สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นเหนือ หนุนเคลื่อน6ประเด็นเตรียมพร้อมรับวิกฤต

สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นเหนือ หนุนเคลื่อน6ประเด็นเตรียมพร้อมรับวิกฤต

เชียงใหม่ / สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ ร่วมประมวลทิศทางขับเคลื่อนเครือข่ายสู่ความยั่งยืน 6 ประเด็น “เตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ-เศรษฐกิจชุมชน-จัดการโรคติดต่อ-สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง-สร้างชุมชนเกื้อกูล-การรับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อม” เชื่อเดินหน้าได้อย่างมีศักยภาพ หากมีผู้นำดี วางแผนและจัดการโดยใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ และได้รับการหนุนเสริมพลังจากภาคีเครือข่าย จากการที่สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น วาระ : ทศวรรษร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ พื้นที่ภาคเหนือ ที่ห้องประชุมสักทอง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 11-12 ก.ย.63 นั้น ได้มีการระดมความคิด และประมวลทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายภาคเหนือสู่ความยั่งยืน 6 ประเด็น คือ 1) การเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุ 2) ระบบเศรษฐกิจชุมชน 3) การจัดการโรคติดต่อ 4) การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5) การสร้างชุมชนเกื้อกูล 6) การรับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อมโดยในส่วนการเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุ แต่ละพื้นที่ต้องพัฒนาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ และรูปแบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ มีการสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุ พัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลายและครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ และสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้สูงอายุผ่านการชื่นชมในพื้นที่สาธารณะ สร้างการตระหนักถึงความจำเป็นการในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการเรียนรู้ ส่วนประเด็นระบบเศรษฐกิจชุมชน ต้องส่งเสริมอาชีพผู้ขาดโอกาส มีการบริหารจัดการหนี้ รองรับคนกลับถิ่น และที่สำคัญยังต้องจัดการเศรษฐกิจชุมชนหลังสถานการณ์โควิด-19 ด้วย เพราะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นในการจัดการระบบเศรษฐกิจชุมชน จึงต้องอาศัยทั้งผู้นำ และทุนทางสังคมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ประเด็นการจัดการโรคติดต่อ ชุมชนต้องสร้างรูปธรรมในการจัดการโรคติดต่อทั้งโควิด-19 โรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ซึ่งหากตั้งรับได้ดี ก็จะทำให้ชุมชนปลอดโรค ไม่มีผู้ติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อลดลง ประชาชนก็อุ่นใจที่มีมาตรการป้องกันโรค เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สร้างความภาคภูมิใจให้กับอาสาสมัครที่ดำเนินงานป้องกันโรค ที่สำคัญทุกภาคส่วนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรค สำหรับประเด็นการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่าจำเป็นต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่ สร้างจิตอาสา และสร้างแกนนำเยาวชน ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และเข้มแข็ง มีผู้สืบทอด ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ ขณะที่ประเด็นการสร้างชุมชนเกื้อกูล ต้องมีการจัดสวัสดิการชุมชนถ้วนหน้า มีการสานพลังเพื่อการพึ่งพาตนเอง และการช่วยเหลือดูแลผู้ด้อยโอกาส และประเด็นสุดท้าย การรับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะจากฝุ่นควัน ขยะล้นเมือง หรือภัยพิบัติ เช่น น้ำ ลม ความแห้งแล้ง ต้องมีการรับมืออย่างถูกต้อง ทันท่วงที และวางแผนจัดการทั้งระยะก่อนเกิดวิกฤต ขณะเกิดวิกฤติ และหลังเกิดวิกฤตินางเสาวนีย์ กุลสมบูรณ์ กรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวว่า จากเนื้อหาที่ประมวลผ่านการระดมความคิดของกลุ่มย่อยต่างๆ นั้น ค้นพบว่ามีประเด็นร่วมที่น่าสนใจ 4 ประการ คือ 1) เนื้อหาของประเด็นย่อยต่างๆ สามารถนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลัก และกำหนดการอยู่ดี กินดี ของท้องถิ่นได้ 2) แต่ละท้องถิ่นมีเครือข่าย ภาคีทั้งภายใน และภายนอกชุมชน คอยเสริมพลังให้การทำงานแต่ละด้านประสบความสำเร็จ 3) มีการถ่ายทอดประสบการณ์ บทเรียนจากต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ชุมชนอื่นๆ เห็นตัวอย่างที่ดี และมีแรงบันดาลใจในการนำกลับไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเอง 4) สุดยอดผู้นำท้องถิ่น คือบุคคลสำคัญในการพัฒนา ต้องมีหัวใจเปี่ยมด้วยความรัก รักทุกคนเหมือนญาติพี่น้อง และเชื่อมั่นว่าชุมชนของตนมีพลัง ศักยภาพ ที่จะต่อสู้ แก้ไข เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขยายผู้นำให้มากขึ้นเรื่อยๆ สร้างผู้นำใหม่ให้เกิดขึ้น เพื่อให้การทำงานต่อเนื่องไปเรื่อยๆนายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวถึงการค้นหาสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น ว่าดูการทำงาน และผลงานในพื้นที่เป็นหลัก นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะบ่งบอกถึงภาวะความเป็นผู้นำของคนในชุมชน ซึ่งมีผลต่อการช่วยหนุนเสริมพลังท้องถิ่น ท้องที่ ส่วนราชการ และหนุนเสริมให้นำศาสตร์ของพระราชาไปสู่การปฏิบัติ แล้วประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระเบิดจากข้างใน หรือนำคนอื่นในการคิดการทำสิ่งต่างๆ เป็นต้นแบบในการปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้กำลังพยายามขยายแนวคิดการสร้างสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น ไปสู่ทั้งในและนอกเครือข่าย โดยนอกเครือข่าย ได้ประสานกับภาคราชการ ระดับกรม แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนราชการหรือกรม ยังติดกับกรอบ หรือแนวคิดแบบราชการ ขณะที่บางอย่างจำเป็นต้องคิดนอกกรอบถึงจะทำได้ต่อมาในช่วงท้ายของกิจกรรมเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น ได้มีการประกาศรายชื่อสุดยอดนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่น ก่อนปิดเวทีด้วยการประกาศความมุ่งมั่นสุดยอดผู้นำ”ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่”พื้นที่ภาคเหนือ ท่ามกลางผู้นำท้องถิ่นในเขตภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง 89 แห่ง  จำนวน 573 คน ประกอบด้วยนายก /รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล 81 คน ปลัด/รองปลัด จำนวน 37 คน เจ้าหน้าที่ อปท. 173 คน และสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น 282 คน.

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้