อบจ.เชียงใหม่MOUร่วมบ.โทรคมนาคมฯศึกษาออกแบบพัฒนาการให้บริการดิจิทัล โซลูชั่นและดิจิทัล อินฟาสตรัคเจอร์เพื่อสนองวิถีชีวิตประชาชนยุคใหม่

อบจ.เชียงใหม่MOUร่วมบ.โทรคมนาคมฯศึกษาออกแบบพัฒนาการให้บริการดิจิทัล โซลูชั่นและดิจิทัล อินฟาสตรัคเจอร์เพื่อสนองวิถีชีวิตประชาชนยุคใหม่

อบจ.เชียงใหม่ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบ.โทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันศึกษาออกแบบและพัฒนาการให้บริการ Digital Solution Technology รวมถึง Digital Infrastructure ในการพัฒนาที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน เพื่อให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายภูเวียง ประคำมินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพร้อมด้วย นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิซาการ โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด Smart City Solutions ระหว่างนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กับนายเชาว์ พันธ์รุ่งจิตติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานขายและปฏิบัติการลูกค้า 3 บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นายธัชพล อภิรติมัย ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และนายสมศักดิ์ มหาวิริโย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานชายและปฏิบัติการลูกค้า 4 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน)

นายภูเวียง ประคำมินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า  กระทรวงดิจิทัลได้ใช้ทรัพยากรที่มีมาเป็นส่วนหนึ่งนการขับเคลื่อนโครงการนี้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด Smart City Solutions ให้สมบูรณ์ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม และความร่วมมือดังกล่าวยังจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความปลอดภัยของประชาชน

“ในด้านองค์ความรู้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลได้มอบนโยบายให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติให้นำโครงข่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศมาใช้ให้เกิดความก้าวหน้าต่อโครงการสมาร์ทซิตี้ ซึ่งมี 10 จังหวัดนำร่องและเชียงใหม่อยู่ในจังหวัดดังกล่าวด้วย โดยประเทศไทยปัจจุบันกำลังก้าวสู่ความเป็นดิจิทัล และภายใน 5-10 ปีนี้ดิจิทัลจะเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น”รองปลัดกระทรวงดิจิทัล กล่าว

ทางด้านนายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ​จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดในกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานเมืองอัจฉริยะ(Smart City) ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจากมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 กำหนดให้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 10 พื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น ระยอง และฉะเชิงเทรา

ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดให้พื้นที่ถนนนิมมานเหมินท์ (Smart Nimman) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพื้นที่นำร่องโครงการ การดำเนินงานที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดประชุมขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (Chiang Mai Forum) เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่สู่การเป็น Smart Cityโดยพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน Smart City Project รวมทั้งการเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บทของการพัฒนาเมือง

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยังกล่าวอีกว่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ (Chiang Mai Smart City Strategy Plan) เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและมีส่วนร่วมในกรอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วยชุมชนอัจฉริยะ (Smart living) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) คมนาคมอัจฉริยะ (Smart Mobility) และ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการนำมาใช้กับการบริหารจัดการเรื่องไฟป่าหมอกควัน อนาคตจะนำไปใช้ในเรื่องภัยแล้ง น้ำท่วมด้วย

ทางด้านนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์การลงนามในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการดำเนินการพัฒนาเมืองอัจริยะร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมกันศึกษาออกแบบและพัฒนาการให้บริการ Digital Solution Technology รวมถึง Digital Infrastructure ในการพัฒนาที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน เพื่อให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเขียงใหม่ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ตามที่รัฐบาลมีนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศให้ทันต่อความก้าวหน้าทางนวัตกรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สอดคล้องกัยยุทธศาสตร์ประเทศและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่สนับสนุนให้นำเทคโนโลยี เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ โดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองให้มีความน่าอยู่ ปลอดภัย และ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม อีกทั้งเป็นการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคมและประชากร รวมถึงเป็นการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นการลดต้นทุนของผู้ประกอบการจากการเชื่อมโยงของระบบโลจิสติกส์ และระบบเครือข่ายระหว่างเมืองศูนย์กลางทั่วประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจมั่งคง สังคม สิ่งแวดล้อมยั่งยืน บริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน.

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้