อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ-ผวจ.เชียงใหม่ร่วมลงนามMOUให้องค์การจัดการน้ำเสียสำรวจพื้นที่ร่วม 8 อปท.ขับเคลื่อนแก้ปัญหาน้ำเสียคลองแม่ข่า

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ-ผวจ.เชียงใหม่ร่วมลงนามMOUให้องค์การจัดการน้ำเสียสำรวจพื้นที่ร่วม 8 อปท.ขับเคลื่อนแก้ปัญหาน้ำเสียคลองแม่ข่า

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษและผวจ.เชียงใหม่ร่วมลงนามMOU ระหว่างอจน.กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่งหวังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียคลองแม่ข่าให้เป็นรูปธรรม

วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว นายปวิณ ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานการลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU)แก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองแม่ข่า  ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียจัดขึ้น โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่งได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลช้างเผือก เทศบาลตำบลสุเทพ เทศบาลตำบลป่าแดด เทศบาลตำบลสันผักหวาน เทศบาลเมืองแม่เหียะ และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเข้าร่วม

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคลองแม่ข่า จึงได้จัดทำโครงการประชารัฐร่วมใจ คืนน้ำใสให้คลองแม่ข่า โดยตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเป็นประธานในพิธีเปิด และในโครงการดังกล่าว ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ และองค์กรจัดการน้ำเสียร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการประสานงานภาคเอกชนและประชาชน ร่วมกันเดินหน้าแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียคลองแม่ข่าให้เป็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปประธรรม

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียคลองแม่ข่าจะให้บรรลุผลได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ด้าน ครั้งนี้จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 8 แห่ง ซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือกันในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันแล้วว่าเราจะร่วมกันแก้ไขปัญหา มีแผนการจัดการอย่างชัดเจน โดยดึงให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เพื่อให้มีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งแก้ปัญหาในทุกๆ ด้าน

หลังจากนี้ ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)ก็จะไปสำรวจข้อมูลในรายละเอียดต่อไปว่า ในเขตที่คลองแม่ข่าไหลผ่านพื้นที่ทั้ง 8 อปท.นั้น มีจุดไหนบ้างที่มีการปล่อยน้ำเสียและปริมาณเท่าไหร่ คุณภาพน้ำเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะใช้เวลาในการสำรวจประมาณ 1 ปีและขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ต่อมาคือการประเมินและออกแบบบ่อบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งขณะนี้อีก 7 แห่งยังไม่มียกเว้นเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีโรงบำบัดน้ำเสียรวมอยู่ที่ต.ป่าแดด ซึ่งเปิดดำเนินการได้และจ้างอจน.มาดูแลอยู่ เพียงแต่ยังทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพและทางเทศบาลฯได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่ใช้การไม่ได้แล้ว

นายจตุพร กล่าวด้วยว่า สำหรับเป้าหมายต่อไปคือท้องถิ่นทุกแห่งเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา และประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือด้วย โดยสอดรับกับคณะกรรมการทั้ง 8 ชุดที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งขึ้นมา ในส่วนของสำนักชลประทานที่ 1 จะรับผิดชอบในการผันน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าสู่คลองแม่ข่า และขุดลอกคลองแม่ข่าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเพิ่มความจุของอ่างเก็บกักน้ำในพื้นที่ เพื่อให้สามารถระบายน้ำต้นทุนให้แก่คลองแม่ข่า

นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยจะรื้อถอนอาคาร/สถานที่ที่การรุกล้ำพื้นที่คลองของชาวบ้าน การตรวจสอบคุณภาพน้ำและแหล่งกำเนิดมลพิษตลอดแนวคลอง พร้อมกับสร้างจิตสำนึก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคเอกชนช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำ ลดการระบายเสียลงสู่คลองแม่ข่าให้น้อยลงให้ครอบคลุม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตลอดจนการปลูกฝังและกระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันในดูแลรักษา และฟื้นฟูน้ำแม่ข่าอย่างยั่งยืนต่อไป.

You may also like

SUN ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในรูปแบบ Hybrid Meeting

จำนวนผู้