสืบชะตาน้ำแม่กวง ก่อนปรับแผนบริหารน้ำฤดูนาปี 63 หลังฝนทิ้งช่วงเริ่มกลางเดือนก.ค.โดยจัดส่งเป็นรอบเวร ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 เผยภาพรวมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของตัวเมืองเชียงใหม่ กำชับกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและบริหารจัดการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตรให้พอเพียง

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 63 ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมด้วยนายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา เจ้าหน้าที่เขื่อนแม่กวง และชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเขื่อนแม่กวงฯได้เข้าร่วมพิธีสืบชะตาน้ำแม่กวงและประชุมปรับแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูนาปี 2563 ก่อนที่จะลงพื้นที่ตรวจดูความพร้อมการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย พื้นที่ฝั่งตะวันออกเมืองเชียงใหม่(อ.สันกำแพง)

นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ปริมาณน้ำ 47.942 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 18% โดยเขื่อนแม่งัดฯ ได้ส่งน้ำให้กับพื้นที่โครงการแม่แฝก-แม่งัดฯ ฤดูฝน ปี 2563 ตามแผน 37 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้ยังไม่ได้เริ่ม และส่งน้ำสนับสนุนเฉพาะเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในช่วงฝนทิ้งช่วง พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ฤดูฝนปี 2563 แผน 10 ล้าน ลบ.ม. เริ่มส่งน้ำตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.  – 11 มิ.ย. 63 ผลการส่งน้ำ 2.24 ล้าน ลบ.ม. (รอบเวรที่ 2) ส่งน้ำเท่ากับแผน ทั้งนี้ในกรณีฝนตกและปริมาณน้ำในลำน้ำปิงเพียงพอก็จะงดหรือลดการส่งน้ำ สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวฤดูฝน ปี 63 ให้เกษตรกรเริ่มเตรียมแปลง ตกกล้า หลังจากที่มีฝนตกต่อเนื่อง และมีปริมาณน้ำมาก

“ในส่วนของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 63.05 ล้าน ลบ.ม. (24%) โดยส่งน้ำพื้นที่โครงการแม่กวงฯ ฤดูฝน ปี 2563 ตามแผน 80 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงฝนทิ้งช่วงตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือน ทางชลประทานได้แจ้งให้เกษตรกรเลื่อนระยะการทำนาปีออกไปก่อนและทางเขื่อนแม่กวงฯจะเริ่มปล่อยน้ำเพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปโดยจัดส่งน้ำเป็นรอบเวรออกเป็น 7 รอบเวร”ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่ง มีปริมาณน้ำ 25.35 ล้าน ลบ.ม. (21%) โดยอ่างที่มีปริมาณน้ำเก็บกัก 80% – 100 % มีจำนวน 1 แห่งที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนอ่างที่มีปริมาณน้ำ 30% – 80% จำนวน 7 แห่ง  อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่  6 แห่งและที่แม่ฮ่องสอนอีก 1 แห่ง  ส่วนอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำ 20% – 30% มีจำนวน 4 แห่ง อยู่ในเชียงใหม่  3 แห่งและลำพูน  1 แห่ง และที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่า 20% จำนวน 6 แห่ง  โดยอยู่ในเชียงใหม่  3 แห่งและลำพูน  3 แห่ง

นายสุดชาย กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามแผนมีจำนวน 202,756 ไร่  แต่ก็มีการเพาะปลูกจริงเกินแผน 240,472 ไร่ (119%)  โดยมีการเก็บเกี่ยว 240,472 ไร่ (100% เทียบกับผล) ส่วนการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2563  แผน 468,326 ไร่   แต่ได้เริ่มดำเนินการเพาะปลูกแล้ว 131,819 ไร่ (28%)

อย่างไรก็ตามเนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้มีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย โดยมีการตรวจสอบสภาพอาคาร ตรวจสอบแล้ว 831 แห่ง พร้อมใช้งาน 821 แห่ง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แล้วเสร็จ 38,757 ตัน  มีการปรับแผนการบริหารจัดการน้ำรายสัปดาห์และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย

ทางด้านนายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงฯ กล่าวว่า ปีนี้ปริมาณฝนตกต่ำกว่าเกณฑ์ 11-18% อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนแม่กวงฯปีนี้มีมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 20 ล้านลบ.ม. ซึ่งในเขตพื้นที่ชลประทานมีการเพาะปลูกข้าวนาปี 1.2 แสนไร่ ไม้ผล 2.5 หมื่นไร่และบ่อปลา 2,000-3,000 ไร่ ซึ่งพอเข้าสู่ฤดูฝนมีฝนตกพวกกลุ่มไม้ผลไม่ต้องส่งน้ำให้แล้ว จะเหลือเพียงข้าว ซึ่งปีที่แล้วซึ่งในเขตพื้นที่ของเขื่อนแม่กวงฯการเพาะปลูกข้าวปีที่แล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเกษตรกรได้เริ่มเพาะปลูกข้าวตั้งแต่ฝนแรกคือเริ่มเข้าเดือนมิ.ย.และพอฝนทิ้งช่วง ฝนมาอีกทีก.ค.ก็มีอีกกลุ่มเริ่มปลูก ส่วนกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ทำตามคำเตือนและข้อตกลงร้องขอจะปลูกในช่วงส.ค. อย่างไรก็ตามการส่งน้ำในปีที่ผ่านมาจึงมีปัญหาเพราะเกษตรกรไม่ทำตามกติกา ปีนี้จึงมีการประชุมตกลงกันของกลุ่มผู้ใช้น้ำว่าจะเริ่มเพาะปลูกในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป โดยจะมีการส่งน้ำเป็นรอบเวร

“แม้ว่าข้อตกลงจะเป็นเช่นนี้คือส่วนใหญ่จะยังไม่เพาะปลูก ไม่ตกกล้า แต่ก็มีประมาณ 10% หรือประมาณ 120,000 ไร่ ที่ได้ดำเนินการเพาะปลูกข้าวตั้งแต่ฤดูแล้งไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้กับบ่อดิน ซึ่งส่วนนี้มีแหล่งน้ำของตนเองก็ไม่มีปัญหา ส่วนพื้นที่ในเขตชลประทานก็จะเริ่มส่งน้ำตามที่ได้ตกลงกันไว้”ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงฯ กล่าว

จากนั้นนายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 และคณะได้เดินทางไปติดตามความพร้อมในการเตรียมรับอุทกภัยในพื้นที่ฝั่งตะวันออก(สันกำแพง) โดยนายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงฯได้ชี้แจงถึงแผนการจัดการน้ำลุ่มแม่ออน เพื่อป้องกันอุทกภัยในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะมีการผันน้ำเข้าคลองผันน้ำฝายกู่เบี้ย ปริมาณ 12 ลบ.ม./วินาทีและผันน้ำเข้าคลองเหมืองลึก ปริมาณ 11 ลบ.ม./วินาที.

 

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้