สสว. เดินหน้าผลิตโค้ชและสร้างระบบฐานข้อมูลกลาง หวังจับคู่ช่วยเหลือระหว่างโค้ช-เอสเอ็มอีตั้งเป้าผลิตโค้ช 2,200 รายช่วยSMEs 1 หมื่นราย

สสว. เดินหน้าผลิตโค้ชและสร้างระบบฐานข้อมูลกลาง หวังจับคู่ช่วยเหลือระหว่างโค้ช-เอสเอ็มอีตั้งเป้าผลิตโค้ช 2,200 รายช่วยSMEs 1 หมื่นราย

สสว. เดินหน้าผลิตโค้ชและสร้างระบบฐานข้อมูลกลาง หวังจับคู่ช่วยเหลือระหว่างโค้ช-เอสเอ็มอีทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ภายใต้กิจกรรม “Train the Coach” นำร่องจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป้าหมายผลิตโค้ช 2,200 ราย และช่วยเหลือเอสเอ็มอี 1 หมื่นราย    

เมื่อวันที่ 5 เม.ย.61 ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง  ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)เป็นประธานเปิดกิจกรรม Train the Coach ภายใต้ “โครงการศูนย์ให้บริการ SMES ครบวงจร (SMES One-Stop Service Center: OSS)” ซึ่งสสว.จัดขึ้น โดยกล่าวว่า กิจกรรม Train the Coach เป็น 1 ใน 9 มาตรการของภาครัฐที่ต้องการยกระดับเอสเอ็มอีไทยสู่ยุค 4.0 โดยเป็นการช่วยเหลือให้เอสเอ็มอีได้รับการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ หรือชี้แนวทางการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ขณะเดียวกันมีการลงทะเบียนโค้ชเข้าสู่ระบบ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ให้ที่ปรึกษาได้สามารถช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอีได้ โดยในปี 2561 ถือเป็นปีแรกการดำเนินกิจกรรม Train the Coach ซึ่ง สสว. ให้สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED เป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งเป้าหมายจะผลิตโค้ชให้ได้ 1,570 ราย

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านการให้คำปรึกษาแนะนำและเป็น  พี่เลี้ยงในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0       ที่นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานในการเป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงธุรกิจที่ดีแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ใหม่ และประสบการณ์ที่จะให้คำแนะนำและประยุกต์ใช้ ให้เป็นกลยุทธ์นำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นตัวปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคตอุตสาหกรรมไทย

รองผอ.สสว.กล่าวอีกว่า การเปิดตัวครั้งแรกของกิจกรรมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “ปฏิบัติการเร่งเครื่อง SME สู่ 4.0” จะมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มสร้างเครือข่ายโค้ช 4.0 การเปิดรับสมัครโค้ช แนะแนวทางการบ่มเพาะและการพัฒนาทักษะโค้ช การบรรยายพิเศษหัวข้อ “ความท้าทายและช่วงเปลี่ยนผ่านของบริบท โลกการค้าใหม่ เทคโนโลยีและผู้บริโภคในทศวรรษแห่งดิจิทัล” ที่จะเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับโค้ช เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ SMEs สามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันและวางรากฐานเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ก้าวทันกับยุค 4.0 ได้

ด้านนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ปัจจุบันการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้สามารถขยายผลในวงกว้าง สร้างรากฐานที่ดีของเอสเอ็มอีในหลากหลายพื้นที่และเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ก้าวทันกับยุค 4.0 จำเป็นต้องอาศัยพี่เลี้ยงที่เป็นมืออาชีพคอยให้คำแนะนำแก่เอสเอ็มอี สสว. จึงเปิดตัวกิจกรรม “พัฒนาโค้ชหรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยี (Train the Coach : Accelerator 4.0)” โดยตั้งเป้าหมายในช่วง 3 ปี จะผลิตโค้ชมากกว่า 2,200 ราย และพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 10,000 ราย พร้อมสร้างระบบฐานข้อมูลโค้ชของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางให้คำปรึกษาและจับคู่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่ละพื้นที่โดยตรง

ทั้งนี้ กิจกรรม Train the Coach ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการเอสเอ็มอีครบวงจร (OSS) ของ สสว. และเป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 ของภาครัฐ โดยเป็นการช่วยเหลือให้เอสเอ็มอีได้รับการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจหรือชี้แนวทางการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ขณะเดียวกันมีการลงทะเบียนโค้ชเข้าสู่ระบบผ่าน www.thesmecoach.com รวมถึงฝึกอบรมโค้ชให้มีความรู้ความสามารถช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอี โดยในปี 2561 ถือเป็นปีแรกการดำเนินกิจกรรม Train the Coach ซึ่ง สสว. ให้สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) หรือ สพว. เป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งเป้าหมายจะผลิตโค้ชให้ได้ 1,570 ราย

สำหรับรูปแบบ Train the Coach จะแบ่งกลุ่มของโค้ชที่จะดำเนินการเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงธุรกิจทั่วไป (Biz Mentor) จะช่วยแก้ไขปัญหาทั่วไปทางธุรกิจและปูพื้นเอสเอ็มอีสู่ 4.0 กลุ่มที่สองเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเทคนิคเฉพาะด้าน (Tech Expert) และกลุ่มที่สาม ผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ (Biz Transformer) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และระยะต่อไปจะทยอยเปิดตัวในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชลบุรี สงขลา และกรุงเทพมหานคร.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้