หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ”

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ”

- in headline, อาเซียน +3, เศรษฐกิจ

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ” เชื่อจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงทั้งคมนาคมขนส่ง ข้อมูลและดิจิทอลรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ  นโยบายรวมถึงประชาชนของสองประเทศ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ.61 ที่ห้องอิมพีเรียลแกรนด์บอลรูม โรงแรมดิเอ็มเพรส นายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่,นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่,นางนวอร เดชสุวรรณ ผอ.อาวุโสธนาคารแห่งแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ,ผศ.ดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ นวัตกรรมและดิจิตอล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายกสมาคมธุรกิจไทย-จีน เชียงใหม่ ได้ร่วมเสวนาการค้าการลงทุนระหว่างจีนกับภาคเหนือ ซึ่งหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันจัดขึ้น

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในส่วนของหอการค้าเชียงใหม่ ได้ดำรงบทบาทในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสมาชิก ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมา ทั้งในด้านการมีบทบาทชี้นำ และร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมถึงจัดโครงการที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ  การค้า การลงทุน  และสังคม มาอย่างต่อเนื่อง  โดยในสมัยที่ 21 พ.ศ. 2560-2561  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าจะเป็น “องค์กรเข้มแข็ง สมาชิกยั่งยืน ฟื้นเศรษฐกิจเชียงใหม่สู่ยุคดิจิตอล”

ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมและภารกิจทุกด้าน จึงจะมุ่งที่จะให้เศรษฐกิจของเชียงใหม่ก้าวสู่นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ด้วยการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการปรับตัวและนำเอาระบบการค้าสมัยใหม่และดิจิตอลมาต่อยอดให้มากยิ่งขึ้น และการที่รัฐบาลของจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง หอการค้าฯ เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ และใกล้ตัวและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จีนได้ประกาศไว้ชัดเจนว่าภายในปี 2021 จีนจะครองสัดส่วนมากกว่า 30% ของ GDP ทั้งโลก ซึ่งโตเป็นสองเท่าของปัจจุบัน ก็จะเป็นยุทธศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบกับไทยเรามากที่สุด เพราะจีนกำลังสร้าง economic platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมประชากร 4.5 พันล้านคนใน 65 ประเทศของทวีปเอเชีย ยุโรป และ แอฟริกา  ผ่านกลไกของธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank- AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) 

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สิ่งที่หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ มองว่าประโยชน์ที่ภาคเหนือจะได้รับจากยุทธศาสตร์ นี้มี 5 ด้านคือ

1.) การเชื่อมโยงด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟ รถไฟความเร็วสูง สนามบิน ตลอดจนการสนับสนุนด้านการเงินผ่าน ธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank- AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)

2.) การเชื่อมโยงด้านข้อมูลและดิจิตอล  ซึ่งจีนมีนโยบายด้าน Internal Plus และ Information Highway หรือทางด่วนข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับเราที่มุ่งสู่การเป็น Digital Economy และ Smart City

3.) การพัฒนาเศรษฐกิจด้านบุคลากร และนักธุรกิจ ซึ่งไทยและจีนมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการ Start Up รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากช่องทางการค้าใหม่ ๆ

4.) การเชื่อมโยงด้านนโยบาย ซึ่งหลายด้านไปในทิศทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำนวัตกรรมและดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ และ

5.) การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ซึ่งประเด็นนี้สำคัญ เนื่องจากเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมาในอัตราที่สูง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม มิติทางสังคมร่วมกัน รวมถึงให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาด้วย

ขณะเดียวกัน กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง ที่ถือว่าภาคเหนือตอนบนได้ใช้ประโยชน์จากการใช้แม่น้ำล้านช้าง แม่โขงในการขนส่ง ท่องเที่ยวเชื่อมกับจีนโดยตรง  ก็ชัดเจนว่าประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และจีนเห็นพ้องว่าควรจะทำให้อนุภูมิภาคนี้มีความทันสมัย ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ และลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างกัน ซึ่งในอนาคตอันใกล้ก็จะได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทด้านความเชื่อมโยงของกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ซึ่งจะช่วยให้อนุภูมิภาคเชื่อมโยงเข้ากับนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน หรือ BRI และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

“เมื่อวิเคราะห์ดูในเชิงภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ภาคเหนือของเรามีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางทางบก เชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจสำคัญกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ หรือเส้นทาง R3A เป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญ ตลอดจนการใช้แม่น้ำล้านช้าง แม่โขง ในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแนวโน้มการผลักดันให้เกิดการเปิดด่านการค้าชายแดนใหม่ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสปป. ลาว จึงเป็นโอกาสที่ก่อให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และสอดรับกับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน”นางวิภาวัลย์ กล่าวและว่า

สิ่งที่หอการค้าฯ กำลังขับเคลื่อนในการผลักดัน และดำเนินการหลักในห้วงที่ผ่านมาและอนาคต ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ของจีนได้แก่ การผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงด้านข้อมูลและดิจิตอล  ซึ่งหอการค้าฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ Alibaba.com ที่จะสร้างกรอบการพัฒนาสมาชิกหอการค้า และ SME ที่จะทำการค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ส์ ตลาดออนไลน์ การค้าระหว่างประเทศทำธุรกิจผ่าน Digital Platform ของ Alibaba.com ในลักษณะการค้าอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business) เพื่อสนับสนุนให้สามารถขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดโลกในยุคดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพ รวมถึงการจัดหลักสูตรอบรมในระดับ Mini MBA ภายใต้หลักสูตร Alibaba Dream Trip โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี

โครงการต่อมา หอการค้าฯ ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดี และ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติฯ คือโครงการ Cross Border E Commerce   โดยได้จัด “หลักสูตร E-Commerce เพื่อกลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูปและสินค้าฝีมือหัตถกรรมของไทยบุกตลาดประเทศจีน” ภายใต้โครงการ “การสร้างผู้ประกอบการ Startup Business กลุ่มผลไม้เศรษฐกิจสำคัญและสินค้าชุมชนคุณภาพสูงสู่ตลาดจีนและเมียนมาร์ ด้วยแนวทาง Smart Logistics ผ่านช่องทางตลาด E-Commerce”

หอการค้าฯ มองว่าขณะนี้นักธุรกิจของเราจะต้องปรับตัว  จากรูปแบบการค้า แบบดั้งเดิมไปสู่การค้าบนตลาดออนไลน์ หรือ Border Trade E-commerce ที่สามารถอาศัยรูปแบบการตลาดดิจิตอล เป็นช่องทางการค้าและสร้างความรับรู้ไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศจีนที่มีกำลังซื้อ และมีนักท่องเที่ยว เป็นจำนวนมากที่เข้ามาท่องเที่ยวและรู้จักสินค้าไทย และเมื่อเดินทางกลับไปแล้วก็ยังมีความต้องการซื้อสินค้าเหล่านั้นผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เกิดกลยุทธ์แบบ O2O หรือ Online to Offline คือ การใช้อิทธิพลของสื่อออนไลน์ผลักดันให้เกิดยอดขายทางออฟไลน์ อันจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนายกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในการใช้ระบบสารสนเทศ สำหรับการจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ การตรวจติดตามคุณภาพสินค้าตลอดกระบวนการ ใช้ระบบโลจิสติกส์แบบ Express เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนโดยตรง 

นอกจากนั้นยังสามารถตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วยที่ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยรวม 10 ล้านคน สร้างรายได้ทั่วประเทศกว่า 100,000 ล้านบาท ส่วนจังหวัดเชียงใหม่เองมีถึง 2 ล้านคน ปี เพราะนโยบายรัฐบาลจีนต้องการเชื่อมโยงประชาชนทั้งด้านท่องเที่ยว การศึกษา และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน จะสังเกตได้จากมีการขยายเส้นทางบินตรงสู่เชียงใหม่เพิ่มขึ้น   และในปี 2561 หอการค้าฯ คาดการว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในเชียงใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.2 ล้านคน

โดยสรุปแล้วเป้าหมายที่ชัดเจนของหอการค้าฯ ในสมัยนี้คือการเร่งกระบวนการ Branding เมืองเชียงใหม่สู่เมือง Marketplace ผ่าน Platform ดิจิตอล และการเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ เนื่องจากหอการค้าฯ เห็นว่าอนาคตการค้าจะไร้พรมแดนมากขึ้น และมีระบบเทคโนโลยีในรูปแบบ Smart City ที่จะเอื้อให้เชียงใหม่มีความพร้อมในการเป็นเมืองที่สร้างสรรค์และมุ่งสู่การเป็นพื้นที่ทางการตลาดได้

ประการที่สอง การเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ เพื่อจะได้สอดคล้องกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและจีน รวมถึงการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ซึ่งได้นำเสนอต่อ นายกรัฐมนตรีของไทยแล้วได้แก่

  • โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ- เชียงใหม่
  • เร่งรัดการพัฒนาสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
  • เร่งรัดแผนการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่
  • โครงการมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย
  • โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ประการที่สาม หอการค้าฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจ และอยากให้เชียงใหม่ และภาคเหนือมีคนเก่ง คนดี มีความสามารถมาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต ดังนั้นหอการค้าฯ จึงเร่งสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนอยู่หรือจบแล้วและพร้อมจะก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ ภายใต้ 3 ห่วงโซ่ธุรกิจ (Value Chains) หลัก ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ได้แก่ 1.การค้าและลงทุน 2.เกษตรและอาหาร และ 3.ท่องเที่ยวและบริการ  นอกจากเรื่องความรู้ และการนำนวัตกรรมมาใช้แล้ว คือเรื่องการสร้างพันธมิตร เครือข่าย และความร่วมมือ ซึ่งส่วนนี้คือหัวใจของการทำธุรกิจในยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็น Startup หรือ SME จำเป็นจะต้องสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้กว้างขวาง และแน่นอนการเชื่อมกับจีนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่กล่าวด้วยว่า หอการค้าฯมองว่าจีนเป็นตลาดใหญ่ที่จะขยายอิทธิพลในเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งเราต้องมองโอกาสที่จะขยายตัวเองออกไปยังโครงข่าย One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง นี้ให้ได้  แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่บนเส้นทางสายไหมโดยตรง แต่เราจะไม่ได้เป็นแค่ทางผ่าน ในทางกลับกัน ไทยอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และอยู่ในส่วนการขยายการค้าการลงทุนในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของจีนเช่นกัน

“เราต้องมองถึงโอกาส ที่จะขยายการส่งออก  เชื่อมต่อ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของโลกภายใน 5 ปีนี้ได้อย่างไร  และที่สำคัญระยะเวลาที่ผ่านมาและปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่าไทย และจีนคือพันธมิตรแท้ที่จะเดินหน้าและพัฒนาเศรษฐกิจไปร่วมกันสู่อนาคตต่อไป”นางวิภาวัลย์ กล่าวในที่สุด

ทางด้านนายเหริน ยี่ เซิน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า  การร่วมกันจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน จะเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ และพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายความร่วมมือจีนไทยในด้านต่างๆ  เช่นเศรษฐกิจและการค้า  วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ เชิง ยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมของทั้งสองประเทศ.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้