สนพ.เดินสายให้ความรู้เทคโนโลยีไฟฟ้าอัจฉริยะ”สมาร์ทกริด”

สนพ.เดินสายให้ความรู้เทคโนโลยีไฟฟ้าอัจฉริยะ”สมาร์ทกริด”

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เดินสายสัมมนาให้ความรู้ภาคประชาชนเรื่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) อย่างต่อเนื่อง ย้ำประโยชน์การบริหารจัดการพลังงานในอนาคต ขณะที่กฟผ.เผยพื้นที่นำร่องพัทยา แม่ฮ่องสอนและโรงไฟฟ้าชีวมวลแม่แจ่ม แจงปี 63 ทำให้ครบตามเป้า 1.2 แสนราย

เชียงใหม่ – วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “สมาร์ทกริด(Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเมืองอนาคต”ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.กระทรวงพลังงานจัดขึ้น โดยมีประชาชนที่สนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผอ.กองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือสนพ.กล่าวว่า ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด(Smart Grid) เป็นระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งมีการพัฒนาให้ระบบไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อการทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น มีความสามารถมากขึ้นโดยใช้รัพยากรที่น้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การขับเคลื่อนความรู้ตามแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศสู่ภาคประชาชน มีความสำคัญมาก สนพ.จึงได้จัดให้มีการสัมมนา อย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยครั้งนี้ ได้ขึ้นมาจัดสัมมนาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ทราบถึงเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ที่เข้ามามีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาในภาพรวมของอุตสาหกรรมไฟฟ้า ตลอดจนมีความเกี่ยวข้องกับภาคประชาชนมากขึ้นในปัจจุบัน

ผอ.กองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวอีกว่า สมาร์ทกริดจะเข้ามามีบทบาทกับภาคประชาชน และการต่อยอดทางธุรกิจที่หลากหลาย เช่น   เกิดระบบบริหารจัดการพลังงานทั้งในอาคาร บ้านเรือน  เกิดธุรกิจรวบรวมโหลดการใช้ไฟฟ้า เกิดธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า เกิดการผลิตไฟฟ้าใช้เองและขายส่วนเกินที่เรียกว่า Prosumer  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจจากตรงนี้คือจากสถิติตัวเลขการใช้ไฟของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในชาร์จของ 3 การไฟฟ้า ไม่ค่อยขยับเพิ่ม นั่นหมายถึงว่า มีพลังงานรูปแบบใหม่ที่เข้ามาในระบบมากขึ้น เป็นได้ทั้งพลังงานหมุนเวียนจากสายลมและแสงแดด ซึ่งหมายความว่าเกิดกลุ่มที่มีการผลิตไฟฟ้าใช้เอง และขายกันเองในพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ศึกษาและติดตามอยู่ และคาดว่าจะเข้าระบบส่งไฟฟ้าในอนาคต  การจัดสัมมนาในครั้งนี้จึงเน้นกลุ่มเป้าหมายประชาชนเป็นหลัก เพื่อสื่อสารว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้าใกล้ประชาชนมากขึ้น เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าจะต้องเตรียมตัวเปิดรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาอย่างไร

“สนพ. ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยจะยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System) ยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life) ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมีความสะดวกสบายมากขึ้นจากเทคโนโลยีการใช้พลังงานในอนาคต และ การยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society) ทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบไฟฟ้า สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ตามแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในระยะยาว 20 ปี ( พ.ศ. 2558 – 2579) ซึ่งระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนี้ได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2018 ด้วย “ดร.วีรพัฒน์ กล่าวชี้แจง

ด้านนายทรงวุฒิ ขันดี ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและนายสวภพ ตรรกพงศ์ วิศวกรระดับ 9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฝผ.)กล่าวว่า ทางกฟผ.ได้เริ่มนำระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมาใช้ในพื้นที่นำร่องที่พัทยาและแม่ฮ่องสอน รวมทั้งที่เชียงใหม่ที่อ.แม่แจ่มซึ่งกำลังสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นมา ส่วนที่แม่ฮ่องสอนก็จะเป็นเป็นบางจุดซึ่งยังไม่ได้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทั้งนี้ตามแผนงานในปี 2563จะดำเนินการกับกลุ่มผู้ใช้ไฟประมาณ 1.2 แสนราย แต่ปีนี้จะเริ่มก่อนเพียง 9 พันรายซึ่งเป็นโครงการนำร่อง โดยแบ่งเป็นเฟส เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อระบบสมบูรณ์แล้วก็จะขยายให้ครบในปีถัดไปเพื่อให้กระทบกับผู้ใช้ไฟให้น้อยที่สุด.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้