เกษตรอินทรีย์ วิถีอาหารปลอดภัย สู่การใส่ใจสุขภาพฟันเด็ก“กันตรง”

เกษตรอินทรีย์ วิถีอาหารปลอดภัย สู่การใส่ใจสุขภาพฟันเด็ก“กันตรง”

ที่ดิน 6 ไร่เศษ ด้านหลังโรงเรียนกันตรง ต.บึง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ถูกเด็กๆ และผู้ปกครอง ช่วยกันปักดำต้นกล้า พันธุ์ข้าวมะลิ 105 จนกลายเป็นแปลงนาเขียวชอุ่ม ที่รอวันออกรวงและให้ผลิตผลกลับมาหล่อเลี้ยงเด็กนักเรียนในโครงการอาหารกลางวัน รวมถึงผู้ปกครอง และคนในชุมชน ที่มาช่วยกันพิณี  หาสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกันตรง เล่าว่า เดิมที่นี่คือโรงเรียนด้อยโอกาส เป็นโรงเรียนกันดาร ที่เกือบถูกยุบ คล้ายเป็นแค่ทางผ่านของผู้บริหารที่มาอยู่คนละ 6 เดือน หรือ 1 ปี ระหว่างรอย้ายไปอยู่ที่ใหม่ที่ดีกว่า แต่ในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ได้พลิกโอกาสมาเป็นโรงเรียนที่เข้มแข็ง จากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับภายในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย และฟันไม่ผุย้อนกลับไปในปี 2550-2551 จำนวนนักเรียนที่น้อย ทำให้ค่าอาหารกลางวันรายหัว ไม่เพียงพอในการจัดการ ทั้งจ้างแม่ครัว ค่าแก๊ส เครื่องปรุง วัตถุดิบในการทำอาหาร ทั้งที่อาหารกลางวันมีความสำคัญต่อเด็กๆอย่างยิ่ง ถ้าเด็กได้รับอาหารกลางวันที่ขาดคุณค่าทางโภชนาการ ย่อมทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็จะแย่ จึงมีการประชุมร่วมระหว่างชุมชน ผู้ปกครอง คณะครู ว่าต้องผลิตอาหารปลอดภัยให้เด็ก เพื่อส่งเสริมสุขภาพในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเป็นที่มาของแปลงนาคุณธรรม ที่ผู้มีจิตศรัทธาซื้อบริจาค และเด็กๆ กับคนในชุมชนช่วยกันผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ได้ผลผลิตปีละ 3.5-5 ตัน พอเก็บเกี่ยวเสร็จ ก็ปลูกพืชผักหมุนเวียน พื้นที่ข้างๆ มีบ่อปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงควาย ตามหลักสูตร “เกษตรอินทรีย์ วิถีกันตรง” ที่พัฒนาขึ้นมาใช้กับเด็กนักเรียนระดับ ป.4-6 ช่วยลดค่าใช้จ่ายอาหารกลางวันได้มาก ส่งผลให้เงิน 20 บาท/หัว เพียงพอสำหรับอาหารที่มีคุณภาพจากนั้นจึงนำโรงเรียนเข้าสู่เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เพราะเห็นปัญหาด้านทันตกรรมที่ต้องเร่งแก้ไข มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทั้งในชุมชน และโรงเรียน ให้ลดการบริโภคน้ำตาล ส่งเสริมให้ทุกคนแปรงฟัน ภายในโรงเรียนจะไม่มีขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมขาย ถ้าวันไหนอาหารกลางวันมีของหวานด้วย แม่ครัวก็จะยึดปฏิบัติ “หวานน้อยที่สุด”ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับข้อมูลของ อมรรัตน์  มีชัย นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาสินรินทร์ ที่บอกว่าก่อนหน้านี้เด็กนักเรียนในโรงเรียนกันตรงฟันผุสูงมาก ในเด็กประถมร้อยละ 35 ส่วนเด็กอนุบาลแทบจะครึ่งต่อครึ่ง พุ่งร้อยละ 45-50 กระทั่งมีโครงการบูรณาการมาตรการลดการบริโภคน้ำตาลและอาหารปลอดภัย  ทำให้บุคลากร ผู้บริหารโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ปัญหา จนลดความรุนแรงลงได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ย้ำว่าน้ำตาลทำให้ฟันผุ และอ้วน แต่การที่จะเข้าไปรณรงค์เรื่องแปรงฟันอย่างเดียว โดยไม่สนใจสภาวะอื่นๆ ด้วย ก็จะแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่สำเร็จ จึงต้องทำงานแบบบูรณาการกับอาหารปลอดภัย ดูทั้งกระบวนการแบบครบวงจร ไม่ใช่ดูเฉพาะช่องปากอย่างเดียว เพราะก่อนเด็กแปรงฟันก็ต้องกินอาหาร ถ้าอาหารมีคุณค่า ปลอดภัยต่อสุขภาพ เด็กก็จะสุขภาพดี  และแน่นอนว่าหลังจากรับประทานอาหารแล้วก็ต้องแปรงฟันขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าธรรมชาติของเด็กย่อมชอบกินขนม ดังนั้นก็ต้องทำให้ขนมมีความเสี่ยงน้อยที่สุด มีน้ำตาลไม่มากเกิน ให้กินในปริมาณที่น้อย ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ ว่าหากเด็กฟันผุ เด็กก็จะกินไม่ค่อยได้ หรือกินได้น้อย ร่างกายไม่เจริญเติบโต ส่งผลต่อการเรียน เพราะปวดฟันอยู่เนืองๆ ไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือ ตรงกันข้าม ถ้าฟันไม่ผุ ไม่มีเศษอาหารไปติด ก็ไม่ปวดฟัน เด็กจะมีสมาธิในการเรียนอย่างเต็มที่ ทำให้เขาเก่งดีมีสุข และเจริญเติบโตแข็งแรงเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจนจากการเยี่ยมเยือนโรงเรียนบ้านกันตรง ก็คือผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่ดีมาก แล้วก็เป็นคนของชุมชน จึงมุ่งสร้างประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชนอย่างแท้จริง มีความชัดเจนในเรื่องสร้างเด็ก โดยการใช้วิถีธรรมชาติ และใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติภายในท้องถิ่นเข้ามาจัดการกับเด็ก เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของการผลิต ปลูก บำรุงดิน มีการสร้างหลักสูตร เน้นเรื่องเกษตรอินทรีย์ ทำให้ได้รับสารอาหาร ได้ผักปลอดภัย ไว้ใช้ในโรงเรียน ซึ่งอยู่ในโครงการที่ทางเครือข่ายอยากสนับสนุนให้โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนโรงอาหารอ่อนหวานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ได้มีอาหารปลอดภัยบริโภคในโรงเรียน เสน่ห์ของที่นี่ คือกระบวนการทำงานทุกอย่าง ถูกปลูกฝังกิจกรรมผ่านนักเรียน เช่น กิจกรรมปลูกผัก ทำนาข้าว เกษตรอินทรีย์ พอกลุ่มภาคีเห็นความตั้งใจก็เข้ามาช่วยเหลือ จากแต่ก่อนที่โรงเรียนต้องเดินไปหาขอความอนุเคราะห์จากมูลนิธิต่างๆ อาทิ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) มูลนิธิพลังงานที่ยั่งยืน แต่ช่วงหลัง มีการเผยแพร่ผลงานที่เกิดจากการทุ่มเทและความร่วมมือของชุมชน เด็ก คณะครู ทางเอกชน และมูลนิธิต่างๆ ก็ยื่นมือเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มใจ.

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้