สดร.+อพวช. ตั้ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์”สร้างศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งใหม่ในภาคเหนือ

สดร.+อพวช. ตั้ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์”สร้างศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งใหม่ในภาคเหนือ

4 มิถุนายน 2561 –เชียงใหม่ / สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ร่วมมือกันบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ MOU จัดตั้ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์”   ณ   อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และดาราศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ครั้งนี้  ถือเป็นเรื่องสำคัญในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานทั้งสองได้ตกลงร่วมมือกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ภายใต้ชื่อ “จัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร” (Science Square@Princess Sirindhorn AstroPark) ตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งใหม่ในเขตภาคเหนือ โดยเป็นการขยายพื้นที่การให้บริการแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะได้ช่วยกันส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และดาราศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐

“สำหรับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  จะรับผิดชอบดำเนินการ  จัดหาพื้นที่ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้พื้นที่ และสนับสนุนงบประมาณในส่วนนิทรรศการทางดาราศาสตร์  การอำนวยความสะดวกในการออกแบบและก่อสร้าง โดยจัดเตรียมแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน สนับสนุนนักวิจัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเนื้อหานิทรรศการ วางแผนกิจกรรม รวมทั้งการบริหารจัดการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้บริการ จัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าว

ด้านผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า   บันทึกข้อตกลงร่วมกันจัดตั้ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร”ในครั้งนี้ จะช่วยสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม  ซึ่งปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี และมีพื้นที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร ณ จามจุรีสแควร์เพียงแห่งเดียว ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่การให้บริการ เพื่อให้เยาวชนมีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ การร่วมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม  การนำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาสร้างเป็นนวัตกรรมในระดับต่าง ๆ ตลอดจนการเรียนรู้และเตรียมตัวเกี่ยวกับการประกอบอาชีพใหม่ๆ ที่ต้องใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกแห่ง  ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในอนาคตที่ใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ผ่านนิทรรศการ การทดลองทำงานจริงและพัฒนา Virtual Museum เพื่อใช้เป็น Application หลักในการนำเสนอ Job of the Future โดยตั้งเป้าผู้เข้าชมนิทรรศการในจัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ไม่ต่ำกว่าปีละ ๒๔๐,๐๐๐ คนต่อภูมิภาค ซึ่งในอนาคตจะจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีกแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เพื่อขยายเวทีให้เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

“จากความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ การจัดการแหล่งเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และดาราศาสตร์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทย เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความตระหนักรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ยังถือเป็นการใช้ทรัพยากรและความสามารถดำเนินการตามภารกิจหลักของทั้งสององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย  โดยในส่วนของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รับผิดชอบดำเนินการคือ การสนับสนุนงบประมาณในการออกแบบและจัดทำนิทรรศการ ดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งพื้นที่ และจัดสร้างนิทรรศการ  อีกทั้งการบริหารจัดการพื้นที่ การตลาด การประชาสัมพันธ์ ป้ายบอกทาง การบริหารจัดการภูมิทัศน์แวดล้อมที่เอื้อต่อการให้บริการร่วมกับ สดร. จัดหาเจ้าหน้าที่ประจำและบริหารจัดการ “จัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร”  และดูแลจัดหานิทรรศการหมุนเวียน และจัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ซึ่ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์@อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร” แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของภาคเหนือนี้  กำหนดเปิดให้บริการ ๓  ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๒ – ธันวาคม ๒๕๖๔  โดยคาดหวังว่า จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่เยาวชนและประชาชนในภาคเหนือได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด” ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าว

 

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้