วิทยาลัยศิลปะสื่อฯ มช.เปิดตัวโครงการ Alpha Academy พลิกโฉมระบบการศึกษาไทย

วิทยาลัยศิลปะสื่อฯ มช.เปิดตัวโครงการ Alpha Academy พลิกโฉมระบบการศึกษาไทย

 วิทยาลัยศิลปะสื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดตัวโครงการ Alpha Academy มุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่นักเรียนระดับมัธยมฯ สร้างนวัตกรรมระบบการเรียนการสอนออนไลน์สร้างแพลต์ฟอร์มการบริการด้านการศึกษาอย่างครบวงจรสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้ช่วยสอนได้ขณะฝึกปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 4 เม.ย.65 ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมยูนิมมาน รองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานเปิดงานโครงการ Alpha Academy   ซึ่งวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์  จันทร์ฉาย คณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง โครงการ Alpha Academy  โดย วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า วัตถุประสงค์มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยได้คัดเลือกองค์ความรู้ที่มีความเหมาะสมและมีความจำเป็นสำหรับเยาวชนในยุคปัจจุบัน เน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ

โดยปัจจุบันมีเนื้อหาหลักสูตรที่จัดสอน มีจำนวน 5

หลักสูตร ได้แก่

1.หลักสูตรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

2.หลักสูตรการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Rapid Application)

3.หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการเว็บไซต์ (Web Management)

4.หลักสูตรเทคโนโลยีควบคุมอัจฉริยะ (Interactive Embedded Software)

5.หลักสูตรเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)

ด้วยการสร้างนวัตกรรมระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบ Digital Learning Platform รวบรวมเนื้อหาบทเรียนและการประเมินผลการเรียนไว้ภายในระบบ เพื่อสร้างแพลต์ฟอร์มการบริการด้านการศึกษาในรูปแบบออนไลน์อย่างครบวงจร อีกทั้งยังสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาสามารถเข้าถึงช่องทางการศึกษาที่ทันสมัยซึ่งระบบการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Learning Platform) นี้จะมีฟังก์ชั่นหลักที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ระบบบริหารและจัดการสิทธิ์การใช้งาน ระบบบริหารจัดการหลักสูตร ระบบบริหารจัดการตารางเรียน ระบบบริหารจัดการการสอบ และระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน

โดยระบบนี้สามารถใช้งานได้ทั้งอาจารย์ ผู้ช่วยสอน และนักเรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่าน VDO สื่อการสอน ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้ช่วยสอน (Teacher Assistant) ได้ขณะฝึกปฏิบัติ ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรภายในระบบจะเป็นองค์ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่ปรับให้ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้