สคร.1 เชียงใหม่ติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควันแนะวิธีป้องกันตนเองแบบง่ายและสะดวก

สคร.1 เชียงใหม่ติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควันแนะวิธีป้องกันตนเองแบบง่ายและสะดวก

สคร.1 เชียงใหม่แนะวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองในช่วงวิกฤติหมอกควันแบบง่ายและสะดวก ขณะที่กลุ่มระบาดวิทยาจัดเก็บสถิติเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพเปรียบเทียบรายสัปดาห์ใน 4 กลุ่มโรค เผยคนน่านป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสะสมสูงสุดรองลงมาคือลำปางและลำพูน ขณะที่ย้อนหลัง 5 ปีพบคนแม่ฮ่องสอนป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจสูงสุด

นายสวาท ชลพล หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะหมอกควันในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ของกลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ประจำสัปดาห์ที่ 8 (ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2561) โดยตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2560 -3 มีนาคม 2561 มีข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพฯ ใน 4 กลุ่มโรค จำนวน ทั้งสิ้น  381,952 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7,121.15 ต่อประชากรแสนคน

กลุ่มโรคที่มีรายงานสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด อัตราป่วย 3,295.59 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด อัตราป่วย 3,218.61 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มโรคตาอักเสบ อัตราป่วย 324.20 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ อัตราป่วย 282.76 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยของผู้ป่วยที่รายงานสะสมสูงสุด คือ จังหวัดน่าน อัตราป่วย 9515.40 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ จังหวัดลำปาง, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน อัตราป่วย 8,317.00, 7,599.96 และ 7,377.76 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ  

ในสัปดาห์ที่ 8/2561 (ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2561) มีข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพฯ ใน 4 กลุ่มโรค จำนวนทั้งสิ้น  31,159  ราย คิดเป็นอัตราป่วย 652.44 ต่อประชากร แสนคน  กลุ่มโรคที่มีรายงานสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด อัตราป่วย 302.76 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด อัตราป่วย 295.34  ต่อประชากรแสนคน กลุ่มโรค      ตาอักเสบอัตราป่วย 27.51 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ อัตราป่วย 26.82  ต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยของผู้ป่วยที่รายงานสูงสุด คือ จังหวัดน่าน อัตราป่วย 1,070.56 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ จังหวัดลำปาง, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, พะเยา, , เชียงราย, แพร่ และเชียงใหม่ อัตราป่วย 803.11, 781.26, 702.05, 660.23, 605.40, 514.22  และ 494.23  ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ

หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า  โดยปกติสถิติผู้ป่วยจะมีทุกช่วงฤดูกาล แต่การนำเสนอข้อมูลและรายงานประจำสัปดาห์นี้ ก็เพื่อใช้เปรียบเทียบกับช่วงที่เกิดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อดูว่าแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงปกติหรือไม่ โดยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด สัปดาห์นี้มีผู้ป่วยจำนวน 14,4599 ราย อัตราป่วย           ต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมเท่ากับ 302.76 น้อยกว่าสัปดาห์เดียวกันในปี 2560            และน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยมีอัตราป่วยสูงสุดที่จังหวัดน่าน อัตราป่วย 663.05  ต่อประชากรแสนคน

ในส่วนของกลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด สัปดาห์นี้มีผู้ป่วยจำนวน 14,105 ราย อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมเท่ากับ 295.34 น้อยกว่าสัปดาห์เดียวกันในปี 2560 และน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยมีอัตราป่วยสูงสุดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วย 420.30 ต่อประชากรแสนคน      ส่วนกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ สัปดาห์นี้มีผู้ป่วยจำนวน 1,281 ราย อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในภาพรวมเท่ากับ 26.82 น้อยกว่าสัปดาห์เดียวกันในปี 2560 และน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยมีอัตราป่วยสูงสุดที่จังหวัดพะเยา อัตราป่วย 37.25 ต่อประชากรแสนคน

สำหรับกลุ่มโรคตาอักเสบ สัปดาห์นี้มีผู้ป่วยจำนวน 1,314 ราย อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในภาพรวมเท่ากับ 27.51  น้อยกว่าสัปดาห์เดียวกันในปี 2560 และน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยมีอัตราป่วยสูงสุดที่จังหวัดน่าน อัตราป่วย 50.01 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้จำนวนผู้ป่วยในปีพ.ศ.2561 ได้ตัดข้อมูลผู้ป่วย Follow up ออก ซึ่งอาจทำให้จำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

นายสวาท กล่าวต่อไปอีกว่า ในระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2561 มีข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพฯ  จำแนกกลุ่มอายุ และเพศ ใน 4 กลุ่มโรค กลุ่มโรคที่มีรายงานสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด จำนวน  11,386 ราย (พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 35-59 ปี จำนวน 2,763 ราย)  รองลงมาได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิดจำนวน 10,811 ราย (พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 6,126 ราย) กลุ่มโรคตาอักเสบ จำนวน 1,102 ราย (พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 35-59 ปี จำนวน 477 ราย) และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ จำนวน 1,068 ราย (พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 35-59 ปี จำนวน 330 ราย) และเมื่อจำแนกตามกลุ่มเสี่ยง/โรคประจำตัว กลุ่มที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4,914 ราย รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 702 ราย กลุ่มผู้ป่วย Asthma จำนวน 223 ราย และกลุ่มผู้ป่วย COPD จำนวน 287 ราย

หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ในช่วงที่สถานการณ์หมอกควันเข้าสู่ภาวะวิกฤติหรือเกินค่ามาตรฐาน ก็มีข้อแนะนำให้ประชาชนดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเอง วิธีแรกคือปิดประตู ปิดหน้าต่างเพื่อไม่ให้ฝุ่นเข้าสู่บ้าน และให้นำเอาผงซักฟอกผสมน้ำ(เพื่อลดแรงตึงผิวของน้ำ )แล้วเปิดพัดลมเป่าใส่น้ำ ซึ่งพัดลมจะเป่าเอาฝุ่นตกลงสู่น้ำ เพื่อลดฝุ่นในบ้าน หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดฝุ่นละอองในบ้าน และให้ลดการเผาทุกชนิด

ส่วนอีกวิธีเป็นวิธีง่ายๆ ในการลดระดับฝุ่นละอองจากหมอกควันเข้าสู่ร่างกาย เมื่อต้องอยู่นอกอาคารหรือที่โล่งแจ้งในที่ที่มีหมอกควันหนาแน่นโดย ใช้ผ้าเช็ดหน้าชุปน้ำบิดพอหมาดๆ พับตามแนวยาววางด้านในของหน้ากากอนามัยแล้วสวมตามปกติ วิธีการนี้จะช่วยลดปริมาณฝุ่นโดยเฉพาะฝุ่นและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)ให้ลดลงก่อนเข้าสู่ปอดได้อย่างดี.

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้